Weekly Buzz: 🔍 เลือก ‘กลุ่มธุรกิจอนาคตไกล’ อย่างไรดี?
“กำไรก้อนใหญ่ไม่ได้มาจากการซื้อๆ ขายๆ แต่มาจากการรอให้เป็น” - Charlie Munger 🙏🏽
การเจอหุ้นที่ดีถือเป็นเรื่องดี แต่หากเราเจอกลุ่มธุรกิจที่มีโอกาสเติบโตในระยะยาวถือเป็นเรื่องที่ดีกว่า เพราะสุดท้ายแล้ว หากกลุ่มธุรกิจใดเติบโต บริษัทในกลุ่มก็จะได้รับประโยชน์ตามไปด้วย เช่นเดียวกับนักลงทุนที่มีการกระจายการลงทุนในกลุ่มธุรกิจเหล่านี้ เพราะ ‘เมื่อน้ำขึ้น เรือทุกลำก็จะลอยขึ้นเช่นเดียวกัน’
และนี่คือ 4 ลักษณะของกลุ่มธุรกิจที่มีศักยภาพเติบโตในระยะยาว ซึ่งนักลงทุนควรให้ความสำคัญ
1. เติบโตอย่างยั่งยืน
หากบริษัทใดสามารถสร้างกระแสเงินสดได้ดี พวกเขาก็สามารถนำเงินไปขยายธุรกิจได้โดยไม่ต้องกู้ยืม ซึ่งปัจจัยนี้มีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงดอกเบี้ยสูงแบบปัจจุบัน และสมมติว่ามีกลุ่มธุรกิจที่เติบโตด้วยอัตราเฉลี่ย 5% ต่อปี ซึ่งอาจดูไม่น่าสนใจเท่า 15% ต่อปี แต่ถ้ากลุ่มธุรกิจนี้เติบโตที่ 5% ได้อย่างต่อเนื่องในระยะยาว แม้แต่ในช่วง Recession ถือว่าน่าสนใจมาก
2. มี Economies of Scale
ยิ่งบริษัทเติบโตมากขึ้นเท่าไหร่ ต้นทุนในการผลิตต่อหน่วยก็จะยิ่งถูกลงเท่านั้น สิ่งนี้เรียกว่า Economies of Scale โดยหลังจากที่บริษัทลงทุนครั้งแรกเพื่อขยายธุรกิจ พวกเขาสามารถใช้ประโยชน์จากการลงทุนครั้งนั้นเพื่อขับเคลื่อนการเติบโตต่อไป ซึ่งจะทำให้ต้นทุนต่อหน่วยยิ่งถูกลงเรื่อยๆ และจะทำให้กำไรโตเร็วกว่ายอดขายในที่สุด
บริษัทเหล่านี้มักมี Fixed Cost (ต้นทุนคงที่) สูงกว่า แต่มี Variable Cost (ต้นทุนผันแปร) ต่ำกว่า ตัวอย่างเช่น แพลตฟอร์มเรียนออนไลน์จะต้องใช้เงินจ้าง Software Engineer และนักวิเคราะห์เพื่อพัฒนาแอปขึ้นมา สมมุติว่าแอปมีลูกค้าเพียง 1 รายอาจจะทำให้ต้นทุนเฉลี่ยดูแพง แต่เมื่อมีลูกค้ามากขึ้นต้นทุนเฉลี่ยต่อหน่วยก็จะยิ่งถูกลงตามไปด้วย เพราะไม่จำเป็นไม่ต้องจ้างพนักงานเพิ่ม
3. สินค้ามูลค่าสูง แต่ต้นทุนต่ำ
กลุ่มธุรกิจที่ยอดเยี่ยมจะสามารถผลิตสินค้าต้นทุนต่ำแต่มีมูลค่าสูงได้ เช่น น้ำหอมยี่ห้อโปรดของคุณที่มีกลิ่นเฉพาะตัวซึ่งหาจากที่อื่นไม่ได้ แต่ต้นทุนของส่วนผสมน้ำหอมมักมีสัดส่วนที่น้อยมากเมื่อเทียบกับต้นทุนการผลิตทั้งหมด โดยสินค้าประเภทนี้จะมี Margin ที่สูง ทำให้บริษัทมีอำนาจในการกำหนดราคาสินค้าได้อย่างเต็มที่
4. ผู้เล่นหน้าใหม่เข้ามาแข่งขันด้วยยาก
กลุ่มธุรกิจที่มี High Barriers to Entry (อ่านเพิ่มเติมได้ใน ศัพท์โลกการลงทุน) จะทำให้ผู้เล่นหน้าใหม่เข้ามาแข่งขันด้วยยาก บริษัทในกลุ่มธุรกิจนี้จึงไม่ค่อยเสียส่วนแบ่งตลาดให้คู่แข่งรายใหม่ และสามารถทำกำไรได้ค่อนข้างคงที่ เช่น กลุ่มธุรกิจสินค้า Luxury ที่มีคนหลงใหลใน Brand สูงมาก ซึ่งเป็นอุปสรรคของผู้เล่นหน้าใหม่ที่จะเข้ามาแข่งขัน และทำให้บริษัทที่มีชื่อเสียงแล้วสามารถเติบโตบน Margin ที่สูงนี้ได้อย่างยั่งยืน
Key Takeaway คืออะไร?
การลงทุนในรายกลุ่มธุรกิจแทนที่จะเลือกหุ้นรายตัว อาจเป็นกลยุทธ์การลงทุนระยะยาวที่ดี โดยจะต้องพิจารณา 4 ลักษณะดังกล่าวตามการเปลี่ยนแปลงของตลาด ตัวอย่างเช่น ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา อัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำมาก ทำให้ต้นทุนการกู้ยืมต่ำไปด้วย แต่การที่ธนาคารกลางหลักของโลกคงอัตราดอกเบี้ยไว้ ‘Higher for Longer’ ทำให้สถานการณ์ดังกล่าวเปลี่ยนไป
ดังนั้นการกระจายการลงทุนในกลุ่มธุรกิจและสินทรัพย์ที่หลากหลายอาจเป็นกลยุทธ์ที่เหมาะสม เช่น Flexible Portfolio ของเราที่มี ETF ให้เลือกมากกว่า 60 ตัว เพื่อให้คุณสามารถมีส่วนร่วมกับการเติบโตในหลากหลายกลุ่มธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็น Fintech, Healthcare, Semiconductor หรือ Cloud Computing
📰 ข่าวอื่นๆ ที่น่าสนใจ: ทองคำแตะระดับสูงสุดในรอบ 6 เดือน
ทองคำยังเป็น Safe-haven ที่นักลงทุนมองหาในช่วงที่เศรษฐกิจเผชิญกับความไม่แน่นอน เพราะเป็นสินทรัพย์ที่ช่วยลดความเสี่ยงท่ามกลางสถานการณ์เงินเฟ้อสูง ความวุ่นวายทางภูมิรัฐศาสตร์ และค่าเงินอ่อนค่า อย่างไรก็ตาม ทองคำไม่ได้ให้เงินปันผลเหมือนหุ้นหรือดอกเบี้ยเหมือนตราสารหนี้ ดังนั้นเมื่ออัตราดอกเบี้ยพุ่งสูงขึ้น นักลงทุนก็มักหันไปสนใจสินทรัพย์ที่มีโอกาสให้ผลตอบแทนมากกว่า
ในทางกลับกัน เมื่ออัตราดอกเบี้ยเป็นขาลง ทองคำจะกลับมาได้รับความนิยมอีกครั้ง ซึ่งปัจจุบัน ตลาดเริ่มมองว่าจะมีการลดอัตราดอกเบี้ยในปีหน้า ทำให้นักลงทุนเริ่มทยอยสะสมทองคำ จนราคาทองคำปรับตัวขึ้นไปอยู่เหนือระดับ 2,000 ดอลลาร์ และอาจขึ้นไปทำจุดสูงสุดที่ 2,075 ดอลลาร์ ซึ่งเคยเกิดขึ้นเมื่อปี 2020
แม้เงินเฟ้อจะลดลงมาบ้างแล้วและเศรษฐกิจยังคงแข็งแกร่ง แต่ความเสี่ยงที่เงินเฟ้ออาจยืดเยื้อและเศรษฐกิจอาจชะลอตัวลงมากกว่านี้ก็ยังคงมีอยู่เช่นกัน ซึ่งในสถานการณ์เช่นนี้ สินทรัพย์อย่างหุ้นและตราสารหนี้อาจสร้างผลตอบแทนได้ไม่ดีนัก คุณจึงอาจพิจารณาการมีสัดส่วนทองคำไว้ในพอร์ต เพื่อบริหารความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจในระยะข้างหน้า
เนื้อหาในส่วนนี้เขียนขึ้นร่วมกับ Finimize
🎓ศัพท์โลกการลงทุน: Barrier to Entry
Barrier to Entry คือ อุปสรรคที่ทำให้บริษัทหน้าใหม่เข้ามาแข่งขันกับบริษัทเดิมในตลาดได้ยาก ตัวอย่างเช่น ภาคการผลิตที่ต้องใช้เงินลงทุนมหาศาลในการสร้างโรงงาน กฎระเบียบที่เข้มงวดในกลุ่มธุรกิจเภสัชกรรม หรือแม้แต่ Brand Loyalty ในกลุ่มธุรกิจสินค้า Luxury อุปสรรคเหล่านี้จะทำให้ผู้เล่นเดิมในตลาดไม่ต้องเผชิญการแข่งขันจากผู้เล่นหน้าใหม่มากนัก ซึ่งจะส่งผลให้พวกเขามีความมั่นคงและกำไรมากขึ้นตามไปด้วย