Weekly Buzz: เมื่อนักลงทุนและ Fed ยังคงมองต่างมุม

25 February 2023

แชร์บทความนี้

  • linkedin
  • facebook
  • twitter
  • email

อยากอ่านเพิ่ม?

เราหวังว่าคุณจะได้ประโยชน์ จากบทความของเรา

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับผู้คนอีกหลายแสนคนที่ต้องการวางแผนการเงินและการลงทุนอย่างยั่งยืนด้วยการสมัครรับบทความและบทวิเคราะห์ของเราที่จะส่งตรงถึงอีเมลของคุณ

24Feb23 Weekly Buzz 1

👀 ตลาดและ Fed ยังคงมีมุมมองที่แตกต่างกัน

จากอัตราเงินเฟ้อที่ยังมีแนวโน้มอยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง รวมทั้งข้อมูลทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง และการที่ Fed ส่งสัญญาณการทำนโยบายแบบ Hawkish (เข้มงวด) ต่อไปอีก ทำให้เกิดผลกระทบต่อ Sentiment ของตลาดในสัปดาห์ที่ผ่านมา

การที่ Fed ยังมีความท้าทายอีกมากมายในการต่อสู้กับอัตราเงินเฟ้อ ส่งผลให้ตลาดเริ่มปรับการคาดการณ์ต่ออัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐ โดยคาดว่า Fed จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยฯ อีก 2-3 ครั้งในปีนี้ จากปัจจุบันที่ระดับ 4.5-4.75%

แม้การคาดการณ์ของตลาดครั้งนี้จะเข้าใกล้กับประมาณการล่าสุดของ Fed เมื่อ ธ.ค. ที่ผ่านมา แต่ตลาดยังคงมองต่าง โดยเชื่อว่าจะยังมีโอกาสเห็นการลดอัตราดอกเบี้ยช่วงปลายปี 2023 ในขณะที่ Fed ได้ส่งสัญญาณแล้วว่าการปรับลดอัตราดอกเบี้ยไม่น่าจะเกิดขึ้นในปีนี้

มุมมองที่แตกต่างกันนี้จะส่งผลอย่างไร?

สัปดาห์ที่ผ่านมา หลังจากตลาดรับรู้ว่าอัตราดอกเบี้ยฯ อาจปรับสูงขึ้นและคงไว้นานขึ้นอีก ทำให้อัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ปรับตัวเพิ่มขึ้นและมีการเทขายในตลาดหุ้น ดังนั้น เราอาจจะเห็นความผันผวนของตลาดมากขึ้นอีก ถ้า Fed ทำนโยบายแบบ Hawkish มากขึ้นและมากกว่าที่ตลาดคาดไว้

Spoiler alert: ติดตามหัวข้อนี้เพิ่มเติมได้ใน CIO Insights เดือนนี้!

24Feb23 Weekly Buzz 2

🎓 ศัพท์โลกการลงทุน: PCE price index - เครื่องมือที่ Fed ใช้วัดเงินเฟ้อ

PCE - Personal Consumption Expenditures หรือ แนวโน้มการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน เป็นเครื่องมือที่ใช้วัดว่าครัวเรือนในสหรัฐใช้จ่ายกับสินค้าและบริการมากน้อยแค่ไหน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญต่อตัวเลข GDP ของสหรัฐ และนักเศรษฐศาสตร์จะใช้ข้อมูลนี้เพื่อคาดการณ์แนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจในอนาคต

โดยดัชนี PCE Price Index นี้จะสะท้อนการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าและบริการ ซึ่ง Fed ใช้เพื่อเป็นตัววัดอัตราเงินเฟ้อในสหรัฐ

ทั้งนี้ Fed ให้ความสำคัญกับดัชนี PCE มากกว่าดัชนี CPI (Consumer Price Index) เนื่องจาก:

  • ดัชนี PCE สามารถวัดเงินเฟ้อได้ครอบคลุมมากกว่า ทั้งข้อมูลกลุ่มผู้บริโภคในเขตเมืองและนอกเมือง ขณะที่ดัชนี CPI จะเน้นวัดกลุ่มผู้บริโภคในเขตเมือง
  • ดัชนี PCE ชี้วัดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคด้านความนิยมหรือการเลือกซื้อสินค้าทดแทนได้ดีกว่า เช่น ผู้บริโภคอาจเลือกซื้อแอปเปิ้ลแทน ถ้าส้มมีราคาแพงขึ้น

ทั้งดัชนี CPI และ PCE ต่างเป็นตัวเลขเศรษฐกิจที่แสดงข้อมูลเงินเฟ้อ แต่โดยปกติ ดัชนี CPI จะประกาศตัวเลขก่อนดัชนี PCE ประมาณ 1-2 สัปดาห์ จึงมีแนวโน้มสร้างผลกระทบกับตลาดการเงินได้มากกว่า

24Feb23 Weekly Buzz 3

✨ ลองฟัง Podcast ของเรา!

ถ้าปีนี้คุณอยากเริ่มต้นสิ่งดีๆ ให้กับตัวเอง เริ่มได้ง่ายๆ ด้วยการ ⭐ ลงทุนอย่างต่อเนื่อง ⭐ มาฟังสิ่งที่น่าสนใจจาก Nick Maggiulli, Content Creator จาก Of Dollars and Data ที่จะมาแชร์ว่าเพราะอะไรคุณถึงไม่ควรกลัวกับความผันผวนของตลาดพร้อมทั้งมุมมองในการรับมือเมื่อตลาดติดลบ


แชร์บทความนี้

  • linkedin
  • facebook
  • twitter
  • email

อยากอ่านเพิ่ม?

เราหวังว่าคุณจะได้ประโยชน์ จากบทความของเรา

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับผู้คนอีกหลายแสนคนที่ต้องการวางแผนการเงินและการลงทุนอย่างยั่งยืนด้วยการสมัครรับบทความและบทวิเคราะห์ของเราที่จะส่งตรงถึงอีเมลของคุณ