Weekly Buzz: 🌱 โอกาสที่ซ่อนอยู่ท่ามกลางความท้าทายของ AI

29 November 2024

แชร์บทความนี้

  • linkedin
  • facebook
  • twitter
  • email

อยากอ่านเพิ่ม?

เราหวังว่าคุณจะได้ประโยชน์ จากบทความของเรา

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับผู้คนอีกหลายแสนคนที่ต้องการวางแผนการเงินและการลงทุนอย่างยั่งยืนด้วยการสมัครรับบทความและบทวิเคราะห์ของเราที่จะส่งตรงถึงอีเมลของคุณ

ในขณะที่บรรดาบริษัทเทคโนโลยีกำลังแข่งขันกันเพื่อสร้างอนาคตในยุค ‘ดิจิทัล’ พวกเขากลับต้องเผชิญอุปสรรคแบบ ‘อนาล็อก’ ที่ไม่ใช่ปัญหาซอฟต์แวร์หรือความท้าทายในการเขียนโค้ด แต่เป็นปัญหาคอขวด ซึ่งอาจชะลอการเติบโตของเทคโนโลยี AI 

อย่างไรก็ดี นี่ถือเป็นข่าวดีสำหรับนักลงทุน เพราะปัญหาเหล่านี้ได้สร้างโอกาสใหม่ๆ ขึ้นมา และนี่คือสิ่งที่ Capital Group บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนที่มี AUM ราว  2.7 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ได้ระบุว่าเป็น 2 ปัญหาคอขวดที่สำคัญที่สุดของ AI ในขณะนี้

1. การขาดแคลนทองแดง

AI จำเป็นต้องมี Data Centre ขนาดใหญ่เพื่อรองรับการเติบโต ซึ่ง Data Centre เหล่านี้ต้องใช้ทองแดงจำนวนมหาศาลสำหรับเซิร์ฟเวอร์ ระบบทำความเย็น และระบบพลังงาน นอกจากนี้ Demand ของทองแดงยังมาจากผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้า โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์และลม รวมถึงโครงข่ายการจ่ายกระแสไฟฟ้าอีกด้วย

JPMorgan คาดการณ์ว่าภายในปี 2030 เราอาจขาดแคลนทองแดงถึง 6 ล้านตัน หรือราว 27% ของผลผลิตรายปีในปัจจุบัน ซึ่งความไม่สมดุลระหว่าง Demand และ Supply อาจเป็นสัญญาณว่า Supercycle ของทองแดงกำลังจะเกิดขึ้นอีกครั้ง (อ่านเพิ่มเติมได้ใน รอบรู้เรื่องลงทุน ด้านล่าง) และอาจเป็นแรงขับเคลื่อนให้ราคาทองแดงพุ่งสูงขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อบริษัทในกลุ่มธุรกิจเหมืองแร่และโลหะอุตสาหกรรม

2. ปัญหาพลังงาน

AI ยังต้องการพลังงานไฟฟ้าจำนวนมหาศาล โดยคาดว่าภายในปี 2030 Data Centre อาจบริโภคพลังงานถึง 9% ของการผลิตไฟฟ้าทั้งหมดในสหรัฐ ซึ่งเพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าจากการใช้งานในปัจจุบัน

นอกจากนี้ บริษัทเทคโนโลยีหลายแห่งยังให้คำมั่นว่าจะบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซคาร์บอนให้เป็นศูนย์ ซึ่งเป็นความท้าทายที่น่าสนใจ เนื่องจากพวกเขาต้องการพลังงานมากขึ้น แต่จะต้องเป็นพลังงานสะอาดเท่านั้น สิ่งนี้จึงเป็นแรงขับเคลื่อนการพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานนิวเคลียร์ในยุคถัดไป โดยเฉพาะ ‘Small Modular Reactor’ หรือเตาปฏิกรณ์ขนาดเล็ก และเร่งให้บริษัทสาธารณูปโภคต่างๆ เปลี่ยนไปใช้พลังงานสีเขียวเร็วขึ้น

Key Takeaway

ปัญหาคอขวดเหล่านี้ไม่สามารถแก้ไขได้ภายในชั่วข้ามคืน ซึ่งอาจหมายถึงการเติบโตของ AI Adoption (การนำ AI มาใช้) ที่ช้าลง แต่ยั่งยืนมากขึ้น และยังเป็นการสร้างโอกาสให้กลุ่มธุรกิจที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานของ AI และนี่คือหลากหลายวิธีที่คุณสามารถมีส่วนร่วมไปกับโอกาสในครั้งนี้

  • สำหรับคนที่ต้องการลงทุนแบบเจาะจง Flexible Portfolio ของเรา ออกแบบมาให้คุณสามารถเลือกลงทุนและกำหนดสัดส่วนในกลุ่มธุรกิจต่างๆ ได้เอง ไม่ว่าจะเป็นเหมืองแร่ อุตสาหกรรม และสาธารณูปโภค ซึ่งเป็นกลุ่มที่อาจได้รับผลประโยชน์จาก Demand ด้านทรัพยากรของ AI
  • ธีม Environment and Cleantech ภายใต้ Thematic Portfolio ของเรา เปิดโอกาสให้คุณมีส่วนร่วมกับการเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานสะอาดที่กำลังเร่งตัวจากการเติบโตของ AI เช่น กลุ่มธุรกิจพลังงานไฟฟ้านิวเคลียร์ 
  • สำหรับคนที่ต้องการกระจายการลงทุนใน Value-chain ของ AI ธีม Technology Enablers ภายใต้ Thematic Portfolio ของเรา จะเน้นลงทุนในบริษัทผู้นำของกลุ่มธุรกิจนี้

สำหรับใครที่ต้องการอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ AI ติดตามได้ใน CIO Insights เดือน ธ.ค. นี้

📰 ข่าวอื่นๆ ที่น่าสนใจ: เครื่องยนต์ยุโรปกำลังสะดุด

ข้อมูลล่าสุดจากทวีปยุโรปไม่ค่อยสดใสเท่าไหร่นัก โดยกิจกรรมในภาคธุรกิจประจำเดือน พ.ย. ที่ผ่านมา ลดลงมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ ซึ่งบ่งชี้ถึงความเป็นไปได้ที่เศรษฐกิจยุโรปอาจหดตัวในไตรมาสนี้

ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ของยุโรป ซึ่งใช้วัดกิจกรรมในภาคธุรกิจของทั้งภูมิภาค ลดลงสู่ระดับ 48.1 ซึ่งต่ำที่สุดในรอบ 10 เดือน และแสดงให้เห็นการหดตัวลง (ต่ำกว่า 50) และเมื่อพิจารณารายละเอียดก็ไม่ค่อยน่าประทับใจเช่นกัน โดยกิจกรรมในภาคการผลิต ลดลงมาอยู่ในโซนหดตัวที่ 45.2 ในขณะที่ภาคบริการ ซึ่งเคยขยายตัวติดต่อกัน 2 เดือน ลดลงมาอยู่ที่ 49.2

ทั้งนี้ ยุโรปมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากสหรัฐและจีน ดังนั้น สภาพเศรษฐกิจของภูมิภาคนี้ย่อมส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก โดยความท้าทายของเศรษฐกิจยุโรปยังเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ไม่ง่ายนัก เนื่องจากถูกแรงกดดันจากทั้งความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ยังดำเนินอยู่ และการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน ทำให้ Demand การส่งออกปรับตัวลดลง

แม้ยุโรปจะเผชิญกับปัญหาต่างๆ แต่ต้องไม่ลืมว่าราคาหุ้นในตลาดมักสะท้อนความกังวลของนักลงทุนไปเรียบร้อยแล้ว และอย่างน้อย ข้อมูลเศรษฐกิจที่น่ากังวลเหล่านี้ยังพอมีแง่บวกอยู่บ้าง เพราะอาจทำให้ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ตัดสินใจลดอัตราดอกเบี้ยอย่างเข้มข้นมากขึ้น หรือราว 0.5% เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในยุโรปด้วยแรงหนุนจากต้นทุนการกู้ยืมที่ลดลง

เนื้อหาในส่วนนี้เขียนขึ้นร่วมกับ Finimize

📖 รอบรู้เรื่องลงทุน: ดร.ทองแดง

ทองแดง ซึ่งเป็นโลหะมีค่าชนิดหนึ่ง มีชื่อเล่นในแวดวง Trader ว่า ‘ดร.ทองแดง’ โดยมีการใส่วุฒิปริญญาเอกด้านเศรษฐศาสตร์ เพื่อสะท้อนให้เห็นความสามารถในการทำนายแนวโน้มเศรษฐกิจอย่างแม่นยำ เนื่องจากทองแดงถูกนำไปใช้ในหลากหลายกลุ่มธุรกิจ จนราคาของมันมักเป็นสัญญาณบ่งชี้ทิศทางของเศรษฐกิจ

ทองแดงเคยผ่านช่วง ‘Supercycle’ มาหลายครั้ง จนราคาอยู่ในระดับสูงอย่างต่อเนื่องนานหลายทศวรรษ เนื่องจากได้รับแรงขับเคลื่อนจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจครั้งสำคัญ ซึ่งล่าสุดเกิดขึ้นในช่วงการปฏิวัติอุตสาหกรรมของจีนในช่วงต้นทศวรรษ 2000 โดยปัจจุบัน การเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุคพลังงานสะอาดและการเติบโตของ AI ทำให้นักวิเคราะห์บางรายเชื่อว่าทองแดงได้เริ่มเข้าสู่ Supercycle รอบใหม่แล้ว


แชร์บทความนี้

  • linkedin
  • facebook
  • twitter
  • email

อยากอ่านเพิ่ม?

เราหวังว่าคุณจะได้ประโยชน์ จากบทความของเรา

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับผู้คนอีกหลายแสนคนที่ต้องการวางแผนการเงินและการลงทุนอย่างยั่งยืนด้วยการสมัครรับบทความและบทวิเคราะห์ของเราที่จะส่งตรงถึงอีเมลของคุณ