Flexible Portfolio ตอบโจทย์การลงทุนที่หลากหลายได้อย่างไร
Flexible Portfolio เปิดกว้างให้คุณ Customise และ Create พอร์ตได้ตามใจ เพื่อตอบทุกเป้าหมายการลงทุนของคุณ
พอร์ตแบบ Flexible คุณสามารถเลือกลงทุนใน 60+ สินทรัพย์ และปรับสัดส่วนสินทรัพย์ได้ตามที่คุณต้องการ [ข้อมูล ณ วันที่ 17 พ.ย. 2023]
5 ขั้นตอนสร้าง Flexible Portfolio
เพียงคุณทำตามขั้นตอนนี้ คุณก็จะได้พอร์ตที่ Flexible ในแบบของคุณทันที
- เลือก “สร้างพอร์ตใหม่” หรือ “ปรับสัดส่วนจากพอร์ตต้นแบบ” ซึ่งมีให้เลือกถึง 5 พอร์ตต้นแบบที่มีการกระจายการลงทุนในสินทรัพย์ทั่วโลก
- เพิ่ม-ลด หรือ ปรับสัดส่วนจาก 60+ สินทรัพย์
- ตรวจสอบระดับความเสี่ยงที่ระบบคำนวณให้จากพอร์ตที่คุณสร้าง
- ฝากเงินลงทุน โดยเราไม่กำหนดยอดเงินลงทุนขั้นต่ำ และระยะเวลาลงทุนขั้นต่ำ
- หลังจากนั้น คุณยังสามารถปรับเปลี่ยนสินทรัพย์ และปรับสัดส่วนได้ตลอดเวลา
ทั้งนี้ เมื่อคุณสร้างพอร์ตและเลือกสัดส่วนการลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ เรียบร้อยแล้ว ระบบจะคำนวณระดับความเสี่ยงของพอร์ตให้นักลงทุนเห็นทันที ยกตัวอย่างเช่น หากพอร์ตแบบ Flexible ของคุณมีระดับความเสี่ยงปานกลาง จะแสดงตัวเลขที่ชัดเจนว่า “มีโอกาส 99% ที่มูลค่าพอร์ตลงทุนของคุณจะไม่ลดลงมากกว่า 19% ใน 1 ปี” ระบบจะคำนวณระดับความเสี่ยงจากผลตอบแทนและสมมติฐานของแต่ละสินทรัพย์ในระยะยาวซึ่งจะอัปเดตทุกไตรมาส ดังนั้น ระดับความเสี่ยงของพอร์ตอาจเปลี่ยนแปลงได้จาก การอัปเดตระดับความเสี่ยงรายไตรมาส หรือ ทีมงานด้านการลงทุนพิจารณาเปลี่ยน ETF ที่มีความคุ้มค่าหรือเหมาะสมกว่าในสินทรัพย์ประเภทเดียวกัน
Flexible Portfolio จะเติมเต็มแผนการลงทุนของคุณได้อย่างไร
พอร์ตแบบ Flexible ก็ต้อง Flexible สิ! เพราะพอร์ตนี้ สามารถเติมเต็มแผนการลงทุนของคุณได้ทุกรูปแบบ เช่น
- เป็น Core portfolio (พอร์ตหลัก) สำหรับเป้าหมายการลงทุนในระยะยาวที่มีการกระจายการลงทุนที่ดีใน ETF ที่หลากหลายจากทั่วทุกมุมโลก หรือ
- เป็น Satellite portfolio (พอร์ตเสริม) ซึ่งคุณสามารถเลือกลงทุนในแต่ละสินทรัพย์ ธีมการลงทุน หรือ ภาคธุรกิจที่ต้องการได้โดยเฉพาะ โดยเราแนะนำว่าเงินลงทุนของพอร์ตเสริมควรมีสัดส่วนน้อยกว่าพอร์ตหลัก เพราะพอร์ตเสริมที่สร้างขึ้นอาจเป็นการลงทุนที่กระจุกตัว จึงอาจมีความเสี่ยงสูงกว่า
Customise พอร์ตหลักของคุณได้ตามใจ
ถ้าคุณจะให้ Flexible เป็นพอร์ตหลัก อย่างแรกที่คุณต้องทำ คือ เลือกพอร์ตต้นแบบตามระดับความเสี่ยงที่เหมาะกับคุณ ซึ่งมีให้เลือก 5 ระดับ (พอร์ตต้นแบบทั้งหมดมาจากพอร์ต General Investing ซึ่งกระจายการลงทุนในสินทรัพย์ทั่วโลก)
เมื่อคุณเลือกแล้ว คุณสามารถเพิ่ม-ลด หรือปรับสัดส่วนแต่ละสินทรัพย์ได้ตามสไตล์ที่คุณต้องการ ยกตัวอย่างเช่น
- เปลี่ยนจาก ‘กลุ่มหุ้นในยุโรป’ เป็น ‘กลุ่มหุ้นในเอเชีย (ยกเว้นญี่ปุ่น)’ ในสัดส่วน ‘หุ้นทั่วโลก’
- ลดสัดส่วนใน ‘ทองคำ’ และเพิ่มสัดส่วนใน ‘ตราสารหนี้เอกชน’
- เพิ่ม ‘ตราสารหนี้สีเขียว’ (Green Bond) ภายใต้สัดส่วนสินทรัพย์ ‘ตราสารหนี้’
เมื่อ Customise เสร็จแล้ว ระบบจะคำนวณระดับความเสี่ยงของพอร์ตให้คุณเห็นทันที ตามสัดส่วนสินทรัพย์ หรือ Asset Allocation ที่คุณกำหนดไว้
ดังนั้น คุณควรตรวจสอบให้มั่นใจอีกครั้งว่าเป็นระดับความเสี่ยงที่คุณยอมรับได้จริง เพราะสิ่งนี้จะช่วยให้คุณลงทุนไ้ด้อย่างสบายใจตลอดเส้นทางการลงทุน
Create พอร์ตเสริมเพื่อตอบโจทย์เฉพาะในแผนการลงทุนของคุณ
ถ้าคุณมีพอร์ตหลักที่มีการกระจายการลงทุนอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว Flexible Portfolio สามารถเป็นพอร์ตเสริมสำหรับกลยุทธ์เฉพาะของคุณได้ตามที่คุณต้องการ คุณอาจจะอยากเน้นการลงทุนในบางสินทรัพย์ บางกลุ่มธุรกิจ หรือภูมิภาคใดเป็นพิเศษ ซึ่งคุณสามารถสร้าง Flexible เป็นพอร์ตเสริมกี่พอร์ตก็ได้ ขึ้นอยู่กับกลยุทธ์และแผนการลงทุนของคุณ
นอกจากนี้ คุณอาจสร้าง Flexible เป็นพอร์ตเสริมเพื่อเพิ่มการกระจายการลงทุนที่ต่อยอดจากพอร์ตหลัก หรือ เพื่อลงทุนในสินทรัพย์ที่คุณเชื่อมั่นเป็นพิเศษ เช่น
- เป็นพอร์ตเสริมที่ลงทุนในตราสารหนี้ 100% เพื่อลดความเสี่ยงของพอร์ตโดยรวมของคุณ
- เพิ่มการลงทุนใน ‘กลุ่มตลาดเกิดใหม่’ (Emerging Markets) ที่พอร์ตหลักของคุณอาจยังไม่มี
- ลงทุนในสินทรัพย์ที่คุณเชื่อมั่นหรือสำคัญสำหรับคุณ เช่น กลุ่มธุรกิจ Tech กลุ่มธุรกิจเพื่อความยั่งยืน
ที่สำคัญ เมื่อคุณสร้างพอร์ตเสริมแล้ว เราอยากให้คุณทบทวนและมองภาพรวมเสมอว่า พอร์ตนี้สอดคล้องกับกลยุทธ์การลงทุนหลักของคุณหรือไม่ รวมถึงประเมิน Asset Allocation ของพอร์ตโดยรวมของคุณเสมอ เพื่อให้มั่นใจว่าพอร์ตโดยรวมของคุณไม่กระจุกตัวในสินทรัพย์ประเภทใดประเภทหนึ่งมากเกินไป
ควรทบทวน Asset Allocation เมื่อไหร่?
สำหรับ Flexible Portfolio เราจะทำการ Rebalancing ให้คุณอัตโนมัติเพื่อรักษา Asset Allocation (สัดส่วนสินทรัพย์) ตามที่คุณกำหนดไว้ แต่เราจะไม่ทำการ Re-optimisation แม้ภาวะเศรษฐกิจมีการเปลี่ยนแปลง เพื่อรักษาสัดส่วนการลงทุนที่คุณได้กำหนดไว้
- การทำ Rebalancing คือ การรักษาสมดุลของพอร์ต หรือการรักษาสัดส่วนสินทรัพย์ตาม Asset Allocation ที่คุณกำหนดไว้ โดยระบบจะตรวจสอบในทุกๆ วัน หากสัดส่วนของสินทรัพย์มีการเปลี่ยนแปลงเกินเกณฑ์ ระบบจะทำการซื้อ-ขายสินทรัพย์เพื่อคงสัดส่วนสินทรัพย์ตามที่กำหนดไว้
- การทำ Re-optimisation คือ การปรับ Asset Allocation ของพอร์ต โดยการเพิ่ม-ลด หรือเปลี่ยนแปลงสัดส่วน ETF ในพอร์ตให้เหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจแต่ละช่วง และเพื่อรักษาความเสี่ยงของพอร์ตตามที่นักลงทุนกำหนด ซึ่งในพอร์ตแบบ Flexible คุณสามารถปรับสัดส่วนเองได้ทั้งหมดตามที่คุณต้องการ
(อ่านบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Rebalancing และ Re-optimisation ได้ที่นี่)
ทั้งนี้ คุณควรติดตามและทบทวน Asset Allocation ของพอร์ตของคุณ หากเกิดสถานการณ์ต่อไปนี้
- กรอบเวลาการลงทุนของคุณเปลี่ยนไป เช่น ปรับเวลาเป้าหมายเกษียณให้เร็วขึ้นหรือช้าลง
- ภาวะเศรษฐกิจเปลี่ยนเช่น จาก Inflationary Growth สู่ Stagflation
- ระดับความเสี่ยงที่คุณสามารถยอมรับได้เปลี่ยนไป
อย่างไรก็ตาม การปรับ Asset Allocation ไม่ควรทำบ่อยเกินไป เพราะพอร์ตการลงทุนของคุณควรออกแบบให้สามารถรองรับความผันผวนในระยะสั้นและสร้างกำไรสอดคล้องกับการเติบโตของตลาดในระยะยาวได้
พอร์ตอื่นๆ ของเราที่คุณอาจสนใจ: General Investing, Goal-based Investing และ Thematic Portfolio