Weekly Buzz: 💵 เลือกลงทุนอะไรดี? ระหว่างตราสารหนี้กับหุ้น

24 November 2023

แชร์บทความนี้

  • linkedin
  • facebook
  • twitter
  • email

อยากอ่านเพิ่ม?

เราหวังว่าคุณจะได้ประโยชน์ จากบทความของเรา

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับผู้คนอีกหลายแสนคนที่ต้องการวางแผนการเงินและการลงทุนอย่างยั่งยืนด้วยการสมัครรับบทความและบทวิเคราะห์ของเราที่จะส่งตรงถึงอีเมลของคุณ

ตลาดตราสารหนี้กลับมาน่าสนใจอีกครั้ง หลังจากนักลงทุนพยายามหลีกเลี่ยงสินทรัพย์ประเภทนี้ เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำมากกดดันให้ Yield ของตราสารหนี้อยู่ในระดับต่ำอย่างต่อเนื่องมานานหลายปี อย่างไรก็ตาม นับตั้งแต่ปลายปี 2021 ที่ธนาคารกลางหลักของโลกเริ่มใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดเพื่อแก้ปัญหาเงินเฟ้อ สถานการณ์ดังกล่าวก็เปลี่ยนไป

หุ้นหรือตราสารหนี้?

ในปัจจุบัน แม้แต่ตราสารหนี้ที่ปลอดภัยที่สุดยังให้ผลตอบแทนระดับสูง เช่น พันธบัตรสหรัฐอายุ 10 ปีที่ให้ Yield ราว 4.5% และพันธบัตรอังกฤษระยะสั้นที่ให้ Yield 4.6% ขณะที่หุ้นกู้เอกชนส่วนใหญ่ให้ Yield (อ่านเพิ่มเติมได้ใน ศัพท์โลกการลงทุน) สูงกว่านั้นพอสมควร

ผลตอบแทนจากตราสารหนี้ที่อยู่ในระดับสูงขนาดนี้น่าสนใจมากเมื่อเทียบกับหุ้น เพราะโดยเฉลี่ยแล้ว Yield ของบริษัทขนาดใหญ่ในดัชนี FTSE 100 ของอังกฤษจะอยู่ที่ราว 4% 

แล้วนักลงทุนที่ต้องการผลตอบแทนสม่ำเสมอควรเลือกตราสารหนี้หรือหุ้น คำถามนี้อาจตอบได้ยาก เพราะแม้ตราสารหนี้โดยทั่วไปจะให้ Yield มากกว่าหุ้น แต่สถิติบอกว่าหุ้นมักให้เงินปันผลเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และยังมีโอกาสได้ผลตอบแทนจากส่วนต่างราคามากกว่าตราสารหนี้

อย่างไรก็ตาม แม้ Yield ของตราสารหนี้จะเคลื่อนไหวอยู่ตลอด แต่ Coupon หรือดอกเบี้ยจากตราสารหนี้จะคงที่เสมอ ด้วยเหตุนี้ตราสารหนี้จึงได้รับความนิยมจากนักลงทุนที่ต้องการผลตอบแทนสม่ำเสมอ

ในทางกลับกัน เงินปันผลจากหุ้นจะไม่คงที่ เพราะบริษัทจะจ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้นเท่าที่จะทำได้ ขึ้นอยู่กับผลประกอบการในปีนั้นๆ ซึ่งบริษัทโดยทั่วไปก็จะเพิ่มเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้นเป็นประจำตามกำไรที่เพิ่มขึ้น

ดังนั้นหากมองในระยะยาว ประกอบกับสถานการณ์เงินเฟ้อสูงแบบปัจจุบัน หุ้นยังคงเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ขาดไม่ได้ในพอร์ตการลงทุนของคุณ

Key Takeaway คืออะไร?

ปัจจุบันตราสารหนี้ให้ผลตอบแทนมากกว่าหุ้นเป็นครั้งแรกในรอบหลายปี ซึ่งเหมาะสำหรับการลงทุนในระยะสั้น แต่หากมองระยะกลาง-ยาว หุ้นยังมีโอกาสเติบโตมากกว่า และยังสามารถปกป้องผลตอบแทนของคุณจากเงินเฟ้อได้

ด้วยจุดเด่นของสินทรัพย์ทั้ง 2 ประเภท การลงทุนที่ดีจึงอาจจำเป็นต้องมีทั้งหุ้นและตราสารหนี้ เพื่อสร้างสมดุลและบริหารความเสี่ยงให้กับพอร์ต โดยคุณอาจเลือกลงทุนในพอร์ต General Investing ของเราที่มีการกระจายการลงทุนที่ดีในสินทรัพย์หลากหลายประเภทและบริหารพอร์ตตามข้อมูลทางเศรษฐกิจ

📰 ข่าวอื่นๆ ที่น่าสนใจ: ผลประกอบการบริษัทสหรัฐดีกว่าคาด

บริษัทสหรัฐประกาศผลการดำเนินงาน Q3 กันเกือบหมดแล้ว โดย 82% ของบริษัทในดัชนี S&P 500 มีผลประกอบการดีกว่าการคาดการณ์ และกำไรยังเติบโตเป็นครั้งแรกหลังอยู่ในแดบลบ 3 ไตรมาสติดต่อกัน ซึ่งตัวเลขดังกล่าวถือว่าน่าทึ่ง เพราะเมื่อไม่นานมานี้ ยังมีนักวิเคราะห์บางรายมองว่ากำไรบริษัทสหรัฐน่าจะลดลง

หากลงรายละเอียดจะพบว่ากำไรที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่มาจากบริษัทยักษ์ใหญ่เพียงไม่กี่แห่ง เช่น Meta (กลุ่ม Communication Services) และ Amazon (กลุ่ม Consumer Discretionary) อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะตัดทั้ง 2 บริษัทออกจากสมการ อัตราการเติบโตของทั้ง 2 กลุ่มธุรกิจนี้ยังจะขยายตัวถึง 29% และ 23% ตามลำดับ

ตลอดปีที่ผ่านมา นักลงทุนและภาคธุรกิจต่างกังวลว่าเศรษฐกิจอาจกำลังเข้าสู่ Recession และเมื่อบริษัทต่างๆ มองเห็นอุปสรรคในระยะข้างหน้า พวกเขาจะพยายามลดค่าใช้จ่ายให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อเตรียมรับมือกับพายุทางเศรษฐกิจที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

เมื่อพายุเศรษฐกิจพัดผ่านไป รายได้ของบริษัทก็จะปรับตัวสูงขึ้นอีกครั้ง และด้วยต้นทุนที่ต่ำลง พวกเขาก็อาจทำกำไรได้เยอะขึ้นกว่าเดิม โดยเฉพาะบริษัทที่สามารถลด Fixed Cost ได้

ดังนั้น Margin ของบริษัทที่สูงขึ้นนี้น่าจะอยู่ต่อไปอีกระยะหนึ่งซึ่งจะส่งผลดีอย่างมากต่อการเติบโตของบริษัทในระยะยาว

เนื้อหาในส่วนนี้เขียนขึ้นร่วมกับ Finimize

🎓ศัพท์โลกการลงทุน: Yield

Yield คือ ผลตอบแทนที่คุณได้รับจากการลงทุนใดๆ ก็ตาม คล้ายกับดอกเบี้ยที่เราได้รับจากเงินฝากในธนาคาร โดย Yield ของตราสารหนี้ คือ ดอกเบี้ยที่ได้รับจากตราสารหนี้หารด้วยราคาปัจจุบัน สำหรับการลงทุนในหุ้น Yield คือ เงินปันผลที่บริษัทจ่ายให้คุณ หากคุณซื้อหุ้นในราคา 100 บาท และจ่ายปันผลที่ 3 บาทต่อปี Yield ของคุณจะอยู่ที่ 3% ขณะที่การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ รายได้จากค่าเช่าก็คือ Yield ของคุณนั่นเอง


แชร์บทความนี้

  • linkedin
  • facebook
  • twitter
  • email

อยากอ่านเพิ่ม?

เราหวังว่าคุณจะได้ประโยชน์ จากบทความของเรา

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับผู้คนอีกหลายแสนคนที่ต้องการวางแผนการเงินและการลงทุนอย่างยั่งยืนด้วยการสมัครรับบทความและบทวิเคราะห์ของเราที่จะส่งตรงถึงอีเมลของคุณ