Weekly Buzz: 🏅 ศึกชิงที่ 3 เศรษฐกิจใหญ่สุดของโลก

การแข่งขันชิงตำแหน่งประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลกกำลังเข้มข้น โดยล่าสุด ญี่ปุ่นเสียอันดับ 3 ของโลกให้กับเยอรมนีไปแล้ว แต่นักลงทุนยังต้องจับตาอินเดียที่มีศักยภาพจะแซงหน้าทั้งคู่
เกิดอะไรขึ้น?
แม้เศรษฐกิจญี่ปุ่นจะมีมูลค่าลดลงจาก 6.3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2012 มาอยู่ที่ 4.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2023 แต่สาเหตุหลักมาจากเงินเยนที่อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐตลอดช่วงเวลาดังกล่าว ซึ่งที่จริงแล้ว หากตัดปัจจัยค่าเงินออกไป เศรษฐกิจญี่ปุ่นจะเติบโตราว 12% ตลอดระยะเวลา 11 ปี
ถ้าหากเงินเยนแข็งค่าขึ้น ญี่ปุ่นก็อาจชิงอันดับ 3 กลับคืนจากเยอรมนีได้ นอกจากนี้ ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ยังอาจขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2007 ซึ่งอาจทำให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นหลุดพ้นจากภาวะเงินฝืดที่กินเวลายาวนานหลายทศวรรษ
ขณะที่ เยอรมนียังคงเผชิญอุปสรรคสำคัญ โดยผลผลิตในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นจุดแข็งของเยอรมนี ปรับตัวลดลง 1.6% MoM ในเดือน ธ.ค. และต่ำกว่าในช่วงก่อนเกิด COVID-19 ถึง 10%

ทั้งนี้ ญี่ปุ่นและเยอรมนีต่างเผชิญปัญหาเดียวกัน คือ มีสัดส่วนผู้สูงอายุสูงและจำนวนประชากรที่ลดลงเรื่อยๆ ซึ่งทั้ง 2 ปัจจัยกำลังฉุดรั้งการเติบโตทางเศรษฐกิจของทั้ง 2 ประเทศ
แต่สถานการณ์ในอินเดียกลับแตกต่างออกไป เพราะไม่เพียงจำนวนประชากรของอินเดียจะแซงหน้าจีนเมื่อปีที่แล้วเท่านั้น แต่คนอินเดียส่วนใหญ่ยังอยู่ในวัยหนุ่มสาวและวัยทำงาน ซึ่งเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้นักวิเคราะห์หลายรายมองว่าเศรษฐกิจอินเดียกำลังจะแซงหน้าเยอรมนีในเร็วๆ นี้

เรื่องนี้ส่งผลต่อนักลงทุนอย่างไร?
การแข่งขันครั้งนี้เปรียบเสมือนการวิ่งมาราธอน และอันดับก็จะเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ซึ่งเป็นธรรมชาติของตลาดและเศรษฐกิจโลก
หากคุณไม่แน่ใจว่าใครจะชนะการแข่งขัน คุณอาจพิจารณาลงทุนให้ครอบคลุมทุกประเทศที่กล่าวมา โดยเลือกลงทุนในพอร์ตที่มีการกระจายการลงทุนที่ดีในหลายสินทรัพย์ทั่วโลก อย่างพอร์ต General Investing ของเรา ที่ให้คุณสามารถมีส่วนร่วมกับการเติบโตของเศรษฐกิจโลกโดยรวมได้ง่ายเพียงปลายนิ้ว
💡 Investors’ Corner: เครื่องทำนายตลาดอาจวางอยู่บนโต๊ะกาแฟของคุณ
ในบางกลุ่มธุรกิจ การได้ขึ้นปกนิตยสารชื่อดังและได้รับการยกย่องว่า ‘The Next Big Thing’ อาจเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าธุรกิจดังกล่าวกำลังเนื้อหอมสุดๆ แต่ในโลกการลงทุน อาจหมายความ Trend เหล่านี้ได้ถึงจุดอิ่มตัวแล้ว
เราเรียกสิ่งนี้ว่า ‘Magazine Indicator’ โดยลองย้อนกลับไปดูหน้าปกนิตยสาร BusinessWeek ในปี 1979 ที่พาดหัวว่า ‘อวสานตลาดหุ้น’ แค่ไม่นานก่อนที่ตลาดจะกลับตัวเป็นขาขึ้นอย่างร้อนแรง ส่วนนิตยสาร The Economist ในปี 2003 พาดหัวว่า ‘สิ้นสุดยุคน้ำมัน’ ในขณะที่ราคาน้ำมันดิบเคลื่อนไหวอยู่ที่ 25 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ก่อนราคาจะปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องจนมาอยู่ที่ 145 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล

เหตุการณ์เหล่านี้ไม่ใช่เพียงเรื่องบังเอิญเท่านั้น แต่เป็นภาพสะท้อนจุดสูงสุดของ Sentiment ตลาดในเวลานั้นด้วย โดยเราอาจใช้ประโยชน์จาก Magazine Indicator เพื่อสังเกตว่าตลาดคิดอย่างไรในระยะข้างหน้า เพราะโดยธรรมชาติแล้ว ตลาดและนักลงทุนมักจะคิดล่วงหน้าเสมอ (อ่านเพิ่มเติมได้ใน Simply Finance)
ราคาสินทรัพย์ในปัจจุบัน ส่วนใหญ่ไม่ได้สะท้อนสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน แต่กลับสะท้อนสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตมากกว่า และเมื่อสินทรัพย์ใดได้รับความนิยมจนราคาพุ่งขึ้น หรือลดลงจนกระทั่งได้ขึ้นปกนิตยสารชื่อดัง ก็มีโอกาสที่ Trend เหล่านั้นจะกลายเป็นอดีตไปแล้ว
แม้จะเป็นเรื่องสนุกในการเชื่อมโยงเหตุการณ์ในอดีต แต่อย่าลืมว่า Indicator นี้ไม่ได้ถูกต้องเสมอ ดังนั้นแม้เราไม่ควรที่จะลงทุนตามหน้าปกนิตยสารใดๆ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ไม่ใช่เรื่องเสียหายที่เราจะเรียนรู้จากสิ่งเหล่านี้เช่นกัน
เนื้อหาในส่วนนี้เขียนขึ้นร่วมกับ Finimize
🎓Simply Finance: Forward-looking Market

นักลงทุน รวมถึง Trader มักจะตัดสินใจบนความคาดหวังในอนาคตมากกว่าเหตุการณ์ในอดีตหรือปัจจุบัน สิ่งเหล่านี้คือ Forward-looking Market หรือการที่ตลาดมักมองล่วงหน้าเสมอ ซึ่งทำให้บางบริษัทในตลาดหลักทรัพย์มีราคาหุ้นอยู่ในระดับสูง เช่น หุ้นกลุ่มเทคโนโลยี เป็นต้น
การทำนาย Trend ในอนาคตจะต้องใช้ Indicator หลายชนิด รวมถึงข้อมูลทางเศรษฐกิจ และเทคนิคการวิเคราะห์หลายรูปแบบ ซึ่งจะช่วยให้นักลงทุนประเมินความเสี่ยงและโอกาสที่จะมาถึงในระยะข้างหน้าได้ เปรียบเสมือนการเดินเรือที่ต้องอาศัยการพยากรณ์อากาศ แทนที่จะออกไปเผชิญกับคลื่นลูกยักษ์แบบไม่รู้อนาคต