Weekly Buzz: ⏰ เร็วเกินไป? สำหรับการลดดอกเบี้ย

08 December 2023

แชร์บทความนี้

  • linkedin
  • facebook
  • twitter
  • email

อยากอ่านเพิ่ม?

เราหวังว่าคุณจะได้ประโยชน์ จากบทความของเรา

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับผู้คนอีกหลายแสนคนที่ต้องการวางแผนการเงินและการลงทุนอย่างยั่งยืนด้วยการสมัครรับบทความและบทวิเคราะห์ของเราที่จะส่งตรงถึงอีเมลของคุณ

ปัจจุบัน นักลงทุนและ Expert จำนวนมากคาดการณ์ว่าธนาคารกลางหลักของโลกจะเริ่มลดอัตราดอกเบี้ยลงในเร็วๆ นี้ อย่างไรก็ตาม องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) กลับไม่ได้คิดเช่นนั้น

เพราะอะไร?

มุมมองเศรษฐกิจโลกล่าสุดของ OECD ระบุว่า เงินเฟ้อที่ยืดเยื้อจะกดดันให้ Fed และธนาคารกลางยุโรป (ECB) ต้องคงอัตราดอกเบี้ยไว้ Higher for Longer กว่าที่ตลาดคาดการณ์ และจะเริ่มมีการลดอัตราดอกเบี้ยลงก็ต่อเมื่อเงินเฟ้อลดลงอย่างชัดเจนเท่านั้น เพราะแม้ Core Inflation ที่ไม่รวมราคาอาหารและพลังงานที่มีความผันผวนสูงจะลดความร้อนแรงลงมาบ้างแล้ว แต่มากกว่าครึ่งหนึ่งของราคาสินค้าอื่นๆ ที่ใช้วัดเงินเฟ้อในสหรัฐ อังกฤษและยุโรปยังอยู่เหนือระดับ 4% ต่อปี

ทั้งนี้ OECD คาดว่า Fed จะเริ่มลดอัตราดอกเบี้ยในช่วงครึ่งหลังของปี 2024 ส่วนยุโรปจะเริ่มลดในเปี 2025 ซึ่งถือว่าช้ากว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ว่าสหรัฐจะเริ่มลดอัตราดอกเบี้ยตั้งแต่เดือน เม.ย. 2024 และยุโรปในเดือน พ.ค. 2024

ทำไมตลาดถึงมองว่าดอกเบี้ยจะลดลงเร็ว?

แม้เงินเฟ้อในยุโรปจะลดลงมาอยู่ที่ 2.4% ซึ่งใกล้เคียงกับระดับเป้าหมายที่ 2% แต่ ECB และธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ยังย้ำอีกว่าจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ ‘Higher for Longer’ อย่างไรก็ตาม นักลงทุนไม่ได้มองแบบเดียวกัน โดยยังกังวลกับการเติบโตของเศรษฐกิจมากกว่า

ข้อมูลเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจยุโรปและอังกฤษอาจขยายตัวในระดับต่ำต่อไปอีกสักระยะ โดย OECD เตือนว่า แม้เศรษฐกิจโลกอาจหลีกเลี่ยง Recession ได้ แต่การเติบโตในหลายประเทศยังคงอ่อนแอ และอาจยังไม่ฟื้นตัวจนกระทั่งปี 2025 เมื่อรายได้ที่แท้จริง (ปรับด้วยเงินเฟ้อ) กลับมาดีขึ้น

ดังนั้นตลาดจึงมองว่าธนาคารกลางหลักของโลกอาจจำเป็นต้องลดอัตราดอกเบี้ยลงเร็วกว่าที่กล่าวไว้ เพื่อไม่ให้การเติบโตของเศรษฐกิจชะลอตัวลงไปมากกว่านี้

เรื่องนี้ส่งผลต่อนักลงทุนอย่างไร?

เป็นเรื่องที่คาดเดาได้ยากว่าตลาดจะปรับมุมมองเกี่ยวกับการลดอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งหรือไม่ เพราะสุดท้ายแล้ว Sentiment ของตลาดปรับเปลี่ยนได้เสมอเหมือนที่ผ่านๆ มา และแม้เงินเฟ้อจะลดความร้อนแรงลงมาบ้างแล้ว แต่ก็ยังคงยืดเยื้ออยู่เหนือระดับเป้าหมายของธนาคารกลางหลายแห่ง

เมื่อยังมีความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจในระยะข้างหน้า สิ่งสำคัญคือ การ Stay Invested ในพอร์ตที่มีการกระจายการลงทุนที่ดี เพราะการจับจังหวะตลาดเป็นวิธีที่ยากกว่ามาก โดยคุณอาจเลือกลงทุนในพอร์ตที่มีการกระจายการลงทุนในหลากหลายสินทรัพย์และภูมิภาค (อย่าง General Investing ของเรา 😎) เพื่อช่วยให้คุณผ่านความผันผวนระยะสั้นไปได้

เนื้อหาในส่วนนี้เขียนขึ้นร่วมกับ Finimize

📰 ข่าวอื่นๆ ที่น่าสนใจ: ทำไมทองคำและ Bitcoin ถึงพุ่งแรง

ตลอด 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา ราคา Bitcoin และทองคำปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยราคา Bitcoin ทะลุ $42,000 ซึ่งสูงสุดในรอบ 20 เดือน ส่วนทองคำขึ้นไปแตะระดับสูงสุดในประวัติศาสตร์ที่กว่า 2,100 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ โดยล่าสุด Stephanie Leung, Group CIO ของเรา ได้แชร์มุมมองเกี่ยวกับเรื่องนี้ในรายการ Asia Business Report ของ BBC ว่าทำไมสินทรัพย์ 2 ประเภทนี้ถึงพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว

ผู้ดำเนินรายการ: ราคาของทั้ง 2 สินทรัพย์พุ่งสูงขึ้นในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา ในขณะที่นักลงทุนคาดการณ์ว่า Fed จะเริ่มลดอัตราดอกเบี้ยลงในปีหน้าหลังขึ้นมา 11 ครั้งตั้งแต่เดือน มี.ค.2022 คำถามคือ อะไรเป็นแรงขับเคลื่อนของการปรับตัวขึ้นครั้งนี้?

Stephanie Leung: มี 2 ปัจจัยที่ทำให้ราคาทองคำและคริปโตพุ่งสูงขึ้น ปัจจัยแรก คือ สภาพคล่อง และปัจจัยที่สอง คือ ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ

ในช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา เราได้เห็นนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากขึ้นจากทั้งจีนและสหรัฐ นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยด้าน Seasonality ที่สภาพตลาดมักจะดีในช่วงเดือน พ.ย. และ ธ.ค. 

ขณะที่ ตลาดตราสารหนี้ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นยังช่วยให้สถานการณ์การเงินผ่อนคลายมากขึ้นในช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา ดังนั้น สภาพคล่องที่เพิ่มมากขึ้น จึงเป็นแรงขับเคลื่อนให้ราคาทองคำและคริปโตพุ่งสูงขึ้น

ปัจจัยถัดมา คือ ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ เพราะในปัจจุบัน ทั้งทองคำและคริปโตซื้อ-ขายกันด้วยเงินดอลลาร์สหรัฐ ดังนั้นการที่เงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลง จึงเป็นแรงขับเคลื่อนราคาของทั้ง 2 สินทรัพย์ให้ปรับตัวสูงขึ้น นอกจากนี้ การที่ตลาดกำลัง Priced In ความเป็นไปได้ที่ Fed จะลดอัตราดอกเบี้ยอย่างเร็วที่สุดในเดือน เม.ย. ปีหน้า ทำให้เงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่นๆ รวมถึงสินทรัพย์อย่างทองคำและคริปโต

ผู้ดำเนินรายการ: คุณคิดว่าการปรับตัวขึ้นครั้งนี้จะไปได้ถึงไหน?

Stephanie Leung: หากมองที่สภาพคล่อง (อ่านเพิ่มเติมได้ใน ศัพท์โลกการลงทุน) ซึ่งยังเป็นแรงสนับสนุนที่ดี และน่าจะดีต่อเนื่องไปจนถึงไตรมาสแรกของปีหน้า ส่วนประเด็นค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ มุมมองของเราค่อนข้างเป็นกลาง เพราะ Fed อาจไม่ได้ลดอัตราดอกเบี้ยเร็วอย่างที่ตลาดคาด เมื่อนำทั้ง 2 ปัจจัยมาผนวกกัน คริปโตและทองคำยังน่าจะปรับตัวขึ้นต่อไปได้อีก แต่อาจไม่มากอย่างที่เราเห็นในช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา 

ถอดบทสัมภาษณ์จากรายการ Asia Business Report ของ BBC วันที่ 5 ธ.ค. 2023

ยังไม่หมดเท่านี้! Group CIO ของเรายังให้สัมภาษณ์ในรายการของ Bloomberg เพื่อไขประเด็นร้อนที่นักลงทุนให้ความสนใจ เช่น เศรษฐกิจสหรัฐจะสามารถ Soft Landing ได้หรือไม่ หรือ มีโอกาสอะไรบ้างในเศรษฐกิจจีนที่กำลังเติบโต 

🎓ศัพท์โลกการลงทุน: สภาพคล่อง

ในทางเศรษฐศาสตร์ สภาพคล่อง หมายถึง จำนวนเงินสดที่เข้าถึงได้ในระบบเศรษฐกิจ โดยธนาคารกลาง เช่น Fed หรือ ECB สามารถเพิ่มหรือลด Supply ของเงินในระบบผ่านนโยบายการเงินต่างๆ เช่น การขึ้นหรือลดอัตราดอกเบี้ย เพื่อหาจุดสมดุลให้มีสภาพคล่องเพียงพอต่อการเติบโตของเศรษฐกิจ โดยไม่ทำให้เงินเฟ้อพุ่งสูงขึ้น


แชร์บทความนี้

  • linkedin
  • facebook
  • twitter
  • email

อยากอ่านเพิ่ม?

เราหวังว่าคุณจะได้ประโยชน์ จากบทความของเรา

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับผู้คนอีกหลายแสนคนที่ต้องการวางแผนการเงินและการลงทุนอย่างยั่งยืนด้วยการสมัครรับบทความและบทวิเคราะห์ของเราที่จะส่งตรงถึงอีเมลของคุณ