Weekly Buzz: 3 บทเรียนจาก 3 นักลงทุนระดับตำนาน

15 March 2024

แชร์บทความนี้

  • linkedin
  • facebook
  • twitter
  • email

อยากอ่านเพิ่ม?

เราหวังว่าคุณจะได้ประโยชน์ จากบทความของเรา

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับผู้คนอีกหลายแสนคนที่ต้องการวางแผนการเงินและการลงทุนอย่างยั่งยืนด้วยการสมัครรับบทความและบทวิเคราะห์ของเราที่จะส่งตรงถึงอีเมลของคุณ

หนึ่งในวิธีที่ดีที่สุดในการศึกษาเรื่องใดๆ ก็ตาม คือ การเรียนรู้จากบุคคลที่เก่งที่สุดและประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่องในสาขานั้นๆ  Weekly Buzz สัปดาห์นี้ จึงอยากถอด 3 บทเรียนจาก 3 นักลงทุนระดับตำนานที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเป็นของจริง

1. Warren Buffett: ซื้อหุ้นที่เราอยากเป็นเจ้าของกิจการ

Warren Buffett ไม่ได้ ‘เล่น’ หุ้น เพราะเวลา Buffett ซื้อหุ้น เขาจะคิดว่าตัวเองเป็นเจ้าของคนหนึ่งของบริษัท ด้วยความเชื่อมั่นในธุรกิจและตั้งใจจะถือหุ้นในระยะยาว ซึ่งหากเราต้องการลงทุนแบบ Buffett เราจะต้องซื้อหุ้นในบริษัทที่เราอยากเป็นเจ้าของกิจการและตั้งใจจะส่งต่อกิจการเหล่านี้ให้ลูกหลานของเรา

นี่คือเหตุผลว่าทำไม Buffett ถึงลงทุนในบริษัทที่มีปัจจัยพื้นฐานแข็งแกร่ง (อ่านเพิ่มเติมได้ใน Simply Finance) รวมถึงมีการบริหารจัดการที่ยอดเยี่ยมและมีความได้เปรียบทางการแข่งขันในระยะยาวเท่านั้น 

ยกตัวอย่างเช่น Buffett ได้เริ่มซื้อหุ้น Coca-Cola เมื่อปี 1988 เพราะเป็นแบรนด์ที่มีชื่อเสียงยาวนาน มีเครือข่ายช่องทางการจัดจำหน่ายทั่วโลกและสามารถทำกำไรได้อย่างสม่ำเสมอ ซึ่ง Buffett ก็ยังถือหุ้น Coca-Cola มาจนถึงทุกวันนี้

2. John Bogle: ทำการลงทุนให้เป็นเรื่องง่าย (และต้นทุนต่ำ)

‘ทำไมถึงพยายามเอาชนะตลาด ในเมื่อคุณสามารถลงทุนได้ทั้งตลาด?’ นี่คือคำกล่าวที่อธิบายตัวตนของ John Bogle ได้ดีที่สุด โดย Bogle เป็นผู้ก่อตั้งบริษัทจัดการกองทุนระดับโลกอย่าง Vanguard และเป็นผู้บุกเบิกการลงทุนในกองทุนดัชนีที่มีค่าธรรมเนียมต่ำ ทำให้นักลงทุนสามารถก้าวข้ามความผันผวนในตลาดโดยไม่ต้องทำอะไรซับซ้อนและไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมยิบย่อยโดยไม่จำเป็น เพราะแม้ค่าธรรมเนียมอาจจะดูเล็กน้อยในตอนแรก แต่เมื่อเวลาผ่านไป ต้นทุนยิบย่อยเหล่านี้ก็อาจทำให้ผลตอบแทนของคุณลดลงอย่างมากในระยะยาว

กลยุทธ์ของ Bogle ค่อนข้างเรียบง่าย คือ ลงทุนในกองทุนแบบ Passive ที่มีค่าธรรมเนียมต่ำ จากนั้นก็อยู่เฉยๆ แล้วปล่อยให้ตลาดเติบโตในระยะยาว ซึ่งก็คือการลงทุนในตลาดโดยรวมผ่าน ETF ที่กระจายการลงทุนในหลากหลายสินทรัพย์ทั่วโลกและมีค่าธรรมเนียมต่ำ (เช่น พอร์ต General Investing ของเรา 😎) 

3. Ray Dalio: สร้างพอร์ตที่สามารถทนได้ทุกภาวะเศรษฐกิจ

พอร์ต ‘All-Weather’ ของ Ray Dalio เกิดขึ้นจากคำถามง่ายๆ ที่ว่า การลงทุนแบบใดที่จะทำผลตอบแทนได้ดีไม่ว่าภาวะเศรษฐกิจจะเป็นอย่างไร? นำไปสู่การคิดค้นกลยุทธ์กระจายการลงทุนในหลากหลายสินทรัพย์ เพื่อไม่ให้พอร์ตโดยรวมได้รับผลกระทบแบบเดียวกัน เมื่อเศรษฐกิจเกิดการเปลี่ยนแปลง

Dalio จะเน้นลงทุนในสินทรัพย์ 4 ประเภท คือ 1) หุ้น เมื่อเศรษฐกิจเติบโตดี แต่เงินเฟ้อต่ำ 2) ตราสารหนี้ เมื่อเศรษฐกิจชะลอตัวและเงินเฟ้อต่ำ 3) สินค้าโภคภัณฑ์ เมื่อเศรษฐกิจเติบโตดีและเงินเฟ้อสูง และ 4) สินทรัพย์ชดเชยเงินเฟ้อ เมื่อเศรษฐกิจชะลอตัว แต่เงินเฟ้อสูง ซึ่งกลยุทธ์การลงทุน ERAA™ ของเราใช้แนวทางที่คล้ายกัน โดย ERAA™ จะวิเคราะห์ข้อมูลเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ จากนั้นจึงบริหาร Asset Allocation ให้เหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจในช่วงเวลานั้นๆ 

📰 ข่าวอื่นๆ ที่น่าสนใจ: OPEC+ ต่อเวลาลดกำลังผลิตน้ำมัน

OPEC+ กลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ที่สุดของโลก ประกาศว่าจะลดกำลังผลิตน้ำมันต่อไป เพื่อควบคุมราคาน้ำมันในตลาดโลก โดยหลังจากข่าวนี้ออกไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ราคาน้ำมันโลกปรับตัวขึ้น 2% มาอยู่ที่ 83 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

ก่อนหน้านี้ กลุ่ม OPEC+ ได้ลดกำลังการผลิตน้ำมันอย่างต่อเนื่องตลอด 2 ปีที่ผ่านมา รวมถึงการลดกำลังการผลิตน้ำมัน 2.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งจะครบกำหนดในสิ้นเดือน มี.ค. นี้ แต่ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา สหรัฐได้เพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันจนทำลายสถิติสูงสุดในประวัติศาสตร์ ทำให้กลุ่ม OPEC+ ตัดสินใจลดกำลังการผลิตน้ำมันต่อไปจนถึงสิ้นเดือน มิ.ย. นี้

ทั้งนี้ สหรัฐผลิตน้ำมันดิบได้มากพอจนสามารถลดการพึ่งพิงน้ำมันจากกลุ่ม OPEC+ นอกจากนี้ สหรัฐยังไม่มีข้อผูกมัดกับข้อตกลงของกลุ่มดังกล่าว หมายความว่าหากกลุ่ม OPEC+ เลือกที่จะลดกำลังการผลิต สหรัฐก็สามารถเพิ่มกำลังการผลิตและชดเชย Supply ในส่วนนี้ เพื่อรักษาเสถียรภาพของราคาน้ำมันในตลาดโลกได้  

เนื้อหาในส่วนนี้เขียนขึ้นร่วมกับ Finimize

🎓Simply Finance: การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน

การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน หรือ Fundamental Analysis เปรียบเสมือนการปอกหัวหอมทีละชั้น เพื่อสำรวจมูลค่าที่แท้จริงของหุ้น ซึ่งหมายถึงการเจาะลึกงบการเงินและปัจจัยพื้นฐานอื่นๆ เช่น กำไร สินทรัพย์และหนี้สินของบริษัท

การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานมีเป้าหมายเพื่อวัดมูลค่าที่แท้จริงของหุ้นว่า มีราคาเกินพื้นฐาน (Overvalued) ต่ำกว่าพื้นฐาน (Undervalued) หรือมีราคาที่เหมาะสมแล้ว ซึ่งหากบริษัทใดมีปัจจัยพื้นฐานที่แข็งแกร่ง ก็มีความเป็นไปได้ว่าบริษัทดังกล่าวมีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในระยะยาว


แชร์บทความนี้

  • linkedin
  • facebook
  • twitter
  • email

อยากอ่านเพิ่ม?

เราหวังว่าคุณจะได้ประโยชน์ จากบทความของเรา

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับผู้คนอีกหลายแสนคนที่ต้องการวางแผนการเงินและการลงทุนอย่างยั่งยืนด้วยการสมัครรับบทความและบทวิเคราะห์ของเราที่จะส่งตรงถึงอีเมลของคุณ