การ Re-optimise เพื่อรับมือการเติบโตทางเศรษฐกิจและภาวะเงินเฟ้อสูงที่ต่างเริ่มชะลอตัวลง
กลยุทธ์การลงทุน ERAA™ ได้ปรับพอร์ตการลงทุนเพื่อเพิ่มการปกป้องพอร์ต ท่ามกลางการเติบโตทางเศรษฐกิจและเงินเฟ้อที่ชะลอตัวลง
คุณสามารถดูรายละเอียดการเปลี่ยนแปลงในพอร์ตของคุณได้ที่ ‘กล่องข้อความ’ บนแอปพลิเคชัน
ช่วงต้นปีที่ผ่านมา กลยุทธ์การลงทุนของเราหรือ ERAA™ ได้ปรับพอร์ต General Investing (ซึ่งรวมถึง Goal-based Investing) โดยการเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในสินทรัพย์ที่มักสร้างผลตอบแทนได้ดีในช่วงที่อัตราเงินเฟ้อสูง ได้แก่ ทองคำ, พันธบัตรรัฐบาลชดเชยเงินเฟ้อ (Inflation-linked Government Bonds), หุ้นในประเทศที่ส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์เป็นหลัก เช่น ออสเตรเลีย และแคนาดา ซึ่งส่งผลให้
- ในช่วงเดือนมกราคม-พฤศจิกายนปีนี้ มีผลการดำเนินงานดีกว่า Benchmark* โดยเฉลี่ยที่ 3.8% (ในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ)
- ตั้งแต่เริ่มดำเนินงานสามารถสร้างผลการดำเนินงานที่ดีกว่า Benchmark* ใน 10 จาก 12 ระดับความเสี่ยง
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำ Re-optimisation ครั้งก่อนหน้านี้ได้ที่นี่
เราได้เข้าสู่ภาวะ Stagflation แล้ว
เกือบตลอดปี 2022 เศรษฐกิจโลกอยู่ในภาวะเงินเฟ้อสูง-เศรษฐกิจเติบโตเป็นบวก แต่ได้ชะลอตัวลง
การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างรวดเร็วและรุนแรงของธนาคารกลางหลักหลายแห่งเริ่มส่งผลทางเศรษฐกิจ เราจึงเริ่มเห็นสัญญาณของอัตราเงินเฟ้อที่ชะลอตัวลงโดยการออกนโยบายการเงินที่เข้มงวดอย่างรวดเร็วนี้ยังเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะ Recession ให้สูงขึ้นด้วย ทั้งนี้ เมื่อดูตาม Framework ภาวะเศรษฐกิจ 4 แบบของ ERAA™ พบว่าเรากำลังอยู่ใน Stagflation คือ ภาวะที่เงินเฟ้อสูง (ที่เริ่มชะลอตัวลง) และการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ติดลบและหดตัว
ดังนั้น ERAA™ จึงได้ทำการ Re-optimisation และปรับสัดส่วนการลงทุนในพอร์ตของคุณให้เหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจที่ได้เปลี่ยนแปลงไป ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ERAA™
การทำ Re-optimisation ครั้งนี้ ส่งผลต่อพอร์ต General Investing และ Goal-based Investing ของคุณอย่างไร
ERAA™ ยังคงรักษาระดับความเสี่ยงของพอร์ตให้เป็นไปตามระดับ SRI ที่คุณกำหนดไว้ ในขณะที่ยังเพิ่มโอกาสในการสร้างผลตอบแทนในระยะยาวให้ดีที่สุดอยู่เสมอ โดยได้มีการปรับสัดส่วนพอร์ตให้ Defensive มากขึ้น ด้วยการเพิ่ม Protective Asset หรือสินทรัพย์ที่มักช่วยให้พอร์ตมีความผันผวนต่ำลง เพื่อให้พอร์ตของคุณพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจครั้งนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีรายละเอียดดังนี้:
เพิ่มสัดส่วนการลงทุนในตราสารหนี้
ธนาคารกลางทั่วโลกรวมถึง ธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ยังมีแนวโน้มจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อเนื่องในปี 2023 (ในอัตราที่ชะลอลง) ตราสารหนี้ระยะสั้นจึงยิ่งมีความสำคัญมากขึ้น เนื่องจากมีอัตราผลตอบแทนที่สูงขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงต้นปีและมีความเสี่ยงในระดับต่ำ นอกจากนี้ข้อมูลในอดีตยังแสดงว่า ตราสารหนี้มักจะสร้างผลตอบแทนดีกว่าหุ้นในช่วงที่เศรษฐกิจเป็นขาลง เพราะนักลงทุนมักจะเลี่ยงสินทรัพย์เสี่ยง และหันมาให้ความสนใจสินทรัพย์ปลอดภัย (Safe haven) หรือสินทรัพย์ที่มีความผันผวนต่ำอย่างพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ
ดังนั้น ERAA™ จึงได้เพิ่มสัดส่วนการลงทุนในตราสารหนี้ อย่างพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐระยะสั้น (Short-duration US Treasury Bills) และหุ้นกู้คุณภาพดี (Investment Grade) ในสหรัฐและทั่วโลก
ปรับสัดส่วนการลงทุนในหุ้นให้ Defensive มากขึ้น
สำหรับการลงทุนในหุ้น ERAA™ ได้ปรับลดสัดส่วนการลงทุนในหุ้นวัฏจักร (Cyclical) เช่น กลุ่มพลังงาน และ กลุ่มการเงิน รวมถึงลดสัดส่วนการลงทุนในประเทศที่เน้นการส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์ เช่น ออสเตรเลีย และแคนาดา ทำให้พอร์ตปัจจุบันของคุณมีกระจายการลงทุนในหุ้นเชิงรับ (Defensive) มากขึ้น เช่น กลุ่ม Healthcare ที่มักได้รับผลกระทบน้อยกว่าจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ
นอกจากนี้เมื่อมองภาพในปี 2023 คาดว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจระหว่างกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว (DMs) กับกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ (EMs) จะแตกต่างกัน โดยปีที่ผ่านมา EMs นำโดยประเทศจีน ได้รับผลกระทบจากทั้งมาตรการจากภาครัฐ นโยบาย Zero-COVID และค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่แข็งค่าขึ้น ซึ่งสถานการณ์ต่างๆ เริ่มคลี่คลายลงบ้างแล้ว และส่งสัญญาณการฟื้นตัว ดังนั้นกลุ่ม EMs จึงมีแนวโน้มที่น่าสนใจมากกว่าเมื่อเทียบกับกลุ่ม DMs
ERAA™ จึงได้เพิ่มสัดส่วนการลงทุนในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ เช่น อินเดีย ไต้หวัน และจีน ผ่าน ETF ที่ลงทุนใน EMs โดยรวม ซึ่งทำให้พอร์ตของคุณมีการลงทุนในหุ้นกลุ่ม EMs ในสัดส่วนที่เหมาะสม
คงสัดส่วนการลงทุนในทองคำ
ERAA™ ยังคงลงทุนในทองคำเพื่อเป็น Protective Asset ที่สร้างสมดุลให้กับพอร์ต เนื่องจากเป็นสินทรัพย์ที่มีค่าความสัมพันธ์ระหว่างสินทรัพย์ หรือ Correlation ต่ำ ทั้งกับตราสารหนี้และหุ้น โดยพอร์ต General Investing และ Goal-based Investing ของเรามีสัดส่วนการลงทุนในทองคำเฉลี่ยที่ 12% ซึ่งช่วยให้ผลการดำเนินงานปีนี้สามารถทำได้ดีกว่า Benchmark* ทั้งนี้ราคาทองคำยังทรงตัวได้ดีในปีนี้ และทำผลตอบแทนได้ดีกว่าทั้งหุ้นและตราสารหนี้แม้ว่าสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐจะแข็งค่าขึ้น ในระยะต่อไปทองคำอาจได้ประโยชน์จากแนวโน้มที่ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐจะอ่อนค่าลง เมื่อ Fed เริ่มชะลอการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
อ้างอิง: Bloomberg, StashAway
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับบทบาทของทองคำในพอร์ตของคุณ
การทำ Re-optimisation ครั้งนี้ ส่งผลต่อ Thematic Portfolio ของคุณอย่างไร
Technology Enablers
ERAA™ ปรับเพิ่มสัดส่วนการลงทุนใน Protective Asset ในพอร์ตที่มีระดับความเสี่ยงต่ำของธีมนี้ และยังเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในกลุ่มธุรกิจเซมิคอนดักเตอร์ ซึ่งประกอบด้วยบริษัทที่มีความมั่นคงและสามารถสร้างกระแสเงินสดได้อย่างสม่ำเสมอ บริษัทเหล่านี้สามารถใช้ประโยชน์จากช่วงเศรษฐกิจขาลง เพื่อหาโอกาสลงทุนต่อยอดธุรกิจในอนาคตได้
Future of Consumer Tech
ERAA™ ปรับเพิ่มสัดส่วนการลงทุนใน Protective Asset ในพอร์ตที่มีระดับความเสี่ยงต่ำของธีมนี้ และเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในกลุ่มธุรกิจยานยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติและรถยนต์ไฟฟ้า รวมถึงกลุ่มธุรกิจวิดีโอเกมและ E-sports ซึ่งมีค่าความสัมพันธ์กับสินทรัพย์อื่นๆ ในพอร์ตที่ต่ำกว่า
Healthcare Innovation
ในพอร์ตที่มีระดับความเสี่ยงต่ำ ERAA™ ปรับเพิ่มสัดส่วนการลงทุนให้ครอบคลุมกลุ่มธุรกิจ Healthcare ให้มากขึ้น ซึ่งรวมถึงอุปกรณ์การแพทย์ ธุรกิจ Healthcare ทั่วโลก และธุรกิจเภสัชกรรม เพื่อกระจายการลงทุนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
Environment and Cleantech
ERAA™ ไม่ได้ปรับสัดส่วนการลงทุนในธีมนี้อย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากพอร์ตในธีมนี้มีคุณสมบัติที่พร้อมรับมือกับภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันแล้ว
พอร์ตการลงทุนของคุณพร้อมแล้วสำหรับปี 2023
ในปี 2023 เศรษฐกิจโลกยังคงต้องเจอผลกระทบจากนโยบายการเงินที่เข้มงวดของธนาคารกลาง ซึ่งอาจส่งผลให้มีความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ และยังคงสร้างความผันผวนให้ตลาดในระยะต่อไป ทั้งนี้ กลยุทธ์การลงทุน ERAA™ ของเราจะติดตามข้อมูลตลาดและปัจจัยต่างๆ ทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการทำ Re-optimisation พอร์ตการลงทุนให้เหมาะกับการเปลี่ยนแปลงตามภาวะเศรษฐกิจอยู่เสมอ
คุณสามารถดูรายละเอียดการเปลี่ยนแปลงในพอร์ตของคุณได้ที่ ‘กล่องข้อความ’ บนแอปพลิเคชัน
*หมายเหตุ:
Benchmark ที่เราใช้ในการเปรียบเทียบมาจาก MSCI World Equity Index (ในส่วนของหุ้น) และ FTSE World Government Bond Index (ในส่วนของตราสารหนี้) โดยน้ำหนักของ Benchmark ที่เราใช้จะมีค่าความผันผวนที่เกิดขึ้นจริง (Realized Volatility) ในระยะเวลา 10 ปีเท่ากับระดับความเสี่ยง StashAway Risk Index
การเปรียบเทียบผลการดําเนินงานดังกล่าวมาจากผลตอบแทนก่อนหักค่าธรรมเนียม โดยอยู่ในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ
ผลการดําเนินงานมาจากพอร์ตที่ใช้กลยุทธ์การลงทุน ERAA™ ตั้งแต่เริ่มให้บริการในประเทศสิงคโปร์ โดยพอร์ตที่มี SRI 6.5%, 8%, 10%, 12%, 14%, 16%, 18%, และ 20% เริ่มในวันที่ 19 กรกฎาคม 2017 ส่วนพอร์ตที่มี SRI 26%, 30%, และ 36% เริ่มในวันที่ 16 สิงหาคม 2018 และพอร์ตที่มี SRI 22% เริ่มในวันที่ 15 สิงหาคม 2019
การลงทุนมีความเสี่ยง โปรดทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน; ผลการดำเนินงานในอดีตไม่ได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต