ซื้อกองทุนลดหย่อนภาษีคุ้มจริงหรือไม่? วิธีคำนวณง่ายๆ ก่อนตัดสินใจลงทุน
เราทุกคนโดยเฉพาะผู้ที่มีรายได้น่าจะคุ้นเคยกับคำว่า ‘กองทุนลดหย่อนภาษี’ มาบ้างแล้ว ไม่ว่าจะเป็น SSF, RMF หรือ Thai ESG ซึ่งคนส่วนมากมักตัดสินใจซื้อกองทุนเหล่านี้เพียงเพราะสามารถนำเงินลงทุนไปลดหย่อนภาษีได้ แต่เราเคยพิจารณาจริงๆ ไหมว่ากลยุทธ์แบบนี้คุ้มค่าจริงหรือไม่? และหลักการคำนวณว่าคุ้มไม่คุ้มต้องดูอะไรบ้าง?
ปัจจัยที่ต้องพิจารณาก่อนตัดสินใจซื้อกองทุนลดหย่อนภาษี
การพิจารณาว่าการซื้อกองทุนลดหย่อนภาษีคุ้มจริงหรือไม่? ต้องดูที่ 1. เงื่อนไขระยะเวลาที่ต้องถือครอง 2. ค่าธรรมเนียมกองทุน 3. ฐานภาษี

1. เงื่อนไขระยะเวลาที่ต้องถือครอง
เงื่อนไขการถือครองของกองทุนลดหย่อนภาษีแต่ละประเภทจะแตกต่างกันออกไป โดยเราได้สรุปรายละเอียดเงื่อนไขของกองทุนลดหย่อนภาษีทั้ง 3 ประเภทไว้ในตารางด้านล่าง (Highlight สีแดง คือ ระยะเวลาที่เราต้องถือครอง)

จะเห็นได้ว่า การถือครองของ Thai ESG จะสั้นที่สุดแค่ 5 ปี ส่วน SSF คุณจะต้องถือไว้นาน 10 ปีถึงจะขายได้ ขณะที่ RMF คุณจะต้องซื้อต่อเนื่องอย่างน้อยปีเว้นปี และถือไปจนถึงอายุ 55 ปี หรือต้องถือไว้อย่างน้อย 5 ปีถึงจะขายได้
2. ค่าธรรมเนียมกองทุน
ปัจจัยถัดมาที่เราต้องพิจารณา คือ ค่าธรรมเนียมกองทุน โดยปกติแล้ว ถ้าเราสังเกตดีๆ จะเห็นได้ว่าค่าธรรมเนียมของกองทุนลดหย่อนภาษี โดยเฉพาะที่ลงทุนในต่างประเทศ จะมากกว่าค่าธรรมเนียมของกองทุนทั่วๆ ไป โดยตารางด้านล่างจะเป็นการเปรียบเทียบค่าธรรมเนียมของกองทุนลดหย่อนภาษี กับค่าธรรมเนียมของการลงทุนในกองทุน ETF ต่างประเทศ ผ่านพอร์ต General Investing ของ StashAway

จะเห็นได้ว่ากองทุนลดหย่อนภาษีมีค่าธรรมเนียมโดยรวมสูงกว่าพอร์ต General Investing ของ StashAway มากถึง 0.0%-2.2% ต่อปี ซึ่งค่าธรรมเนียมที่อาจดูเล็กน้อยในตอนแรก จะกลายเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบอย่างยิ่งต่อผลตอบแทนโดยรวมของคุณในระยะยาว

3. ฐานภาษี
แน่นอนว่าฐานภาษีของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ดังนั้น เราต้องคำนึงถึงปัจจัยนี้ด้วยถึงจะรู้ว่าการที่เราซื้อกองทุนเพื่อลดหย่อนภาษีนั้นคุ้มค่าจริงหรือไม่? โดยเราสามารถคำนวณเป็นสูตรง่ายๆ (โดยไม่คำนึงถึงการนำเงินที่ลดหย่อนได้ไปลงทุนต่อ) ดังนี้

หากผลลัพธ์ของการนำส่วนต่างค่าธรรมเนียมมาคูณกับระยะเวลาที่ต้องถือครอง น้อยกว่าฐานภาษีของคุณ คุณก็ควรแบ่งเงินบางส่วนมาลงทุนในกองทุนลดหย่อนภาษี แต่กลับกัน หากผลลัพธ์ดังกล่าวมากกว่าฐานภาษีของคุณ การลงทุนในกองทุนลดหย่อนภาษีก็อาจไม่ได้สร้างประโยชน์มากอย่างที่คิด (ดูตารางสรุปด้านล่าง)

ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ (กรณีส่วนต่างค่าธรรมเนียม 1%)


ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ (กรณีส่วนต่างค่าธรรมเนียม 2%)

สรุปคือ แม้กองทุนลดหย่อนภาษีจะเป็นเครื่องมือที่ดีสำหรับการวางแผนการเงิน แต่ก็อาจไม่ใช่เครื่องมือที่เหมาะสมสำหรับทุกคน ดังนั้น ก่อนที่คุณจะตัดสินใจลงทุนอะไรก็ตาม คุณควรพิจารณาให้รอบคอบว่าการลงทุนนั้นสอดคล้องกับสถานะทางการเงิน ระยะเวลา และความเสี่ยงที่คุณยอมรับได้หรือไม่ เพราะสิ่งสำคัญที่สุดของการลงทุน คือ การมีอิสรภาพทางการเงินในระยะยาวนั่นเอง