Weekly Buzz: ✂️ Fed ตัดสินใจลดดอกเบี้ย 0.5%

20 September 2024

แชร์บทความนี้

  • linkedin
  • facebook
  • twitter
  • email

อยากอ่านเพิ่ม?

เราหวังว่าคุณจะได้ประโยชน์ จากบทความของเรา

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับผู้คนอีกหลายแสนคนที่ต้องการวางแผนการเงินและการลงทุนอย่างยั่งยืนด้วยการสมัครรับบทความและบทวิเคราะห์ของเราที่จะส่งตรงถึงอีเมลของคุณ

เมื่อคืนวันพุธ (18 ก.ย.) Fed เลือกใช้ยาแรงด้วยการปรับอัตราดอกเบี้ยลง 0.5% ซึ่งถือเป็นการลดดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบ 4 ปี

ดัชนี S&P 500 ได้ปรับตัวขึ้นทันทีหลังการประกาศของ Fed แต่หลังจากนั้น ตลาดก็ปรับตัวลงและปิดในแดนลบ โดยความผันผวนระยะสั้นถือเป็นเรื่องปกติสำหรับการเคลื่อนไหวครั้งสำคัญระดับนี้ ดังนั้น นักลงทุนจึงควรโฟกัสไปที่ผลกระทบในระยะยาวมากกว่า

การลดดอกเบี้ย 0.5% ถือเป็นการส่งสัญญาณที่ชัดเจนของ Fed ซึ่งมีภารกิจสำคัญในการรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจและตลาดแรงงานสหรัฐที่อ่อนตัวลงในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา โดยตลาดยังได้คาดการณ์ว่า Fed จะลดดอกเบี้ยอีก 0.5% ในปีนี้ 1% ในปี 2025 และ 0.5% ในปี 2026 โดยมีเป้าหมายสุดท้ายให้อัตราดอกเบี้ยลดลงมาอยู่ที่ 2.75%-3%

💡 Investors’ Corner: ไม่มีธุรกิจใดอยู่ค้ำฟ้า

ตำแหน่งบริษัทขนาดใหญ่ที่สุดในโลกสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา เนื่องจากนวัตกรรม การ Disruption และการแข่งขันทางธุรกิจ ทำให้เกมเก้าอี้ดนตรีนี้ยังคงดำเนินต่อไป โดยบริษัทชั้นนำต่างผลัดเปลี่ยนกันขึ้นมาเป็นที่หนึ่ง ซึ่งนักลงทุนก็อาจต้องใช้ความพยายามในการคาดเดาว่าบริษัทใดจะครองโลกไปอีกสิบปีต่อจากนี้ หรืออาจลองใช้วิธีง่ายๆ เช่น การกระจายการลงทุนในดัชนีที่จะให้ผลตอบแทนที่ดีไม่ว่าธุรกิจใดจะขึ้นมาครองที่หนึ่ง 

สถานการณ์ปัจจุบันเป็นอย่างไร?

ทุกวันนี้ บริษัทขนาดใหญ่สุด 10 อันดับแรกของโลก เต็มไปด้วยบริษัทเทคโนโลยี นำโดยกลุ่ม Magnificent Seven ซึ่งน่าสนใจตรงที่ราคาหุ้นของบริษัทเหล่านี้มีค่า P/E ต่ำกว่า 10 อันดับแรกในอดีตค่อนข้างมาก โดยปัจจุบัน ค่า Forward P/E 2 ปีของหุ้นกลุ่ม Magnificent Seven อยู่ที่ 23 เท่าโดยเฉลี่ย เมื่อเทียบกับบรรดาผู้นำตลาดในยุคปี 2000 ที่ 52 เท่า หรือในช่วงปลายทศวรรษ 1980 ที่ 67 เท่า

ย้อนกลับไปในทศวรรษ 1980 บริษัทขนาดใหญ่สุด 10 อันดับแรกของโลกส่วนใหญ่ล้วนเป็นบริษัทที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจพลังงาน เพราะตลาดมีมุมมองว่าน้ำมันสำรองของโลกกำลังจะถึงจุดสูงสุด และจะเริ่มลดลงในอีกไม่ช้า ซึ่งเป็นการคาดการณ์ที่ผิด ถัดมาในทศวรรษ 1990 บริษัทญี่ปุ่น 8 แห่งขึ้นไปติดอันดับ 10 บริษัทที่ใหญ่ที่สุดในโลก เพราะนักลงทุนจำนวนมากเชื่อว่าญี่ปุ่นกำลังจะแซงหน้าสหรัฐ ขึ้นเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่สุดของโลก (ซึ่งก็ผิดอีกเช่นกัน)

กล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ การทำนายตลาดให้ถูกต้อง 100% เป็นเรื่องที่แทบเป็นไปไม่ได้เลย เพราะการเปลี่ยนแปลงมักเกิดขึ้นจากความท้าทายใหม่ๆ หรือการ Disruption ที่ผู้คนไม่ได้คาดคิดมาก่อน โดยก่อนที่จะเกิดกระแส AI มีน้อยคนที่จะเห็นศักยภาพของ Nvidia ที่สามารถเติบโตจนมีมูลค่าตลาดถึง 3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ

Key Takeaway

บริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่สามารถทุ่มเงินลงทุนหลายพันล้านดอลลาร์ฯ เพื่อเพิ่ม Economic Moat หรือข้อได้เปรียบทางเศรษฐกิจ (อ่านเพิ่มเติมได้ใน Simply Finance) ของตัวเองได้ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องยากที่เราจะจินตนาการว่าคู่แข่งรายใหม่ๆ จะสามารถขึ้นมาท้าชิงกับบริษัทใหญ่ขนาดนี้ได้อย่างไร แต่อย่าลืมว่าตลาดก็เคยคิดแบบเดียวกันนี้กับยักษ์ใหญ่อย่าง IBM และ ExxonMobil มาแล้ว ซึ่งผลลัพธ์หลังจากนั้นก็ได้สอนเราว่าไม่มีอะไรยั่งยืนตลอดไป

การลงทุนแบบ Passive เช่น การลงทุนในดัชนี จะช่วยให้พอร์ตของคุณทันต่อการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ และเติบโตไปกับผู้นำตลาดที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอในระยะยาว ประกอบกับการทำ Asset Allocation ให้เหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจตามความเสี่ยงที่คุณรับได้ จะช่วยให้คุณไม่ต้องกังวลและคอยเฝ้าพอร์ตอยู่ตลอดเวลา เช่น พอร์ต General Investing ของเรา😎ที่มีการกระจายการลงทุนที่ดีในหลากหลายสินทรัพย์ กลุ่มธุรกิจและภูมิภาค ที่สำคัญ ยังมีการปรับสัดส่วนสินทรัพย์ให้เหมาะสมภับภาวะเศรษฐกิจโดยอัตโนมัติด้วย

เนื้อหาในส่วนนี้เขียนขึ้นร่วมกับ Finimize

🎓 Simply Finance: Economic Moat

Economic Moat หรือข้อได้เปรียบทางเศรษฐกิจ คือความสามารถของบริษัทในการรักษาความได้เปรียบในการทำธุรกิจกับคู่แข่ง เปรียบเสมือนคูเมืองที่คอยปกป้องปราสาทจากผู้รุกราน โดยบริษัทที่มี Economic Moat มักจะรักษา Market Share และ Margin กำไรของตัวเองไว้ได้ในระยะยาว ซึ่งข้อได้เปรียบนี้อาจมาจากหลายสาเหตุ เช่น แบรนด์ที่แข็งแกร่ง เทคโนโลยีที่พวกเขาเป็นเจ้าของแต่เพียงผู้เดียว รวมถึง Economies of Scale หรือการที่บริษัทมีต้นทุนที่ถูกลงจากขนาดที่ใหญ่ขึ้น


แชร์บทความนี้

  • linkedin
  • facebook
  • twitter
  • email

อยากอ่านเพิ่ม?

เราหวังว่าคุณจะได้ประโยชน์ จากบทความของเรา

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับผู้คนอีกหลายแสนคนที่ต้องการวางแผนการเงินและการลงทุนอย่างยั่งยืนด้วยการสมัครรับบทความและบทวิเคราะห์ของเราที่จะส่งตรงถึงอีเมลของคุณ