การ Re-optimise เพื่อรับมือกับภาวะเงินเฟ้อสูงและเพิ่มโอกาสการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีมูลค่าที่เหมาะสม
เมื่อเดือนกรกฎาคม 2021 ที่ผ่านมา เราได้ทำการ Re-optimisation พอร์ตการลงทุนเพื่อรับมือกับภาวะเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นในสหรัฐอเมริกา โดยในภาวะ Inflationary Growth หรือ ภาวะที่เงินเฟ้อสูงในขณะที่เศรษฐกิจกำลังเติบโตในครั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อมีการปรับตัวสูงขึ้นเร็วกว่าปกติ ส่งผลให้การเติบโตทางเศรษฐกิจที่แท้จริง (Real Growth) ลดลง
ทั้งนี้ ดัชนีชี้วัดเศรษฐกิจมหภาคของเรา บ่งชี้ว่าประเทศส่วนใหญ่ทั่วโลกกำลังเข้าสู่ภาวะเงินเฟ้อสูงเช่นเดียวกันและกำลังขยายวงกว้างสู่ระบบเศรษฐกิจโลก รวมทั้งในสหรัฐอเมริกาที่อัตราเงินเฟ้อปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบเกือบ 40 ปี
เศรษฐกิจโลกกำลังเข้าสู่ภาวะ Inflationary Growth
ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับกลยุทธ์การลงทุนของเราและภาวะเศรษฐกิจทั้ง 4 แบบ: ERAA™ (Economic Regime-based Asset Allocation)
ภาวะเงินเฟ้อสูงมีแนวโน้มจะคงอยู่ตลอดปี 2022
ผู้กำหนดนโยบายหลายแห่งมีความเห็นว่าภาวะเงินเฟ้อสูงครั้งนี้อาจจะคงอยู่นานกว่าที่คาดการณ์ เนื่องจากสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นทั่วโลก เช่น การระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ที่ยังคงส่งผลกระทบต่อระบบขนส่ง การขาดแคลนแรงงานซึ่งทำให้ค่าจ้างแรงงานเพิ่มสูงขึ้น และนโยบายกระตุ้นทางเศรษฐกิจต่างๆ ในช่วงการระบาดของโควิด-19 ที่ยังคงส่งผลให้ราคาสินค้าทั่วโลกปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
โดยธนาคารกลางทั่วโลกมีแนวโน้มปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นในปี 2022 เพื่อเป็นการชะลอการปรับตัวสูงขึ้นของอัตราเงินเฟ้อ ต้นทุนการกู้ยืมและการใช้จ่ายเงินสำหรับการทำธุรกิจจึงสูงขึ้น ส่งผลให้เงินสดหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจลดลง
ในปีนี้ ตลาดยังมีการคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายถึง 4 ครั้ง ด้าน ธนาคารแห่งประเทศอังกฤษได้เริ่มปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นแล้ว และนักลงทุนคาดว่าอาจจะมีการปรับเพิ่มอีก 4 ครั้งในปีนี้เช่นเดียวกัน ในขณะที่ธนาคารกลางยุโรปอาจได้รับแรงกดดันให้ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยในกลุ่มประเทศ EU หลังจากดัชนีราคาผู้บริโภคมีการปรับเพิ่มสูงขึ้นถึง 5% เมื่อเดือนธันวาคม 2021 ที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม ประเทศจีนกลับมีนโยบายที่สวนทาง โดยธนาคารกลางจีนได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงเป็นครั้งแรกในรอบ 2 ปี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล หลังจากที่เกิดวิกฤติในกลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และมีมาตรการล็อกดาวน์ที่เข้มงวดหลังเกิดการระบาดของโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง
แล้วเราจะรับมือกับสิ่งเหล่านี้อย่างไร
ด้วยสถานการณ์ปัจจุบันที่ภาวะเงินเฟ้อยังคงปรับตัวสูงขึ้น เราจึงกำลัง Re-optimise พอร์ตการลงทุนอีกครั้งเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรับมือกับภาวะเงินเฟ้อสูงและเพิ่มโอกาสการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีมูลค่าที่เหมาะสม
เหมือนอย่างเช่นทุกครั้ง การ Re-optimise พอร์ตการลงทุนของเราผ่านการวิเคราะห์และพิจารณาอย่างถี่ถ้วนโดยคำนึงถึงการประเมินมูลค่าสินทรัพย์ (Valuation) ร่วมด้วยเสมอ ดังนั้น การ Re-optimise ในครั้งนี้จะมีการเพิ่มสัดส่วนในสินทรัพย์ที่มี Valuation ที่เหมาะสม และปรับลดสัดส่วนในสินทรัพย์บางตัวที่มี Valuation สูงเกินไป
หลังจากการ Re-optimise พอร์ตการลงทุนของคุณจะมีการเปลี่ยนแปลงดังนี้:
การปรับสัดส่วนการลงทุนในสินทรัพย์ที่เป็น inflation-hedge ที่มีอยู่เดิม
กลยุทธ์การลงทุน ERAA™ ของเรา ได้ปรับลดสัดส่วนการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลของประเทศพัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนา และแทนที่ด้วยหุ้นกู้คุณภาพดีของสหรัฐ (Investment Grade US Corporate Bonds) และพันธบัตรรัฐบาลที่อ้างอิงตามอัตราเงินเฟ้อ (Inflation-linked Government Bonds) นอกจากนี้ กลยุทธ์การลงทุน ERAA™ ของเรา ยังได้ปรับลดสัดส่วนสินทรัพย์ที่มี Valuation สูง ได้แก่ หุ้นกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค (XLP), กอง REITs สหรัฐ (VNQ) และหุ้นกลุ่มพลังงาน (XLE) และเพิ่มสัดส่วนในกลุ่มหุ้นขนาดเล็กของสหรัฐ (IJR) และหุ้นกลุ่มสถาบันการเงิน (XLF)
การปรับสัดส่วนการลงทุนในสินทรัพย์นอกสหรัฐ
เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของ Valuation ในสินทรัพย์ต่างๆ กลยุทธ์การลงทุน ERAA™ จึง ได้ปรับลดสัดส่วนการลงทุนในหุ้นของออสเตรเลียและญี่ปุ่นลง และเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในหุ้นแคนาดา โดยยังคงสัดส่วนการลงทุนในกลุ่มธุรกิจด้านนวัตกรรมของจีนไว้ตามเดิม เนื่องจากมี Valuation ต่ำและมีโอกาสในสร้างผลตอบแทนที่ดีในอนาคต
เรายังคงติดตามข้อมูลทางเศรษฐกิจอยู่เสมอ
ในปัจจุบันนี้ การรับรู้ข่าวสารต่างๆ ที่มีเข้ามาอย่างต่อเนื่องอาจทำให้เกิดความกังวลได้ง่ายมาก ทั้งข่าวการแพร่ระบาดของโควิด-19 และข่าวความเคลื่อนไหวระยะสั้นของตลาด แต่ต้องไม่ลืมว่า ปัจจัยทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ปรับด้วยอัตราเงินเฟ้อ (Inflation-adjusted growth) เป็นตัวขับเคลื่อนที่แท้จริงของผลตอบแทนทั้งในระยะกลางและระยะยาวของการลงทุน
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ: