Weekly Buzz: 🩺 แรงขับเคลื่อนของกลุ่มธุรกิจไบโอเทค

09 August 2024

แชร์บทความนี้

  • linkedin
  • facebook
  • twitter
  • email

อยากอ่านเพิ่ม?

เราหวังว่าคุณจะได้ประโยชน์ จากบทความของเรา

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับผู้คนอีกหลายแสนคนที่ต้องการวางแผนการเงินและการลงทุนอย่างยั่งยืนด้วยการสมัครรับบทความและบทวิเคราะห์ของเราที่จะส่งตรงถึงอีเมลของคุณ

ปัจจุบัน ดูเหมือนว่า Fed กำลังเตรียมที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในปลายปีนี้ ซึ่งแม้จะทำให้ตลาดหุ้นโดยรวมคลายความกังวลได้มากขึ้น แต่จากข้อมูลของ Morgan Stanley อาจมีบางกลุ่มธุรกิจที่ได้รับประโยชน์มากกว่ากลุ่มอื่นๆ เช่น ไบโอเทค

ทำไมไบโอเทคถึงโดดเด่น?

กลุ่มธุรกิจไบโอเทค ซึ่งประกอบไปด้วยบริษัทผู้บุกเบิกเทคโนโลยีทางการแพทย์ มักจะทำผลตอบแทนได้ดีกว่ากลุ่มธุรกิจอื่นๆ ในช่วงดอกเบี้ยขาลง โดยเฉพาะในช่วงที่ดอกเบี้ยอยู่ในระดับสูง และเริ่มปรับตัวลดลง ซึ่งก็คือสถานการณ์ที่เรากำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน

สาเหตุที่ทำให้กลุ่มธุรกิจไบโอเทค มักทำผลงานได้ดีหลังการปรับลดอัตราดอกเบี้ย ได้แก่

  • กลุ่มธุรกิจไบโอเทคจะมีต้นทุนในการกู้ยืมต่ำลง ซึ่งจะทำให้พวกเขาสามารถระดมทุนเพื่อวิจัยและพัฒนาสินค้าใหม่ๆ ได้ง่ายขึ้น
  • กลุ่มธุรกิจไบโอเทคมักจะให้ความสำคัญกับการพัฒนาสินค้าและบริการในระยะยาว แทนที่จะเน้นการเพิ่ม Margin กำไรในระยะสั้น หมายความว่า พวกเขามักไม่ค่อยกังวลกับความผันผวนของเศรษฐกิจในระยะสั้น
  • บริษัทในกลุ่มธุรกิจไบโอเทคมักจะพึ่งพารายได้ในระยะยาว ดังนั้น เมื่ออัตราดอกเบี้ยลดลง Present Value ของรายได้ในอนาคตก็จะเพิ่มขึ้นอย่างมาก เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลงจะช่วยลด Discount Rate ของกระแสเงินสดที่จะได้รับในอนาคต

เหตุผลทั้งหมดนี้ช่วยอธิบายว่าทำไมตามสถิติที่ผ่านมากลุ่มธุรกิจไบโอเทคถึงให้ผลตอบแทนสูงกว่าตลาดโดยรวมประมาณ 17% ในช่วง 6 เดือน และประมาณ 27% ในช่วง 1 ปี หลังจากมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง

Key Takeaways

หุ้นในกลุ่มธุรกิจไบโอเทคอาจช่วยปกป้องพอร์ตได้ เพราะ Demand ของสินค้าและบริการ Healthcare จะยังคงอยู่ต่อไป ไม่ว่าสภาพเศรษฐกิจจะเป็นเช่นไร แต่ก็ต้องไม่ลืมว่า กลุ่มธุรกิจนี้ยังมีความเสี่ยงในฐานะบริษัทเทคโนโลยีอยู่ และความสำเร็จของบริษัทในกลุ่มนี้มักจะขึ้นอยู่กับปัจจัยที่คาดเดายาก เช่น การได้รับอนุมัติจากหน่วยงานกำกับดูแล และองค์ความรู้ใหม่ๆ ทางวิทยาศาสตร์

การลงทุนในพอร์ตที่มีการกระจายการลงทุนที่ดีจะช่วยลดความเสี่ยงเหล่านี้ได้ โดยการกระจายการลงทุนในทั้งกลุ่มธุรกิจอาจเป็นทางเลือกที่เหมาะสม (เช่น ธีม Healthcare Innovation ภายใต้ Thematic Portfolio ของเรา😎) ซึ่งกระจายการลงทุนในบริษัทต่างๆ ในกลุ่มไบโอเทคและกลุ่มนวัตกรรมทางการแพทย์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

📰 ข่าวอื่นๆ ที่น่าสนใจ: Earning Season ที่ค่อนข้างผันผวน

ขณะนี้เรากำลังอยู่ใน Earning Season หรือฤดูประกาศผลประกอบการ โดยบริษัทต่างๆ จะทยอยประกาศผลประกอบการในช่วง Q2/2024

ณ สิ้นเดือน ก.ค. ที่ผ่านมา บริษัทในดัชนี S&P 500 มากกว่า 40% ได้ประกาศผลประกอบการใน Q2 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งหากมองเผินๆ ดูเหมือนว่าผลการดำเนินงานที่ออกมาจะแตกต่างกันไป โดยในแง่ของรายได้ มีบริษัทเพียง 60% เท่านั้นที่มีรายได้สูงกว่าคาดการณ์ แต่ในแง่ของกำไรต่อหุ้น (EPS) มีบริษัทถึง 78% ที่มี EPS สูงกว่าค่าเฉลี่ย 10 ปี โดยความแตกต่างระหว่างรายได้กับผลกำไรครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่า พวกเขามี Margin กำไรที่ดีขึ้น (อ่านเพิ่มเติมได้ใน Simply Finance)

นอกจากนี้ ข้อมูลล่าสุดบ่งชี้ว่า EPS ใน Q2 ของบริษัทเหล่านี้ สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้วถึง 9.8% และหากตัวเลขยังอยู่ในระดับนี้หลังทุกบริษัทประกาศผลการดำเนินงานครบแล้ว จะถือเป็นการขยายตัวของกำไรที่เร็วที่สุดนับตั้งแต่สิ้นปี 2021 และนับเป็นไตรมาสที่ 4 ติดต่อกันที่อัตราเติบโตของกำไรอยู่ในแดนบวก

ตัวเลขเหล่านี้อาจมีน้ำหนักพอที่จะทำให้นักลงทุนเชื่อมั่นว่าดัชนี S&P 500 จะเดินหน้าต่อไป หลังปรับตัวขึ้นอย่างแข็งแกร่งมาตลอด 2 ปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ในช่วงหลัง ความคาดหวังของตลาดได้เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยนักลงทุนก็ไม่ได้แสดงความตื่นเต้นกับข่าวดีมากนักในช่วงที่ผ่านมา

เนื้อหาในส่วนนี้เขียนขึ้นร่วมกับ Finimize

🎓 Simply Finance: Margin กำไร

Profit margin หรือ Margin กำไร จะเป็นเครื่องชี้วัดว่าบริษัทมีกำไรสุทธิมากน้อยแค่ไหน เช่น บริษัท Software รายหนึ่ง อาจมียอดขาย 1 ล้านบาท แต่มีต้นทุนในการดำเนินงานทั้งหมด (เช่น เงินเดือน, ค่าใช้จ่ายการตลาด และค่า Overhead อื่นๆ) 7 แสนบาท นั่นหมายความว่าพวกเขามีผลกำไร 3 แสนบาท หรือ Margin กำไรที่ 30%

Margin กำไรที่สูงขึ้น แสดงให้เห็นว่า พวกเขาสามารถบริหารจัดการต้นทุน กำหนดราคา และดำเนินกิจการได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับสถานะทางการเงินที่ดีของบริษัทในระยะยาว


แชร์บทความนี้

  • linkedin
  • facebook
  • twitter
  • email

อยากอ่านเพิ่ม?

เราหวังว่าคุณจะได้ประโยชน์ จากบทความของเรา

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับผู้คนอีกหลายแสนคนที่ต้องการวางแผนการเงินและการลงทุนอย่างยั่งยืนด้วยการสมัครรับบทความและบทวิเคราะห์ของเราที่จะส่งตรงถึงอีเมลของคุณ