Weekly Buzz: ยุโรปทุ่มเงินกระตุ้นเศรษฐกิจนับล้านล้านยูโร 🇪🇺

28 March 2025

แชร์บทความนี้

  • linkedin
  • facebook
  • twitter
  • email

อยากอ่านเพิ่ม?

เราหวังว่าคุณจะได้ประโยชน์ จากบทความของเรา

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับผู้คนอีกหลายแสนคนที่ต้องการวางแผนการเงินและการลงทุนอย่างยั่งยืนด้วยการสมัครรับบทความและบทวิเคราะห์ของเราที่จะส่งตรงถึงอีเมลของคุณ

เยอรมนีเพิ่งอนุมัติแผนกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่านับล้านล้านยูโร และนี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น ซึ่งในขณะที่ สหรัฐกำลังเปลี่ยนแปลงท่าทีที่มีต่อภูมิภาคนี้ ฝั่งสหภาพยุโรป (EU) ได้เริ่มทำการอัดฉีดเม็ดเงินจำนวนมหาศาล ซึ่งหากคุณเอาแต่เฝ้าระวังข่าวสารจากฝั่งอเมริกา นี่คือสิ่งที่คุณอาจพลาดไปในฝั่งยุโรป

ยุโรปเดินหน้าทุ่มงบประมาณ

แผน ReArm Europe ของ EU คือ การให้เงินกู้ 150,000 ล้านยูโร (162,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) แก่ชาติสมาชิก เพื่อยกระดับความมั่นคงในภูมิภาค แต่เงินก้อนนี้ไม่ได้ส่งผลดีต่อกลุ่มธุรกิจกลาโหมเท่านั้น แต่ยังถือเป็นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่ที่สามารถช่วยขับเคลื่อนนวัตกรรม การจ้างงาน และการเติบโตในหลายภาคส่วน โดยนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า หากการใช้จ่ายด้านกลาโหมเพิ่มขึ้น 1.5% ก็อาจช่วยหนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจของ EU ได้ถึง 0.9% ถึง 1.5% ต่อปี

เยอรมนี ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่มีวินัยทางคลังมากที่สุดแห่งหนึ่งของยุโรป กำลังก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำในการลงทุน 1.2 ล้านล้านยูโร (1.3 ล้านล้านดอลลาร์ฯ) เพื่อใช้จ่ายด้านกลาโหมและโครงสร้างพื้นฐานตลอดทศวรรษหน้า โดยความเคลื่อนไหวครั้งนี้ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญสำหรับประเทศที่เคยขึ้นชื่อเรื่องความประหยัด และด้วยสัดส่วนหนี้สาธารณะเพียง 63% ของ GDP (เทียบกับสหรัฐฯ ที่ 124%) ทำให้เยอรมนีมีศักยภาพทางการเงินเพียงพอที่จะขับเคลื่อนแผนดังกล่าวได้

ทั้งนี้ บรรดานักเศรษฐศาสตร์ ประเมินว่าแผนดังกล่าวจะช่วยเพิ่ม GDP ของเยอรมนีได้ 1% ต่อปี และ 0.7% สำหรับ GDP ของยูโรโซน ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่ค่อนข้างสำคัญสำหรับทวีปยุโรปที่เศรษฐกิจชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง

Key Takeaway

เมื่อรัฐบาลทุ่มเงินมหาศาลขนาดนี้ นี่ก็อาจไม่ใช่แค่เรื่องภูมิรัฐศาสตร์เพียงอย่างเดียว เพราะทุกอุตสาหกรรมก็อาจได้รับอานิสงส์ ไม่ว่าจะเป็นบริษัทด้านกลาโหม โครงสร้างพื้นฐาน หรือเทคโนโลยี ต่างก็มีโอกาสได้ประโยชน์จากงบประมาณนับล้านล้านยูโรนี้ ซึ่งปัจจุบัน นักลงทุนได้เริ่มให้ความสนใจตลาดยุโรปมากขึ้น ท่ามกลางความผันผวนของตลาดหุ้นสหรัฐ ทำให้ตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวขึ้นแล้วราว 13% YTD

อย่างไรก็ตาม นักลงทุนต้องไม่ลืมว่าการลงทุนไม่ใช่เรื่องของการเลือกข้าง คุณจึงไม่จำเป็นต้องเลือกระหว่างหุ้นสหรัฐกับหุ้นยุโรป โดยพอร์ต General Investing ของเรายังคงมีการกระจายการลงทุนที่ดีในยุโรป ควบคู่ไปกับตลาดอื่นๆ ทั่วโลก ทำให้คุณสามารถคว้าโอกาสได้จากทุกภูมิภาค

📰 ข่าวอื่นๆ ที่น่าสนใจ: สงครามการค้าผ่อนคลาย ตลาดหายใจได้โล่งขึ้น

การที่รัฐบาลสหรัฐส่งสัญญาณว่าอาจผ่อนปรนนโยบายภาษีนำเข้าที่มีกำหนดบังคับใช้ในวันที่ 2 เม.ย. นี้ ได้สร้างความโล่งใจให้กับนักลงทุน โดยความเคลื่อนไหวเชิงบวกนี้ส่งผลให้ดัชนีหลักของสหรัฐพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 2 สัปดาห์ และช่วยดึงดัชนี S&P 500 ให้กลับขึ้นมาจากโซนปรับฐาน (อ่านเพิ่มเติมได้ใน Simply Finance)

บรรยากาศเชิงบวกนี้เกิดขึ้นหลังจากที่นักลงทุนมีความกังวลเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับภาวะ Recession ของเศรษฐกิจสหรัฐในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยได้รับแรงกดดันจากความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ลดลง อย่างไรก็ตาม ข้อมูลเศรษฐกิจล่าสุดกลับสะท้อนภาพที่แตกต่างออกไป และแสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจสหรัฐยังคงแข็งแกร่ง โดยตัวเลขผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานยังคงทรงตัวที่ 223,000 ราย ขณะที่ ยอดขายบ้านในสหรัฐฟื้นตัวขึ้น 4% ซึ่งบ่งชี้ว่า การชะลอตัวในเดือน ม.ค. อาจเป็นเพียงความผันผวนตามฤดูกาล มากกว่าการเริ่มต้นของภาวะชะลอตัวทางเศรษฐกิจ

เหตุการณ์เหล่านี้เป็นเครื่องเตือนใจเราว่า ความรู้สึกของตลาดสามารถเปลี่ยนแปลงไปตามพาดหัวข่าวต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว โดยการ Stay Invested ท่ามกลางความผันผวน มักให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าการตอบสนองต่อทุกความเคลื่อนไหว เพราะหากคุณลงทุนอย่างต่อเนื่อง คุณจะไม่มีทางพลาดโอกาสในวันที่ตลาดฟื้นตัว

เนื้อหาในส่วนนี้เขียนขึ้นร่วมกับ Finimize

🎓 Simply Finance: การปรับฐานของตลาด

Market Correction หรือการปรับฐานของตลาด เป็นคำที่ใช้เรียกเหตุการณ์ที่ดัชนีใดๆ ก็ตาม ปรับตัวลงอย่างน้อย 10% จากจุดสูงสุดครั้งล่าสุด เปรียบเสมือนการ ‘พักหายใจ’ ของตลาด หลังจากผ่านช่วงที่มีความคึกคักหรือมีการเก็งกำไรมากเกินไป โดยแม้ว่าการปรับฐานอาจทำให้นักลงทุนรู้สึกไม่สบายใจ แต่จริงๆ แล้ว เหตุการณ์เหล่านี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของวัฏจักรตลาดที่ ‘ปกติและมีประโยชน์’ ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว ภาวะนี้มักกินเวลาหลายสัปดาห์ ก่อนที่แนวโน้มขาขึ้นในระยะยาวจะกลับมาอีกครั้ง


แชร์บทความนี้

  • linkedin
  • facebook
  • twitter
  • email

อยากอ่านเพิ่ม?

เราหวังว่าคุณจะได้ประโยชน์ จากบทความของเรา

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับผู้คนอีกหลายแสนคนที่ต้องการวางแผนการเงินและการลงทุนอย่างยั่งยืนด้วยการสมัครรับบทความและบทวิเคราะห์ของเราที่จะส่งตรงถึงอีเมลของคุณ