วางแผนเกษียณได้อย่างมั่นใจใน 3 ขั้นตอน

23 August 2024

แชร์บทความนี้

  • linkedin
  • facebook
  • twitter
  • email

อยากอ่านเพิ่ม?

เราหวังว่าคุณจะได้ประโยชน์ จากบทความของเรา

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับผู้คนอีกหลายแสนคนที่ต้องการวางแผนการเงินและการลงทุนอย่างยั่งยืนด้วยการสมัครรับบทความและบทวิเคราะห์ของเราที่จะส่งตรงถึงอีเมลของคุณ

ทำไมต้องวางแผนเกษียณ

คุณเคยคิดไหมว่าอะไรคือค่าใช้จ่ายที่แพงที่สุดในชีวิต? เรียนต่อ? ซื้อบ้าน? หรือส่งลูกเรียน? จริงๆ แล้ว คำตอบอาจทำให้คุณตกใจ เพราะค่าใช้จ่ายที่แพงที่สุดในชีวิตสำหรับใครหลายๆ คน คือ การเกษียณ แต่น่าเศร้าที่มีคนไทยเพียง 5% เท่านั้นที่มีอิสรภาพทางการเงินในช่วงหลังเกษียณ ในบทความนี้เราจึงอยากไขปริศนาและชวนคุณเรียนรู้วิธีวางแผนเกษียณอย่างถูกต้องใน 3 ขั้นตอน เพื่อให้คุณได้ใช้ชีวิตหลังเกษียณในแบบที่คุณต้องการ

ขั้นตอนที่หนึ่ง: คำนวณเงินที่ต้องใช้หลังเกษียณ

1. เงินที่ต้องใช้ต่อเดือนหลังเกษียณ

ลองคำนวณดูว่า ค่ากิน ค่าอยู่ ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่ารักษาพยาบาล ค่าใช้จ่ายเพื่อความสุขของคุณจะต้องมีจำนวนเท่าไหร่เพื่อให้คุณได้ใช้ชีวิตในแบบที่ต้องการ ซึ่งแต่ละคนก็จะมีค่าใช้จ่ายไม่เท่ากัน บางคนอาจจะ 15,000 บาทต่อเดือน บางคนอาจจะ 150,000 บาทต่อเดือน แต่ที่สำคัญอย่าลืมคำนึงถึงเงินเฟ้อด้วย

2. ระยะเวลาในการใช้เงินหลังเกษียณ

ลองคำนวณดูเล่นๆ ว่า คุณจะต้องใช้ชีวิตหลังเกษียณไปอีกกี่ปี ยกตัวอย่างเช่น หากคุณเกษียณตอนอายุ 60 ปี แล้วคุณมีอายุยืนยาวถึง 95 ปี นั่นหมายความว่าคุณจะมีระยะเวลาในการใช้เงินหลังเกษียณราว 35 ปี

หลังจากรู้สองอย่างนี้เราก็สามารถนำเงินที่เราต้องใช้ต่อเดือนมาคูณกับระยะเวลาในการใช้เงินของเราหลังเกษียณเพื่อหาตัวเลขคร่าวๆ ได้ โดยสามารถดูตัวอย่างด้านล่างเป็นไอเดียได้

ตัวอย่างการคำนวณเงินที่ต้องใช้หลังเกษียณ (ปรับด้วยอัตราเงินเฟ้อ)

ขั้นตอนที่สอง: คำนวณเงินที่ต้องออมและลงทุนเพื่อไปให้ถึงเป้าหมาย

1. ระยะเวลาออมและลงทุน

หากปัจจุบันคุณอายุ 30 ปีและตั้งเป้าจะทำงานไปจนถึงอายุ 60 ปี หมายความว่าคุณจะมีเวลาออมและลงทุนไปอีก 30 ปีก่อนที่คุณจะเกษียณ ซึ่งปัจจัยด้านเวลานี้เป็นสิ่งที่สำคัญมาก ยิ่งคุณเริ่มลงทุนเร็วเท่าไหร่ คุณก็จะยิ่งเกษียณได้เร็วขึ้นเท่านั้น เหมือนคำกล่าวที่ StashAway ย้ำอยู่ตลอดเวลาว่า ‘Time in the Market, Not Timing the Market’

2. ผลตอบแทนที่คุณจะได้รับ

ขึ้นอยู่กับสินทรัพย์แต่ละประเภทที่คุณจะนำไปลงทุน เช่น พันธบัตรรัฐบาลก็อาจให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 1-3% ต่อปี หรือหุ้นก็อาจให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 8-12% ต่อปี ซึ่งข้อควรระวัง คือ คนไทยส่วนใหญ่ลงทุนในสินทรัพย์ตั้งรับมากเกินไป โดยข้อมูลจากสำนักงาน ก.ล.ต. พบว่า 76% ของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ลงทุนในตราสารหนี้และเงินฝาก ซึ่งอาจทำให้ทรัพย์สินของคุณไม่งอกเงยอย่างที่ควรจะเป็นและอาจโตไม่ทันวันที่เราต้องการจะเกษียณ

3. จำนวนเงินที่ต้องออมต่อเดือน

ถ้าเรารู้สองอย่างนี้แล้ว เราก็สามารถเอาตัวเลขไปเข้าสูตรคำนวณได้ว่าเราควรออมเดือนละเท่าไหร่เพื่อให้มีเงิน 10 ล้านตอนอายุ 60 ปี โดยในตัวอย่างเราจะใช้คาดการณ์ผลตอบแทนพันธบัตรที่ 3% และหุ้นที่ 8%

หากเราดูตารางด้านบนจะเห็นได้ชัดว่า การเริ่มลงทุนตั้งแต่เนิ่นๆ เป็นกุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จ ยิ่งคุณเริ่มเร็ว ยอดเงินที่ต้องออมต่อเดือนก็จะยิ่งน้อยลง เช่นเดียวกับตารางด้านล่างที่แสดงให้เห็นว่า คนที่เริ่มลงทุนก่อนจะใช้เงินต้นน้อยกว่าคนที่เริ่มลงทุนช้าค่อนข้างมาก เพราะพลังของดอกเบี้ยทบต้นนั่นเอง

ขั้นตอนที่สาม: จัดพอร์ตเพื่อเกษียณ

หากคุณมีเวลาอีกมากก่อนที่คุณจะเกษียณ คุณก็อาจมีสัดส่วนในสินทรัพย์เติบโต (เช่น หุ้น) มากกว่า เนื่องจากในระยะสั้น หุ้นมีความผันผวนมากกว่า แต่มักให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าในระยะยาว แต่หากคุณเหลือเวลาก่อนเกษียณไม่นาน คุณก็อาจมีสัดส่วนของสินทรัพย์ตั้งรับ (เช่น เงินฝาก) มากกว่า เพราะคุณคงไม่อยากเสียเงินในช่วงที่คุณกำลังใกล้จะเกษียณแล้ว ซึ่งเคล็ดลับง่ายๆ ในการจัดสรรสัดส่วนสินทรัพย์ คือ นำตัวเลข 110 มาลบด้วยอายุของคุณ คุณก็จะได้เปอร์เซ็นต์ของสินทรัพย์เติบโตที่คุณควรมีไว้ในพอร์ต

ถ้าไม่อยากคำนวณให้ยุ่งยาก ให้เทคโนโลยีเป็นผู้ช่วยของคุณ

หากการคำนวณทั้งหมดนี้ดูยุ่งยากเกินไป เรามีเทคโนโลยีที่จะช่วยจัดการทุกความซับซ้อนแทนคุณ นั่นก็คือ พอร์ต Goal-based Investing ของ StashAway ไม่ว่าเป้าหมายของคุณคืออะไร เราจะแนะนำแผนและออกแบบพอร์ตที่เหมาะสมกับคุณโดยเฉพาะ 

เพียงแค่คุณบอกเราว่า Goal ของคุณมีอะไรบ้าง และต้องการไปถึงในระยะเวลากี่ปี ระบบของเราจะช่วยคำนวณเงินที่ต้องใช้ จากนั้นจะสร้างพอร์ตลงทุนในสินทรัพย์ทั่วโลกผ่าน ETF และออกแบบแผนการลงทุนรายเดือน รวมทั้งคอยแนะนำระดับความเสี่ยงที่เหมาะสมตลอดเส้นทางการลงทุนของคุณ


แชร์บทความนี้

  • linkedin
  • facebook
  • twitter
  • email

อยากอ่านเพิ่ม?

เราหวังว่าคุณจะได้ประโยชน์ จากบทความของเรา

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับผู้คนอีกหลายแสนคนที่ต้องการวางแผนการเงินและการลงทุนอย่างยั่งยืนด้วยการสมัครรับบทความและบทวิเคราะห์ของเราที่จะส่งตรงถึงอีเมลของคุณ