Weekly Buzz: 🌏 โอกาสกระจายการลงทุนที่น่าสนใจ นอกสหรัฐ

ตลาดหุ้นสหรัฐอยู่ในช่วงเฟื่องฟูมาตลอดทศวรรษ แต่ถึงแม้จะเป็นตลาดที่น่าเชื่อถือและเป็นที่ยอมรับของนักลงทุนทั่วโลกมากเพียงใด ตลาดสหรัฐอาจไม่ใช่ผู้ชนะได้ตลอดไป แล้วถ้าเราอยากเริ่มมองหาโอกาสในการกระจายการลงทุนไปที่อื่น เราควรเริ่มจากที่ไหน?
ตลาดไหนติดอันดับน่าสนใจบ้าง
การกระจายการลงทุนไปนอกสหรัฐอาจไม่ใช่เรื่องง่ายนัก เพราะสหรัฐเป็นประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ รวมทั้งเป็นผู้นำเข้ารายใหญ่และเป็นแหล่งเงินทุนมหาศาล สหรัฐจึงมักเป็นผู้ที่กำหนดแนวโน้มของตลาดโลก ซึ่งทำให้เป็นเรื่องยากที่จะมองหาการลงทุนในตลาดอื่นที่จะไม่ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจสหรัฐเลย
อย่างไรก็ตาม การศึกษาของ Bridgewater อาจให้แนวทางบางอย่างกับคุณได้ โดย Hedge Fund ยักษ์ใหญ่นี้ได้คำนวณ ‘คะแนนการกระจายการลงทุน’ หรือ ‘Diversification Score’ ในประเทศเศรษฐกิจต่างๆ ในช่วง 25 ปีที่ผ่านมา โดยพิจารณาจากความสัมพันธ์ของตลาดนั้นๆ กับสินทรัพย์และสภาพเศรษฐกิจของสหรัฐ โดยผลการศึกษาพบว่าตลาดจีน ญี่ปุ่น บราซิล และอินเดีย มีลักษณะเฉพาะตัวและเป็นตลาดที่ไม่ได้ขึ้นลงตามตลาดสหรัฐเพียงอย่างเดียว

อีกข้อสรุปหนึ่งจากการศึกษานี้คือ แม้ว่าขนาดของตลาดจะสำคัญต่อความน่าลงทุนแค่ไหน ก็ไม่ได้หมายความว่าตลาดนั้นๆ จะมีศักยภาพในการกระจายการลงทุนที่ดี ตัวอย่างเช่น ตลาดยุโรปและสหราชอาณาจักรมีขนาดใหญ่และสภาพคล่องสูง ก็ไม่ได้ช่วยเรื่องการกระจายการลงทุนมากนัก เนื่องจากทั้งสองประเทศมีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดกับสหรัฐ
เรื่องนี้ส่งผลต่อนักลงทุนอย่างไร?
การกระจายการลงทุนที่แท้จริงไม่ใช่เพียงแค่การเลือกกระจายไปยังหลายๆ ประเทศ เพราะเศรษฐกิจของประเทศเหล่านั้นอาจสัมพันธ์กันมากกว่าที่เราคิด แต่การกระจายการลงทุนที่ดีคือการมองหาตลาดที่ไม่ได้ขึ้นลงไปตามการเคลื่อนไหวของตลาดไหน และสามารถที่จะช่วยชดเชยผลตอบแทนของตลาดสหรัฐในช่วงขาลงได้
เพราะเศรษฐศาสตร์มหภาคทั่วโลกมีความซับซ้อน การกระจายการลงทุนไปทั่วโลกในหลากหลายสินทรัพย์ กลุ่มธุรกิจและภูมิภาคจึงอาจเป็นทางเลือกที่ดีกว่า อย่างเช่น การลงทุนใน พอร์ต General Investing หรือ หากคุณอยากเลือกประเภทสินทรัพย์และจัดสัดส่วนการลงทุนเอง Flexible Portfolio อาจเป็นพอร์ตที่เหมาะสำหรับคุณ
💡Investors’ Corner: ครั้งแรกในรอบ 2 ทศวรรษ ที่ตราสารหนี้ ‘ถูกกว่า’ หุ้น
โดยปกติ การตัดสินใจว่าจะเลือกลงทุนที่ไหนหรือในอะไรมักเป็นเรื่องยาก เช่น เราควรเลือกตราสารหนี้ที่จ่ายดอกเบี้ยอย่างมั่นคง หรือหุ้นที่อาจได้ผลตอบแทนสูงกว่า
การเปรียบเทียบว่าสินทรัพย์ประเภทไหนคุ้มค่าในการลงทุนมากกว่าหรือ ‘ถูกกว่า’ เป็นส่วนสำคัญในการตัดสินใจ แต่มันอาจไม่ตรงไปตรงมาอย่างที่คิด เพราะสินทรัพย์แต่ละประเภทมาพร้อมกับความเสี่ยงพื้นฐานที่ต่างกัน และยังเปลี่ยนแปลงไปตามแต่ละภาวะเศรฐกิจ
'Fed Model' ใช้การเปรียบเทียบระหว่างอัตรากำไรต่อราคาหุ้น (Earning Yields) ของดัชนี S&P 500 กับ อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี เพื่อเทียบความถูกแพงของสองสินทรัพย์นี้ แม้จะไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุด แต่ก็ช่วยให้คุณเห็นภาพคร่าวๆ ได้ โดยในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา Fed Model มักจะแนะนำให้ลงทุนในหุ้น แต่ปัจจุบันสถานการณ์ได้พลิกผันไปแล้ว เพราะพันธบัตรรัฐบาลเริ่มให้ Yield ที่สูงกว่าหุ้น

แม้พันธบัตรจะดูน่าสนใจมากขึ้น แต่การลงทุนในหุ้นยังมีแนวโน้มที่จะให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าเมื่อดูตามข้อมูลในระยะยาว อีกทั้ง Fed Model เป็นการเทียบเฉพาะ Yield ในปัจจุบันเท่านั้น ดังนั้น พอร์ตที่มีสัดส่วนระหว่างหุ้นและตราสารหนี้ที่เหมาะสมจะช่วยลดความเสี่ยงและเพิ่มโอกาสในการสร้างผลตอบแทนให้คุณได้
หากคุณกำลังมองหาโอกาสการลงทุนในช่วงที่สินทรัพย์ประเภทตราสารหนี้ให้ Yield สูงอย่างในปัจจุบัน พอร์ต USD Cash Plus ของเราซึ่งลงทุนในพันธบัตรสหรัฐระยะสั้น (ประเภทสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำมาก) อาจเป็นทางเลือกที่เหมาะสม นอกจากนี้ ใน Flexible Portfolio ของเรายังมี ‘พันธบัตรรัฐบาล’ ประเภทอื่นๆ ที่คุณสามารถเลือกลงทุนได้เช่นกัน
เนื้อหาในส่วนนี้เขียนขึ้นร่วมกับ Finimize
📖 รอบรู้เรื่องลงทุน: TINA และ TARA
ตั้งแต่ช่วงต้นปี 2000 เป็นต้นมา อัตรากำไรต่อราคาหุ้น (Earning Yields) ของหุ้นสหรัฐอยู่ในระดับที่สูงกว่า Yield ของตราสารหนี้มาตลอด ซึ่งเริ่มต้นขึ้นจากการที่ Fed ลดอัตราดอกเบี้ยหลังจากยุคฟองสบู่ดอทคอม และยังทวีคูณขึ้นอีกหลังวิกฤตการเงินปี 2008 เมื่อธนาคารกลางทั่วโลกได้ลดอัตราดอกเบี้ยลงจนเกือบแตะระดับ 0% จนเกิดเป็นแนวความคิด ‘TINA’ ซึ่งย่อมาจาก There Is No Alternative หรือไม่มีทางเลือกอะไรที่ดีไปกว่าหุ้นแล้ว
จนกระทั่งเมื่อไม่นานมานี้เอง ด้วยภาวะเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้นและการใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดทำให้ดอกเบี้ยปรับตัวสูงขึ้นและทำให้ตราสารหนี้กลับมาเป็นสินทรัพย์ที่ดึงดูดนักลงทุนอีกครั้ง จึงเกิดเป็นคำใหม่อย่าง ‘TARA’ ซึ่งย่อมาจาก There Are Real Alternatives หรือมีทางเลือกอื่นจริงๆ นอกจากหุ้นนั่นเอง