Weekly Buzz: 🇨🇳 มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่ของจีน

27 September 2024

แชร์บทความนี้

  • linkedin
  • facebook
  • twitter
  • email

อยากอ่านเพิ่ม?

เราหวังว่าคุณจะได้ประโยชน์ จากบทความของเรา

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับผู้คนอีกหลายแสนคนที่ต้องการวางแผนการเงินและการลงทุนอย่างยั่งยืนด้วยการสมัครรับบทความและบทวิเคราะห์ของเราที่จะส่งตรงถึงอีเมลของคุณ

หลัง Fed ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.5% ธนาคารกลางจีน (PBOC) ได้ประกาศมาตรการผ่อนคลายทางการเงินชุดใหม่ ซึ่งถือเป็นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่สุดของประเทศนับตั้งแต่ COVID-19 ซึ่งตลาดก็ตอบรับในเชิงบวก โดยเงินหยวนแข็งค่าขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 16 เดือน และตลาดหุ้นจีนได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากที่สุดในรอบ 4 ปี

PBOC จะปรับลดอัตราส่วนเงินสำรองของธนาคาร (RRR) ลง 0.5% ซึ่งจะทำให้มีการปล่อยสินเชื่อใหม่เข้าสู่ระบบการเงินราว 1 ล้านล้านหยวน นอกจากนี้ PBOC ยังมีแผนสนับสนุนตลาดหุ้นด้วยการจัดหาเงินทุนใหม่ 2 โครงการ มูลค่ารวม 8 แสนล้านหยวน

เมื่อบวกกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย มาตรการเหล่านี้มีเป้าหมาย คือ เพิ่มความเชื่อมั่น กระตุ้นการเติบโต และพยุงตลาดอสังหาริมทรัพย์จีนที่กำลังประสบปัญหา โดยมาตรการเหล่านี้จะช่วยให้ธนาคารจีนปล่อยสินเชื่อได้มากขึ้น ซึ่งจะเป็นการเพิ่มสภาพคล่องเข้าสู่ระบบการเงิน และกระตุ้นการบริโภค

💡 Investors’ Corner: ไม่ได้มีแค่ทองคำที่ร้อนแรง

ทองคำเป็นสินทรัพย์ที่นักลงทุนควรมีไว้ในพอร์ตในฐานะสินทรัพย์ปรับสมดุล เนื่องจากเป็นเครื่องมือป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อและความผันผวนของตลาด อย่างไรก็ตาม ทองคำไม่ใช่โลหะมีค่าเพียงชนิดเดียวที่มีคุณสมบัติแบบที่กล่าวมา

แร่เงินและยูเรเนียม: โดดเด่นในแบบของตัวเอง

เมื่ออัตราดอกเบี้ยปรับตัวลดลง ทองคำ ซึ่งไม่ได้จ่ายดอกเบี้ยเหมือนเงินสดหรือตราสารหนี้ จะมีความน่าดึงดูดมากขึ้น และหากเงินดอลลาร์สหรัฐมีแนวโน้มอ่อนค่าลงตามอัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวลดลง ก็จะทำให้ Demand ของทองคำพุ่งสูงขึ้นจนทำให้ราคาทองคำปรับตัวขึ้นตามไปด้วย

ผลกระทบแบบเดียวกันนี้ยังส่งผลต่อแร่เงินเช่นกัน โดยราคาของสินค้าโภคภัณฑ์ทั้ง 2 ชนิดนี้มักจะเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกัน เนื่องจากทั้งคู่ถูกมองว่าเป็นสินทรัพย์ Safe-haven และได้รับอิทธิพลจากปัจจัยตลาดที่คล้ายกัน

อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างระหว่างสินค้าโภคภัณฑ์ทั้ง 2 ชนิดนี้ คือ แร่เงินมีการใช้งานที่หลากหลายกว่า โดย 46% ของการบริโภคแร่เงินต่อปีเกิดขึ้นในภาคอุตสาหกรรม ส่วนทองคำมีสัดส่วนเพียง 6% เท่านั้น นอกจากนี้ แร่เงินยังมีบทบาทสำคัญในหลากหลายกลุ่มธุรกิจที่เติบโตอย่างรวดเร็ว เช่น แผงโซลาร์ หน้าจอ Touch Screen หรือแม้แต่การบำบัดน้ำ 

ขณะที่ แร่ยูเรเนียม มีแนวโน้มการเติบโตในระยะยาวเช่นกัน เนื่องจากมีความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น รวมถึงเทรนด์ที่กำลังเติบโต เช่น AI และรถยนต์ไฟฟ้า โดยนักลงทุนสามารถใช้แร่ยูเรเนียมเป็นเครื่องมือกระจายความเสี่ยงได้เช่นเดียวกับทองคำและแร่เงิน เพราะราคาแร่ยูเรเนียมมักไม่ได้เคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกับราคาหุ้นและตราสารหนี้

ช่วงที่ผ่านมา แร่ยูเรเนียมมีแนวโน้มการเติบโตที่โดดเด่น ซึ่งสาเหตุมาจาก Demand และ Supply โดยปริมาณแร่ยูเรเนียมที่มีอยู่เริ่มลดลง สวนทางกับการบริโภคที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ความต้องการใช้ไฟฟ้ายังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นมากในระยะข้างหน้า เนื่องจาก Demand ที่เพิ่มขึ้นจากประเทศเกิดใหม่และการเติบโตของ AI ยกตัวอย่างเช่น การค้นหาด้วย ChatGPT ใช้พลังงานมากกว่าการค้นหาด้วย Google ถึง 10 เท่า

Key Takeaway

ปัจจุบัน อัตราดอกเบี้ยที่ลดลง จะยิ่งทำให้การลงทุนในสินทรัพย์อื่นๆ นอกเหนือจากการถือเงินสด มีความสำคัญมากขึ้น เพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่สูงขึ้นและป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อ โดยการลงทุนในโลหะมีค่าทั้ง 3 ชนิดนี้ เป็นหนึ่งในหลายๆ วิธีที่คุณสามารถให้เงินของคุณทำงานต่อไป ซึ่ง Flexible Portfolio ของเราอาจเป็นตัวเลือกที่เหมาะสม เพราะคุณสามารถเลือกลงทุนใน ETF ทองคำ เงิน และยูเรเนียมได้ตามความต้องการ

เนื้อหาในส่วนนี้เขียนขึ้นร่วมกับ Finimize

🎓 Simply Finance: สินค้าโภคภัณฑ์

สินค้าโภคภัณฑ์ คือ วัตถุดิบที่สามารถซื้อ-ขายได้ เช่น ทองคำ เงิน น้ำมัน หรือแม้แต่เมล็ดกาแฟ ซึ่งแต่ละชนิดก็จะมี Demand และ Supply ค่อนข้างเฉพาะตัว 

ทั้งนี้ สินค้าโภคภัณฑ์เป็นสินทรัพย์ที่จับต้องได้และมีมูลค่าในตัวเอง แตกต่างจากหุ้นและตราสารหนี้ สินค้าโภคภัณฑ์จึงมักถูกใช้เป็นเครื่องมือป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อและช่วยกระจายการลงทุนในพอร์ต โดยนักลงทุนมักจะลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ผ่านสัญญาซื้อ-ขายล่วงหน้า บริษัทที่เกี่ยวข้อง หรือกองทุน ETF ที่ติดตามราคาสินค้าเหล่านี้


แชร์บทความนี้

  • linkedin
  • facebook
  • twitter
  • email

อยากอ่านเพิ่ม?

เราหวังว่าคุณจะได้ประโยชน์ จากบทความของเรา

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับผู้คนอีกหลายแสนคนที่ต้องการวางแผนการเงินและการลงทุนอย่างยั่งยืนด้วยการสมัครรับบทความและบทวิเคราะห์ของเราที่จะส่งตรงถึงอีเมลของคุณ