Weekly Buzz: 💪หรือหุ้นยุโรปกำลังฟื้นตัว?

07 June 2024

แชร์บทความนี้

  • linkedin
  • facebook
  • twitter
  • email

อยากอ่านเพิ่ม?

เราหวังว่าคุณจะได้ประโยชน์ จากบทความของเรา

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับผู้คนอีกหลายแสนคนที่ต้องการวางแผนการเงินและการลงทุนอย่างยั่งยืนด้วยการสมัครรับบทความและบทวิเคราะห์ของเราที่จะส่งตรงถึงอีเมลของคุณ

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ได้ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2019 โดยการตัดสินใจครั้งนี้จะเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญให้ตลาดหุ้นยุโรป ซึ่งเริ่มมีแนวโน้มที่ดีมาก่อนหน้านี้แล้ว

ยุค ‘Mini Renaissance’ ของตลาดหุ้นยุโรป?

ทั้งนี้ ตลาดหุ้นยุโรปได้เริ่มปรับตัวขึ้น เพราะภาคเอกชนมีผลการดำเนินงานที่แข็งแกร่งใน Q1/2024 ทำให้ช่องว่างระหว่างตลาดหุ้นยุโรปกับตลาดหุ้นสหรัฐเริ่มแคบลง โดยดัชนี STOXX 600 ของยุโรป ปรับตัวสูงขึ้น 8.6% YTD ตามหลังดัชนี S&P 500 ของสหรัฐที่ปรับตัวขึ้น 10.5% YTD

ปัจจุบัน ตลาดเริ่มมี Sentiment ที่เป็นบวกมากขึ้น โดยในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา เม็ดเงินลงทุนได้เริ่มไหลเข้าตลาดหุ้นยุโรปเพิ่มขึ้น แต่ก็ยังถือว่าไม่มากนัก ทั้งในแง่ของจำนวนและความเร็ว เมื่อเทียบกับ Sentiment ที่ดีขึ้น

อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจที่ยุโรปยังต้องพยายามดึงดูดนักลงทุนต่อไป เพราะในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ภูมิภาคนี้ได้รับความนิยมน้อยที่สุดจากบรรดากองทุนที่ใช้กลยุทธ์ ‘Buy & Hold’ ซึ่งเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ เช่น สงครามในยูเครน วิกฤติพลังงาน เงินเฟ้อและดอกเบี้ยสูง รวมถึงเศรษฐกิจที่เติบโตค่อนข้างต่ำ

ทั้งนี้ เม็ดเงินลงทุนสะสมสุทธิในยุโรปแทบจะไม่เพิ่มขึ้นเลยนับตั้งแต่ปี 2020 ซึ่งถือว่าต่ำที่สุดในโลก แต่ปัจจุบัน คาดกันว่าเศรษฐกิจยุโรปจะกลับมาเติบโตอีกครั้ง ดังนั้น นักลงทุนจึงเริ่มกลับเข้ามาซื้อหุ้นในกลุ่มธุรกิจที่มักทำผลงานได้ดีในช่วงที่เศรษฐกิจขยายตัว

เรื่องนี้ส่งผลต่อนักลงทุนอย่างไร?

ปัจจุบัน ดัชนี STOXX 600 มีค่า P/E ล่วงหน้า (อ่านเพิ่มเติมได้ใน Simply Finance) อยู่ที่ 13.5 เท่า ซึ่งต่ำกว่าเกือบทุกภูมิภาค ดังนั้น หุ้นยุโรปจึงมีความน่าดึงดูด หากเศรษฐกิจกลับมาขยายตัวและสามารถควบคุมเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับเป้าหมายได้ อย่างไรก็ตาม นักลงทุนยังคงต้องจับตาดูต่อไปว่าปัจจัยดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้จริงหรือไม่ในระยะข้างหน้า

ทั้งนี้ หากคุณต้องการกระจายการลงทุนไปทั่วโลก พอร์ต General Investing ของเรา อาจเป็นตัวเลือกที่เหมาะสม เพราะมีการกระจายการลงทุนที่ดีในหลากหลายสินทรัพย์ ภูมิภาคและกลุ่มธุรกิจ ที่สำคัญยังมีการบริหาร Asset Allocation ให้เหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจโดยอัตโนมัติด้วย

เนื้อหาในส่วนนี้เขียนขึ้นร่วมกับ Finimize

💡 Investors’ Corner: ผลกระทบจากค่าธรรมเนียมสูง

สำหรับการลงทุน ค่าธรรมเนียมถือเป็นปัจจัยที่สำคัญมาก เพราะเงินที่ดูเล็กน้อยในตอนแรกอาจกลายเป็นเงินก้อนใหญ่ได้ในระยะยาว

หากคุณเลือกลงทุนในพอร์ตที่มีค่าธรรมเนียมต่ำ คุณจะมีโอกาสได้กำไรเต็มเม็ดเต็มหน่วยมากขึ้น (ผลตอบแทนหลังหักค่าธรรมเนียม) เงินลงทุนของคุณจึงมีโอกาสสร้างผลตอบแทนทบต้นมากขึ้นตามไปด้วย ซึ่งพลังของผลตอบแทนทบต้น คือ ปัจจัยสำคัญที่จะช่วยเพิ่มความมั่งคั่งของนักลงทุนในระยะยาว

เราจะลองยกตัวอย่าง การลงทุนด้วยเงิน 200,000 บาทเป็นเวลา 20 ปี บนสมมติฐานว่าการลงทุนนี้จะให้ผลตอบแทนปีละ 6% โดยเราจะลองเปรียบเทียบค่าธรรมเนียมของกองทุนรวม กับพอร์ต General Investing ของเรา

หากคุณลงทุนในกองทุนรวม คุณอาจต้องเสียค่าธรรมเนียมบริหารจัดการที่สูงกว่า รวมถึงอาจมีค่าธรรมเนียมซื้อ (Front-end) ค่าธรรมเนียมขาย (Back-end) และอื่นๆ ที่อาจเรียกเก็บเพิ่มเติม โดยต้นทุนที่เพิ่มขึ้นนี้จะส่งผลกระทบต่อพลังของผลตอบแทนทบต้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ 

ดังนั้น บนสมมติฐานที่ทั้ง 2 พอร์ตให้ผลตอบแทนเท่ากัน การลงทุนในพอร์ตที่มีค่าธรรมเนียมต่ำอย่าง General Investing จะให้ผลตอบแทนหลังหักค่าธรรมเนียมสูงกว่ากองทุนรวมถึง 169,757 บาท หรือ 48% ในระยะเวลา 20 ปี

จากเหตุผลที่กล่าวมาทั้งหมด นักลงทุนจึงควรเลือกลงทุนในพอร์ตที่มีค่าธรรมเนียมต่ำ เพื่อให้เงินลงทุนของคุณเติบโตได้เร็วขึ้นในระยะยาว

🎓 Simply Finance: ค่า P/E ล่วงหน้า

Forward Price-to-Earnings (P/E) Ratio หรือ ค่า P/E ล่วงหน้า เป็นวิธีประเมินมูลค่าของบริษัท ด้วยการนำราคาหุ้นในปัจจุบันมาเปรียบเทียบกับคาดการณ์กำไรต่อหุ้นในอนาคต โดยค่า P/E ล่วงหน้าที่สูงขึ้น หมายความว่า นักลงทุนยินดีที่จะจ่ายเงินมากขึ้นเพื่อซื้อหุ้นตัวนี้ เพราะเชื่อมั่นว่าบริษัทจะเติบโตขึ้นอีกในระยะข้างหน้า ในทางกลับกัน ค่า P/E ล่วงหน้าที่ลดลง อาจบ่งชี้ว่า นักลงทุนมีความเชื่อมั่นน้อยลงนั่นเอง


แชร์บทความนี้

  • linkedin
  • facebook
  • twitter
  • email

อยากอ่านเพิ่ม?

เราหวังว่าคุณจะได้ประโยชน์ จากบทความของเรา

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับผู้คนอีกหลายแสนคนที่ต้องการวางแผนการเงินและการลงทุนอย่างยั่งยืนด้วยการสมัครรับบทความและบทวิเคราะห์ของเราที่จะส่งตรงถึงอีเมลของคุณ