ผลการดำเนินงาน Q1/2025 ของ StashAway

22 April 2025
Stephanie Leung
Group CIO

แชร์บทความนี้

  • linkedin
  • facebook
  • twitter
  • email

อยากอ่านเพิ่ม?

เราหวังว่าคุณจะได้ประโยชน์ จากบทความของเรา

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับผู้คนอีกหลายแสนคนที่ต้องการวางแผนการเงินและการลงทุนอย่างยั่งยืนด้วยการสมัครรับบทความและบทวิเคราะห์ของเราที่จะส่งตรงถึงอีเมลของคุณ

ตลอด Q1/2025 นโยบายของประธานาธิบดี Donald Trump ได้สร้างความไม่แน่นอนและความกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจ ส่งผลให้ตลาดทั่วโลกเผชิญกับความผันผวนอย่างหนัก โดยเฉพาะตลาดหุ้นสหรัฐที่ปรับตัวลงจนเข้าสู่ภาวะ Correction และฉุดให้ตลาดหุ้นทั่วโลกลดลงประมาณ 1% ขณะเดียวกัน ทองคำและตราสารหนี้ กลับปรับตัวเพิ่มขึ้นจากแรงซื้อในฐานะสินทรัพย์ Safe-haven 

ช่วงเวลาที่ตลาดหุ้นทั่วโลกมีความผันผวนเช่นนี้ ใน Q1/2025 พอร์ต General Investing ซึ่งเป็นพอร์ต Flagship ของเรา ยังคงให้ผลตอบแทนเป็นบวกในทุกระดับความเสี่ยงที่เฉลี่ย +2.4% ในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ และดีกว่า Same-risk Benchmark* ในทุกระดับความเสี่ยงเช่นกัน

ผลลัพธ์เชิงบวกนี้เกิดขึ้นเพราะเทคโนโลยีการลงทุน Economic Regime-based Asset Allocation (ERAA™) ของเรา ช่วยให้พอร์ตของคุณมีการกระจายการลงทุนที่ดีในหุ้นทั่วโลก ตราสารหนี้ และทองคำ นอกจากนี้ ERAA™ ยังช่วยบริหารความเสี่ยงในพอร์ตเมื่อภาวะเศรษฐกิจมีการเปลี่ยนแปลง

แล้วผลการดำเนินงานของ StashAway ใน Q1/2025 เป็นอย่างไร เราสรุปไว้ในบทความนี้:

  • พอร์ต General Investing และ Goal-based Investing (ใช้พอร์ตบริหารเดียวกันจึงสามารถดูผลการดำเนินงานร่วมกันได้)
  • Thematic Portfolio

พอร์ต General Investing และ Goal-based Investing

ใน Q1/2025 พอร์ต General Investing และ Goal-based Investing ทำผลตอบแทนอย่างแข็งแกร่ง และสูงกว่า Same-risk Benchmark* ในทุกระดับความเสี่ยง โดยให้ผลตอบแทนเฉลี่ย +2.4% ในสกุลเงินดอลลาร์ฯ (+1.8% ในสกุลเงินบาท) เมื่อเทียบกับ Same-risk Benchmark* ที่ +1.8% โดยเฉลี่ย ในสกุลเงินดอลลาร์ฯ

สำหรับผลตอบแทนย้อนหลัง 12 เดือน พอร์ต General Investing ยังคงให้ผลตอบแทนเฉลี่ย +7.3% ในสกุลเงินดอลลาร์ฯ เมื่อเทียบกับ Same-risk Benchmark* ที่ +6.4% โดยเฉลี่ย ในสกุลเงินดอลลาร์ฯ

ผลตอบแทนที่ดีและสม่ำเสมอในพอร์ต General Investing ยิ่งเป็นการตอกย้ำประสิทธิภาพของเทคโนโลยีการลงทุน ERAA™ ของเราที่ช่วยบริหาร Asset Allocation ในพอร์ตให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวม (ไม่ใช่ตามเสียงรบกวนในตลาด) เพื่อมุ่งสร้างผลตอบแทนระยะยาว บนระดับความเสี่ยงที่เหมาะกับตัวคุณ

ท่ามกลางความไม่แน่นอน การกระจายการลงทุนคือเกราะป้องกันที่ดีที่สุด  

ตามที่เราได้กล่าวไว้ใน CIO Insights: ยอมเจ็บวันนี้ เพื่อผลลัพธ์ที่ดีในวันหน้า ว่าความไม่แน่นอนจากนโยบายของประธานาธิบดี Trump กลายเป็นปัจจัยหลักที่ก่อให้เกิดความผันผวนในตลาด โดยเฉพาะแนวทางที่รัฐบาลสหรัฐพร้อมรับ ‘ความเจ็บปวดระยะสั้น’ เพื่อเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ระยะยาว ได้สร้างแรงกดดันต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน เช่น มาตรการภาษีนำเข้าและการตอบโต้จากประเทศต่างๆ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจโลก

ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลให้ตลาดหุ้นสหรัฐปรับตัวลดลงอย่างรวดเร็ว โดยดัชนี S&P 500 ลดลงถึง 10% จากจุดสูงสุดในเดือน ก.พ. ขณะที่ หุ้นกลุ่ม Magnificent Seven เผชิญแรงกดดันจากความกังวลเรื่อง Valuation และแนวโน้มการเติบโตของ AI ที่ชะลอตัว ส่งผลให้ตลาดสหรัฐโดยรวม อ่อนแอมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม พอร์ต General Investing ของเรา ที่มีเทคโนโลยี ERAA™ ช่วยดูแล ถูกออกแบบมาเพื่อรับมือภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป และคว้าทุกโอกาสที่เกิดขึ้นในตลาด โดยการกระจายการลงทุนที่ดีในหลากหลายสินทรัพย์ กลุ่มธุรกิจและภูมิภาค เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้พอร์ตของเราค่อนข้างมีความทนทาน และยังคงให้ผลตอบแทนที่ดี

ตัวอย่างเช่น แม้ตลาดหุ้นสหรัฐจะเผชิญอุปสรรคช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา แต่หุ้นทั่วโลกนอกสหรัฐ กลับมีผลการดำเนินงานที่ดีกว่า ด้วยแรงสนับสนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในสหภาพยุโรป (EU) และการพัฒนาเทคโนโลยี AI ในจีน นอกจากนี้ การมีสัดส่วนในหุ้นกลุ่ม Defensive ของสหรัฐ เช่น Healthcare และสินค้าอุปโภคบริโภค ยังช่วยเพิ่มผลตอบแทนและลดความผันผวนในพอร์ต

นอกจากนี้ การมีสัดส่วนของทองคำ ยังเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ช่วยสนับสนุนผลตอบแทนในพอร์ตของเรา โดยก่อนหน้านี้ เราได้เพิ่มทองคำเข้ามาใน Benchmark เนื่องจากเป็นสินทรัพย์ Defensive ที่มักทำผลตอบแทนได้ดีในช่วงที่ตลาดผันผวนหรือมีความไม่แน่นอนสูง และทองคำยังช่วยกระจายความเสี่ยงได้ดี เพราะมักเคลื่อนไหวต่างจากหุ้นและตราสารหนี้ (ซึ่งในปีที่ผ่านมาก็ไม่ใช่ข้อยกเว้น) ขณะที่ การมีสัดส่วนของตราสารหนี้ ก็ช่วยสร้างผลตอบแทนในพอร์ต หลังราคาตราสารหนี้ปรับตัวขึ้นจากความกังวลเรื่องการเติบโตทางเศรษฐกิจ

ในระยะข้างหน้า แม้ว่าเราอาจเห็นตลาดผันผวนต่อไปในระยะสั้น เนื่องจากความไม่แน่นอนเกี่ยวกับนโยบายของ Trump และการเจรจาทางการค้าที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต แต่ขณะนี้ก็ยังเร็วเกินไปที่จะสรุปว่าข้อมูลเศรษฐกิจโดยรวมจะเป็นไปในทิศทางใด (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ใน CIO Update: สิ่งที่คุณควรรู้เกี่ยวกับมาตรการภาษีนำเข้าล่าสุดของ Trump)

แต่เช่นเคย เทคโนโลยีการลงทุน ERAA™ จะยังคงใช้แนวทางการบริหารพอร์ตที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล (Data-driven) เพื่อให้พอร์ตของคุณสามารถรับมือกับความผันผวนจากภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป พร้อมคว้าโอกาสต่างๆ ในตลาดทั่วโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทองคำโดดเด่นกว่าสินทรัพย์ประเภทอื่นๆ เนื่องจาก Demand ที่เพิ่มขึ้นของสินทรัพย์ Safe-haven

ทองคำยังคงปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยให้ผลตอบแทน +18% YTD (ณ 31 มี.ค.) และ +38% ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา โดยได้แรงสนับสนุนจากการเข้าซื้อของธนาคารกลางต่างๆ และ Demand ที่เพิ่มขึ้นจากนักลงทุน ในฐานะสินทรัพย์ Safe-haven ท่ามกลางความไม่แน่นอนทางภูมิรัฐศาสตร์และเศรษฐกิจโดยรวม เช่น นโยบายการค้าของสหรัฐ

อย่างที่กล่าวไปแล้วว่า เราได้เพิ่มทองคำใน Benchmark ของพอร์ต General Investing ทุกระดับความเสี่ยง ตั้งแต่เดือน เม.ย. ปีที่แล้ว  โดยมีเป้าหมายคือการเพิ่มสินทรัพย์ Defensive ที่ช่วยกระจายความเสี่ยงจากหุ้นและตราสารหนี้ เพื่อเพิ่มผลตอบแทนปรับด้วยความเสี่ยง (Risk-adjusted Returns) ให้สูงขึ้นในทุกภาวะเศรษฐกิจ

ตัวอย่างเช่น หากเปรียบเทียบกับพอร์ต 60/40 แบบดั้งเดิม (หุ้น 60% พันธบัตร 40%) การเพิ่มทองคำ (และพันธบัตรสหรัฐระยะสั้น) เข้ามาใน Benchmark ของพอร์ต จะสามารถช่วยเพิ่มผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีและลดความผันผวนลง ส่งผลให้ผลตอบแทนปรับด้วยความเสี่ยงสูงขึ้น (ดูกราฟ 2 ด้านล่าง) โดยไม่ว่าจะเป็นพอร์ตที่มีความเสี่ยงสูงกว่าหรือต่ำกว่า ก็จะได้ประโยชน์จากแนวทางนี้เช่นกัน โดยที่ StashAway เราใช้ Benchmark รูปแบบนี้เป็นรากฐานในการจัดพอร์ตการลงทุนของเรา เพื่อเพิ่มโอกาสสร้างผลตอบแทนปรับด้วยความเสี่ยงที่ดีขึ้นในระยะยาว

(อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ใน CIO Insights: ทำความรู้จัก ERAA™ - เทคโนโลยีเบื้องหลังการบริหารพอร์ตให้เติบโตในทุกภาวะเศรษฐกิจ)

ใน Q1/2025 การที่ ERAA™  ยังคง Overweight ทองคำ ซึ่งยังคงทำหน้าที่เป็นสินทรัพย์ป้องกันความเสี่ยงได้ดี กลายเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญของผลตอบแทนในพอร์ต และมีส่วนช่วยสร้างผลตอบแทนระหว่าง 0.6% - 2.0% ซึ่งช่วยชดเชยผลตอบแทนที่ลดลงของหุ้นสหรัฐ

หุ้นสหรัฐร่วงแรง แต่ผลตอบแทนของหุ้นโลกช่วยยืนยันว่า ‘การกระจายการลงทุน’ มีความสำคัญอย่างยิ่ง

ในปี 2025 หุ้นในตลาดต่างๆ มีผลการดำเนินงานแตกต่างกันอย่างชัดเจน โดยดัชนี S&P 500 ปรับตัวลดลง 4.3% ส่วนดัชนีหุ้นโลก (ยกเว้นสหรัฐ) ปรับตัวขึ้น 5.1% (ดูกราฟ 3 ด้านล่าง) ซึ่งการบริหาร Asset Allocation อย่างเหมาะสมของ ERAA™ ได้ช่วยชดเชยผลกระทบจากหุ้นสหรัฐ และตอกย้ำให้เห็นความสำคัญของการกระจายการลงทุน

แม้แต่ในตลาดหุ้นสหรัฐเอง ก็ยังให้ผลตอบแทนที่แตกต่างกันในแต่ละกลุ่มธุรกิจ โดยแรงกดดันหลักของดัชนี S&P 500 มาจากหุ้นเทคโนโลยีในกลุ่ม Magnificent Seven (ดูกราฟ 4) อย่างไรก็ตาม ERAA™ ยังมีการกระจายการลงทุนไปยังหุ้นกลุ่ม Defensive เช่น Healthcare และสินค้าอุปโภคบริโภค ซึ่งช่วยลดผลกระทบจากกลุ่มที่มีความเสี่ยงมากกว่า เช่น สินค้าฟุ่มเฟือย และ IT ได้

Yield ที่สูงขึ้น และ Demand ของสินทรัพย์ Safe-haven ช่วยสนับสนุนผลตอบแทนจากตราสารหนี้

มีหลายปัจจัยที่ช่วยสนับสนุนผลตอบแทนจากตราสารหนี้ใน Q1/2025 

  • ในพอร์ตที่มีความเสี่ยงต่ำกว่า การมีสัดส่วนของพันธบัตรสหรัฐระยะสั้น ยังคงให้ Yield ระดับสูงที่ 4.2% - 4.3% ในระดับความเสี่ยงที่ต่ำมาก

  • ตราสารหนี้ทั่วโลก (พันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้คุณภาพดี) ปรับตัวขึ้นเนื่องจากนักลงทุนหันไปหาสินทรัพย์ปลอดภัย ท่ามกลางความไม่แน่นอนที่เพิ่มขึ้น และความกังวลต่อการเติบโตของเศรษฐกิจ

  • เงินดอลลาร์ฯ ที่อ่อนค่าลง 4% ในช่วงเวลาดังกล่าว ช่วยเพิ่มผลตอบแทนในสกุลดอลลาร์ฯ ของตราสารหนี้ต่างประเทศในสกุลเงินอื่นๆ เช่น ยูโร และเยน

สรุปคือ Yield ที่มั่นคงจากพันธบัตรระยะสั้น ราคาที่เพิ่มขึ้นของพันธบัตรระยะยาว และตราสารหนี้ทั่วโลกที่ได้ประโยชน์จากเงินดอลลาร์ฯ ที่อ่อนค่าลง ช่วยสนับสนุนผลตอบแทนในพอร์ตของเรา ทั้งหมดนี้เป็นหลักฐานที่ชัดเจนอีกครั้งถึง ‘พลังของการกระจายการลงทุนที่ดี’ แม้แต่ภายในสินทรัพย์ประเภทเดียวกัน

Thematic Portfolio

ตลอดช่วงสามเดือนที่ผ่านมา สินทรัพย์ Thematic เผชิญอุปสรรคจากการชะลอตัวของหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี ความผันผวนของตลาดที่ยังคงอยู่ และการ Rotation ออกจากสินทรัพย์เสี่ยง ท่ามกลางความระมัดระวังของนักลงทุน อย่างไรก็ตาม ธีมที่โดดเด่น ได้แก่ Healthcare Innovation ซึ่งได้ประโยชน์เนื่องจากบางกลุ่มธุรกิจเป็นสินทรัพย์ Defensive โดยธรรมชาติ ส่วนในระยะยาวขึ้น ธีมที่เน้นเทคโนโลยีอย่าง Technology Enablers และ Future of Consumer Tech ได้แรงหนุนจากกระแส AI ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา

อย่างที่เราได้กล่าวไปเมื่อปลายปี 2024 ตอนที่มีการอัปเดต Thematic Portfolio ว่า การลงทุนแบบ Thematic จำเป็นต้องมีมุมมองระยะยาว และไม่ควรหวั่นไหวกับผลการดำเนินงานเพียงไม่กี่ไตรมาส เพราะเมกะเทรนด์เหล่านี้ต้องใช้เวลานานกว่าจะแสดงศักยภาพได้อย่างเต็มที่

Technology Enablers

ใน Q1/2025 ธีม Technology Enablers ทำผลตอบแทนที่ -6% โดยเฉลี่ยในสกุลเงินดอลลาร์ฯ (-6.5% ในสกุลเงินบาท) แต่ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ธีมนี้ยังให้ผลตอบแทน +10.4% โดยเฉลี่ยในสกุลเงินดอลลาร์ฯ (+3% ในสกุลเงินบาท)

แม้ธีมนี้จะมีการกระจายการลงทุนเป็นวงกว้างในกลุ่มเทคโนโลยี แต่ก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงแรงกดดันจากความพยายาม ‘Risk-off’ หรือ ‘หนีความเสี่ยง’ ของตลาดไปได้ อย่างไรก็ตาม กลุ่มธุรกิจ Cybersecurity ที่ปรับตัวลงน้อยที่สุดเพียง -0.7% ช่วยลดผลกระทบในช่วงเวลาดังกล่าว ส่วนกลุ่มธุรกิจที่ฉุดรั้งผลตอบแทนในพอร์ตมากที่สุด คือ กลุ่มธุรกิจ Blockchain และ Cloud Computing แต่เมื่อมองย้อนกลับไปในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา กลุ่มธุรกิจเหล่านี้เป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญของผลตอบแทนในพอร์ตในช่วงที่หุ้น AI ปรับตัวขึ้นอย่างร้อนแรง

Future of Consumer Tech

ใน Q1/2025 ธีม Future of Consumer Tech ทำผลตอบแทนที่ -2.7% โดยเฉลี่ยในสกุลเงินดอลลาร์ฯ (-3.2% ในสกุลเงินบาท) แต่ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ธีมนี้ยังให้ผลตอบแทน +6.5% โดยเฉลี่ยในสกุลเงินดอลลาร์ฯ (-0.7% ในสกุลเงินบาท)

แม้หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีโดยรวมจะปรับตัวลงใน Q1/2025 แต่กลุ่มธุรกิจเกมมิ่ง และ E-sport กลับทำผลงานได้อย่างโดดเด่น ด้วยผลประกอบการที่แข็งแกร่งจากบริษัทอย่าง Nintendo และ Tencent รวมถึงมุมมองที่เป็นบวกต่ออุตสาหกรรมโดยรวม ในทางกลับกัน กลุ่มธุรกิจ Fintech และอินเทอร์เน็ต เป็นปัจจัยหลักที่ฉุดรั้งผลตอบแทนในธีมนี้

Healthcare Innovation

ใน Q1/2025 ธีม Healthcare Innovation ทำผลตอบแทน +0.7% โดยเฉลี่ยในสกุลเงินดอลลาร์ฯ (+0.2% ในสกุลเงินบาท) และในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ธีมนี้ให้ผลตอบแทน -3.5% โดยเฉลี่ยในสกุลเงินดอลลาร์ฯ (-10% ในสกุลเงินบาท)

หลังจากที่ธีม Healthcare Innovation ให้ผลตอบแทนค่อนข้างซบเซาในปี 2024 แต่ใน Q1/2025 ธีมนี้เริ่มได้ประโยชน์ เนื่องจากบางกลุ่มธุรกิจเป็นสินทรัพย์ Defensive โดยธรรมชาติ และมี Valuation ที่น่าดึงดูด โดยกลุ่มธุรกิจที่เป็นแรงขับเคลื่อนหลักของผลตอบแทนในธีมนี้ ได้แก่ เภสัชกรรม และอุปกรณ์ทางการแพทย์ ซึ่งช่วยลดแรงกดดันจากกลุ่มที่ผันผวนมากกว่าอย่าง ไบโอเทค

Environment and Cleantech

ใน Q1/2025 ธีม Environment and Cleantech ทำผลตอบแทน -2.6% โดยเฉลี่ยในสกุลเงินดอลลาร์ฯ (-3.1% ในสกุลเงินบาท) และในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ธีมนี้ให้ผลตอบแทน -6.1% โดยเฉลี่ยในสกุลเงินดอลลาร์ฯ (-12.5% ในสกุลเงินบาท)

ความไม่แน่นอนด้านนโยบายในสหรัฐ เป็นความท้าทายสำคัญของธีมนี้ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา โดยเฉพาะคำขู่เรื่องภาษีนำเข้าของ Trump ที่มีต่อแคนาดา ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่ออุตสาหกรรมยูเรเนียม เนื่องจากแคนาดาเป็นผู้ส่งออกยูเรเนียมรายใหญ่ให้สหรัฐ ทำให้ธีมนี้ได้รับผลกระทบชัดเจนใน Q1/2025 ขณะที่ กลุ่มธุรกิจพลังงานสะอาด และเทคโนโลยีการจัดการน้ำ ให้ผลตอบแทนค่อนข้างคงที่ และช่วยลดแรงกดดันโดยรวมได้บางส่วน

*หมายเหตุ:

Benchmark ที่เราใช้ในการเปรียบเทียบมาจาก FTSE All-World Index ในส่วนของหุ้น (ก่อนวันที่ 31 กรกฎาคม 2024 ใช้ MSCI All Country World Index และ ก่อนวันที่ 1 มีนาคม 2023 ใช้ MSCI World Equity Index TRI) และ ใช้ FTSE World Government Bond TRI ในส่วนของตราสารหนี้ โดยหลังจากวันที่ 24 เมษายน 2024 เราได้เพิ่ม Bloomberg 1-3 Month US Treasury Bill Index ในส่วนของพันธบัตรสหรัฐระยะสั้น และ Bloomberg Gold Subindex Total Return Index ในส่วนของทองคำ เข้าไปใน Benchmark โดยน้ำหนักของ Benchmark ที่เราใช้จะมีค่าความผันผวนที่เกิดขึ้นจริง (Realized Volatility) ในระยะเวลา 10 ปีเท่ากับระดับความเสี่ยง StashAway Risk Index

ผลตอบแทนของโมเดลพอร์ตนี้เป็นมูลค่าทั้งหมดก่อนหักค่าธรรมเนียม ภาษีมูลค่าเพิ่ม และการขอคืนภาษีหัก ณ​ ที่จ่ายของเงินปันผล โดยแบบจำลองผลการดำเนินงานนี้ทำเพื่อชี้วัดประสิทธิภาพของกลยุทธ์การลงทุน ไม่รวมปัจจัยอื่นๆ

ผลตอบแทนที่เกิดขึ้นจริงในบัญชีอาจแตกต่างจากโมเดลพอร์ต ขึ้นอยู่กับช่วงเวลาดำเนินการซื้อขาย, ความแตกต่างของช่วงเวลาและความผันผวนระหว่างวันในการทำ Re-optimisation และการทำ Rebalancing, ค่าธรรมเนียม, ภาษีของเงินปันผล (และการขอคืนภาษี) และอื่นๆ โดยผลตอบแทนอยู่ในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ

การลงทุนมีความเสี่ยง โปรดทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน; ผลการดำเนินงานในอดีตไม่ได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต; การลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศมีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน

ข้อมูลนี้ไม่ถือเป็นคำเสนอ คำแนะนำ คำเชื้อเชิญ หรือการชักชวนให้ท่านซื้อผลิตภัณฑ์ทางการเงิน หรือเข้าทำธุรกรรมใดๆ

ข้อมูลนี้ไม่ได้จัดเตรียมขึ้นโดยคำนึงถึงสถานการณ์ส่วนบุคคลของท่าน (เช่น วัตถุประสงค์การลงทุน สถานการณ์ทางการเงิน หรือความความต้องการโดยเฉพาะ) ท่านควรขอคำแนะนำจากที่ปรึกษาด้านการเงิน บัญชี ภาษี กฎหมาย และด้านอื่น ๆ ของท่านเอง


แชร์บทความนี้

  • linkedin
  • facebook
  • twitter
  • email

อยากอ่านเพิ่ม?

เราหวังว่าคุณจะได้ประโยชน์ จากบทความของเรา

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับผู้คนอีกหลายแสนคนที่ต้องการวางแผนการเงินและการลงทุนอย่างยั่งยืนด้วยการสมัครรับบทความและบทวิเคราะห์ของเราที่จะส่งตรงถึงอีเมลของคุณ