Weekly Buzz: จีนพลิกฟื้นตัว | สร้าง Passive Income จากตราสารหนี้ทั่วโลก
🏭 เศรษฐกิจจีนเริ่มเครื่องติด
หลังจากที่จีนยกเลิกนโยบาย zero-COVID ในช่วงปลายปีที่ผ่านมา กิจกรรมทางเศรษฐกิจของจีนยังฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง
- ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิต ซึ่งชี้วัดกิจกรรมทางเศรษฐกิจในภาคธุรกิจที่ผลิตสิ่งของต่างๆ เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ เฟอร์นิเจอร์
- ส่วน PMI ภาคบริการ ที่ชี้วัดกิจกรรมทางเศรษฐกิจในภาคบริการ เช่น ช่างทำผม หรือ นักบัญชี ในเดือน ก.พ. ปรับตัวเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 56.3 จาก 54.4 ในเดือนก่อนหน้า (สูงกว่าระดับ 50 หมายถึงมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจ)
ดัชนีชี้วัดทั้ง 2 ตัวนี้สูงกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ จึงเป็นสัญญาณที่ชัดเจนครั้งแรกว่า เศรษฐกิจและภาคธุรกิจของจีนได้เข้าสู่เส้นทางการฟื้นตัวแล้ว หลังจากช่วงวันหยุดยาวตรุษจีนที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวยังมีแนวโน้มชะลอตัวในช่วง 2-3 เดือนข้างหน้า จากการที่เศรษฐกิจโลกชะลอตัวลง และ Pent-up Demand หรือความต้องการซื้อที่เคยอั้นจากการเปิดประเทศของจีนที่เริ่มลดลง
ตลาดกำลังจับตาดูเรื่องอะไร?
ทุกสายตาต่างรอติดตามนโยบายของรัฐบาลที่จะประกาศหลังการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน (NPC) ซึ่งจะเริ่มขึ้นในสุดสัปดาห์นี้ โดยต่างคาดหวังว่ารัฐบาลจะออกมาตรการเศรษฐกิจที่ช่วยกระตุ้นการบริโภค และมาตรการช่วยเหลือภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ยังคงได้รับความเดือดร้อน
🔍 สร้าง Passive Income ได้ง่ายๆ ในทุกภาวะเศรษฐกิจ
ปัจจุบัน อัตราผลตอบแทน (Yield) ของตราสารหนี้อยู่ระดับสูงที่สุดในรอบทศวรรษ อาจถือเป็นโอกาสดีที่จะ ‘ให้เงินทำงาน’ ผ่านการลงทุนในพอร์ตตราสารหนี้ทั่วโลกที่เน้นจ่ายเงินปันผลให้คุณอย่างสม่ำเสมอ
อ่านเพิ่มเติมได้ใน CIO Insights ล่าสุดของเรา: ทำไมการลงทุนใน ‘พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐระยะสั้น’ ถึงน่าสนใจ
พอร์ตต้นแบบที่เน้น Passive Income ของเรา จะกระจายการลงทุน 99% ในตราสารหนี้หลากหลายประเภทในสกุล USD เช่น ตราสารหนี้ทั่วโลก, ตราสารหนี้ระยะยาว, หุ้นกู้ และหุ้นกู้ High Yield โดยสินทรัพย์เหล่านี้สามารถช่วยลดความผันผวนให้กับพอร์ตโดยรวมของคุณในระยะยาวได้
พอร์ตต้นแบบนี้ มีข้อดีอะไรบ้าง:
- Customise ได้ตามใจ ไม่ว่าจะเพิ่ม-ลด หรือปรับสัดส่วนสินทรัพย์ก็ทำได้ทุกเมื่อ
- เลือกตั้งค่าได้ทั้ง ‘โอนเงินปันผลเข้าบัญชีธนาคารของคุณ’ หรือ ‘นำเงินปันผลกลับมาลงทุนต่อ’
- ฟรีค่าธรรมเนียม ถึง 30 มิ.ย. 2023
- ไม่มีขั้นต่ำ ทั้งเงินลงทุนและระยะเวลา เหมือนในทุกผลิตภัณฑ์การลงทุนของเรา
🎓 ศัพท์โลกการลงทุน: Credit Spread
Credit Spread หรือ ส่วนต่างอัตราผลตอบแทน (Yield) ระหว่างตราสารหนี้ที่มีช่วงระยะเวลาคงเหลือเท่ากัน แต่มี Credit Rating ของผู้ออกที่แตกต่างกัน
โดย Credit Spread จะอยู่ในรูปแบบ Basis Point หรือ bps (1 Basis Point คือ 0.01%) และมักนิยมใช้เพื่อระบุส่วนต่างของ Yield ระหว่างพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้ภาคเอกชน
นักลงทุนใช้ Credit Spread ได้อย่างไรบ้าง?
1. ประเมินความน่าเชื่อถือของผู้ออกตราสารหนี้
โดย Yield ของพันธบัตรมักจะใช้เป็นอัตรา Benchmark (Risk-free Rate) ทั้งนี้ หุ้นกู้มักให้ Yield ที่สูงกว่าพันธบัตรที่มีอายุคงเหลือเท่ากัน ซึ่งเป็นการชดเชยความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น
ดังนั้น เมื่อจะเลือกซื้อระหว่างหุ้นกู้หรือพันธบัตร การเข้าใจ Credit Spread จะช่วยให้นักลงทุนสามารถประเมินได้ว่าหุ้นกู้นั้นๆ จะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นจากพันธบัตรรัฐบาลเป็นเท่าไหร่
2. ชี้วัด Sentiment ของตลาดในภาพรวม
เมื่อตลาดอยู่ในช่วงหลีกเลี่ยงความเสี่ยง (Risk-averse) Credit Spread มักมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้น เพราะนักลงทุนต้องการผลตอบแทนที่มากขึ้นเพื่อชดเชยกับความเสี่ยงที่มากขึ้น ในทางตรงกันข้าม เมื่อ Sentiment ของตลาดมีทิศทางดีขึ้นและนักลงทุนเริ่มเปิดรับความเสี่ยงได้มากขึ้น Credit Spread มักมีแนวโน้มที่จะต่ำลง
📹 Quick Guide - สร้าง Flexible Portfolio และ Customise พอร์ตได้ง่ายๆ
พอร์ตที่ Flexible ที่สุด! เพราะคุณสามารถออกแบบพอร์ตได้ตามสไตล์คุณเองจาก 50+ สินทรัพย์ทั่วโลก หรือ ง่ายกว่านั้นด้วยการเริ่มจาก 3 พอร์ตต้นแบบที่ Expert ด้านการลงทุนของเราได้ออกแบบไว้ให้ ⚡
คุณสามารถเลือกจาก พอร์ตต้นแบบที่เน้น Passive Income, พอร์ตต้นแบบตาม World Index และพอร์ตต้นแบบตามระดับความเสี่ยง และปรับสัดส่วนได้ตามสไตล์คุณ ที่สำคัญ! เพิ่ม-ลด หรือปรับสัดส่วนสินทรัพย์ในพอร์ตที่คุณออกแบบเองได้ตลอดเวลา
ดูขั้นตอนสร้างพอร์ตง่ายๆ จากพอร์ตต้นแบบของเราได้ในคลิปนี้:
- ทำความรู้จัก 3 พอร์ตต้นแบบ
- Customise พอร์ตให้ตรงกับความต้องการ
- ตั้งค่ารับเงินปันผลเป็นประจำทุกเดือน