Weekly Buzz: 💲 ทำไม Demand เงินดอลลาร์ฯ พุ่งสูงขึ้น?

03 May 2024

แชร์บทความนี้

  • linkedin
  • facebook
  • twitter
  • email

อยากอ่านเพิ่ม?

เราหวังว่าคุณจะได้ประโยชน์ จากบทความของเรา

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับผู้คนอีกหลายแสนคนที่ต้องการวางแผนการเงินและการลงทุนอย่างยั่งยืนด้วยการสมัครรับบทความและบทวิเคราะห์ของเราที่จะส่งตรงถึงอีเมลของคุณ

เมื่อต้นปี 2024 นักลงทุนจำนวนมากคาดหวังว่า Fed จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ ซึ่งจะส่งผลให้เงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลง แต่เรากลับเห็นเงินดอลลาร์ฯ แข็งค่าขึ้นมากกว่า 4% เมื่อเทียบกับเงินสกุลอื่นๆ ทั้งในประเทศพัฒนาแล้ว (DM) และประเทศกำลังพัฒนา (EM) 

อะไรทำให้เงินดอลลาร์ฯ แข็งค่าขึ้น?

สาเหตุแรกที่ต้องพิจารณา คือ เศรษฐกิจสหรัฐยังทนทานต่ออัตราดอกเบี้ยระดับสูงสุดในรอบ 20 ปีได้อย่างน่าประหลาดใจ โดยสามารถขยายตัวอย่างแข็งแกร่งที่ 2.5% เมื่อปี 2023 แม้หลายฝ่ายจะคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะเข้าสู่ภาวะถดถอยเมื่อปีที่แล้ว นอกจากนี้ IMF ยังประเมินว่า เศรษฐกิจสหรัฐจะเติบโตราว 2.7% ในปีนี้ ซึ่งมากกว่าทุกประเทศในกลุ่ม G7 กว่าเท่าตัว โดยปัจจัยเหล่านี้ช่วยเพิ่ม Demand ของสินทรัพย์ทางการเงินต่างๆ ของสหรัฐ จนทำให้ Demand ของเงินดอลลาร์ฯ เพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย

สาเหตุต่อมา คือ ปัญหาเงินเฟ้อในสหรัฐยังคงยืดเยื้อ โดยตัวเลขเงินเฟ้อยังออกมาร้อนแรงกว่าคาดติดต่อกันในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา ทำให้บรรดา Trader เริ่มมองว่า Fed อาจเลื่อนการลดดอกเบี้ยออกไป ส่งผลให้เงินดอลลาร์ฯ แข็งค่าขึ้น ซึ่งสถานการณ์ดอกเบี้ยที่ ‘Higher for Longer’ ยิ่งทำให้เงินดอลลาร์ฯ มีความน่าดึงดูดมากขึ้นสำหรับนักลงทุนทั่วโลก

สาเหตุอีกประการที่ทำให้เงินดอลลาร์ฯ แข็งค่าขึ้น คือ ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ที่เพิ่มสูงขึ้น โดยความขัดแย้งล่าสุด โดยเฉพาะในภูมิภาคตะวันออกกลางและยูเครน สร้างความกังวลให้ตลาดและทำให้นักลงทุนหันไปหาสินทรัพย์ Safe-haven อย่างทองคำและเงินดอลลาร์ฯ

Key Takeaways คือ?

ปัจจัยสนับสนุนข้างต้นทำให้เงินดอลลาร์ฯ ยังมีโอกาสที่จะแข็งค่าขึ้นอีก ซึ่งบรรดา Trader ต่างเก็งกำไรไปในทิศทางดังกล่าว เห็นได้จากการสะสม Position ในตลาด Future (อ่านเพิ่มเติมได้ใน Simply Finance) ที่ค่อนข้าง Bullish เงินดอลลาร์ฯ และ Bearish เงินสกุลหลักอื่นๆ ซึ่งแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดจากเมื่อต้นปีที่ผ่านมาที่พวกเขาเคยคาดหวังว่าเงินดอลลาร์ฯ จะอ่อนค่าลง

ทั้งนี้ หากคุณอยากเพิ่มความแข็งแกร่งของเงินดอลลาร์ฯ ในพอร์ตการลงทุนของคุณ พอร์ต USD Cash Plus ที่อยู่ภายใต้ Flexible Portfolio ของเรา อาจเป็นตัวเลือกที่เหมาะสม เพียงกดเพิ่มพอร์ต USD Cash Plus ภายในแอปของเรา เท่านี้คุณก็สามารถได้ประโยชน์จากพันธบัตรสหรัฐระยะสั้น 0-3 เดือนที่ให้ Yield (ในสกุลเงินดอลลาร์ฯ) 5.3%* ต่อปีและมีความเสี่ยงต่ำมาก 

💡 Investors’ Corner: ความแตกต่างระหว่าง ‘ราคา’ กับ ‘มูลค่า’

การศึกษาวิธีหามูลค่าหุ้นที่หลากหลาย อาจทำให้นักลงทุนมีมุมมองใหม่ๆ เกี่ยวกับการลงทุนในหุ้น เพราะราคากับมูลค่าของหุ้นอาจมีความหมายที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิงในโลกการลงทุน

  • ราคา มักจะมาจากการที่นักลงทุนกำหนด Price Multiple และนำไปคูณกับกำไรของบริษัทเพื่อหาราคา ซึ่ง Price Multiple นี้จะเปลี่ยนแปลงไปตามความคาดหวังของนักลงทุน โดยวิธีคำนวณราคาที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คือ อัตราส่วนราคาตลาดต่อกำไรสุทธิ หรือ P/E Ratio สมมติว่าราคาหุ้นซื้อ-ขายกันที่ P/E Ratio 20 เท่า หมายความว่า นักลงทุนยอมจ่ายเงิน 20 บาท เพื่อกำไรปัจจุบัน 1 บาท
  • มูลค่า การหามูลค่าหุ้นจะต้องพิจารณาถึงปัจจัยอื่นๆ อย่างสินทรัพย์และหนี้สินทั้งหมดของบริษัท ซึ่งจะทำให้นักลงทุนมองเห็นภาพว่าบริษัทนั้นๆ มีมูลค่าที่แท้จริงเท่าไหร่ ไม่ใช่แค่ราคาที่ขึ้นอยู่กับความคาดหวังของตลาดเท่านั้น โดยนักลงทุนระดับตำนานอย่าง Warren Buffett นิยมใช้วิธีนี้ และเคยกล่าวไว้ว่า ‘ราคา คือ สิ่งที่คุณจ่าย แต่มูลค่า คือ สิ่งที่คุณได้รับ’

อย่างไรก็ตาม ราคาและมูลค่าต่างมีประโยชน์ด้วยกันทั้งคู่ โดยสถาบัน CFA ได้ทำการสำรวจนักวิเคราะห์ 2,000 คน พบว่า 88% ใช้ P/E Ratio และ 77% ใช้ Ratio อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการหามูลค่า ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว Ratio ที่ใช้หาราคาหรือมูลค่ามักจะเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกัน แต่บางครั้งก็อาจแตกต่างกันได้ ซึ่งนักลงทุนก็ต้องพิจารณาอย่างละเอียดว่าทำไมถึงเป็นเช่นนั้น

การใช้วิธีที่หลากหลายเพื่อหาราคาหรือมูลค่าหุ้นนั้นเป็นประโยชน์ต่อนักลงทุน ตราบใดที่เรายังตระหนักว่าแต่ละวิธีมีความแตกต่างและข้อจำกัดที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งงานวิจัยส่วนใหญ่บ่งชี้ว่าการผสมผสานวิธีที่หลากหลายอาจเป็นทางเลือกที่เหมาะสมที่สุด

เนื้อหาในส่วนนี้เขียนขึ้นร่วมกับ Finimize

🎓Simply Finance: ตลาด Futures

ในตลาด Futures จะมีการซื้อ-ขายสัญญาล่วงหน้า ซึ่งก็คือการที่ผู้ซื้อหรือผู้ขายสัญญาว่าจะซื้อหรือขายสินทรัพย์ใดๆ ก็ตาม โดยระบุวันที่และราคาไว้ล่วงหน้า โดยการซื้อ-ขายสัญญาล่วงหน้าเกิดขึ้นครั้งแรกในตลาดสินค้าโภคภัณฑ์อย่างข้าวสาลีหรือน้ำมัน แต่ในปัจจุบันได้ขยายไปในตลาดอื่นๆ ด้วย เช่น Cryptocurrency

บรรดา Trader มักใช้สัญญาซื้อ-ขายล่วงหน้าเพื่อป้องกันความเสี่ยง หรือเก็งกำไรจากการเคลื่อนไหวของราคา โดยตลาด Futures เปรียบได้กับลูกแก้ววิเศษแห่งโลกการเงินที่อาจทำให้เราพอมองเห็นอนาคตของตลาดได้ เพราะการซื้อ-ขายสัญญาล่วงหน้าจะอยู่บนความคาดหวังของเหตุการณ์ในอนาคตนั่นเอง


แชร์บทความนี้

  • linkedin
  • facebook
  • twitter
  • email

อยากอ่านเพิ่ม?

เราหวังว่าคุณจะได้ประโยชน์ จากบทความของเรา

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับผู้คนอีกหลายแสนคนที่ต้องการวางแผนการเงินและการลงทุนอย่างยั่งยืนด้วยการสมัครรับบทความและบทวิเคราะห์ของเราที่จะส่งตรงถึงอีเมลของคุณ