Weekly Buzz: 🌏 ตลาดเกิดใหม่น่าดึงดูดมากขึ้น

02 August 2024

แชร์บทความนี้

  • linkedin
  • facebook
  • twitter
  • email

อยากอ่านเพิ่ม?

เราหวังว่าคุณจะได้ประโยชน์ จากบทความของเรา

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับผู้คนอีกหลายแสนคนที่ต้องการวางแผนการเงินและการลงทุนอย่างยั่งยืนด้วยการสมัครรับบทความและบทวิเคราะห์ของเราที่จะส่งตรงถึงอีเมลของคุณ

ความขัดแย้งด้านภูมิรัฐศาสตร์ระหว่างประเทศมหาอำนาจของโลก ทำให้เกิดความไม่แน่นอนต่างๆ และเพิ่มความเสี่ยงแก่นักลงทุน แต่ในขณะเดียวกันก็ทำให้การลงทุนในตลาดเกิดใหม่ (EM) มีความสำคัญมากขึ้นในฐานะเครื่องมือป้องกันความเสี่ยงในพอร์ต อ้างอิงจากผลสำรวจประจำปีของ Invesco ที่สำรวจกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติกว่า 80 แห่งทั่วโลก

แรงขับเคลื่อนกำลังเปลี่ยนไป

เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากมาตรการกีดกันทางการค้าระหว่างสหรัฐกับจีน บริษัทข้ามชาติหลายแห่งจึงพยายามกระจายฐานการดำเนินงานไปยังตลาดเกิดใหม่มากขึ้น ซึ่งสิ่งนี้น่าจะช่วยกระตุ้นการเติบโตในประเทศเหล่านี้ได้ โดย 2 ใน 3 ของผู้ตอบแบบสำรวจคาดว่า ตลาดเกิดใหม่จะให้ผลตอบแทนดีกว่าหรือเทียบเท่าตลาดพัฒนาแล้วในช่วง 3 ปีต่อจากนี้

ทั้งนี้ ตราสารหนี้ในตลาดเกิดใหม่กำลังได้รับความนิยมเป็นพิเศษ โดยมากกว่าครึ่งของผู้ตอบแบบสำรวจ เลือกใช้ตราสารหนี้เพื่อเพิ่มสัดส่วนในประเทศกำลังพัฒนา เช่น อินเดียที่กลายเป็นตัวเลือกลำดับแรก โดย 88% ระบุว่า สนใจที่จะเพิ่มสัดส่วนของตราสารหนี้อินเดีย พุ่งขึ้นจากเมื่อ 2 ปีก่อนที่ 66% 

อีกแนวโน้มที่น่าจะช่วยกระตุ้นการลงทุนในตลาดเกิดใหม่ คือ การเติบโตของแนวคิด ‘Nearshoring’ หรือการย้ายฐานการผลิตมาใกล้ประเทศของตน (อ่านเพิ่มเติมได้ใน Simply Finance) และ ‘Regionalisation’ หรือการรวมกลุ่มระหว่างประเทศภายในภูมิภาคเดียวกัน เพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งและความเปราะบางทางการค้าที่ยิ่งเห็นได้ชัดในช่วง COVID-19 ที่ผ่านมา โดยปัจจุบัน บริษัทต่างๆ กำลังให้ความสำคัญกับความยืดหยุ่นของระบบ Supply Chain มากขึ้น

Key Takeaways

การปรับกลยุทธ์ของภาคเอกชน เป็นการย้ำให้เห็นถึงโอกาสในตลาดเกิดใหม่ และความสำคัญของการกระจายการลงทุน อย่างไรก็ตาม นักลงทุนต้องไม่ลืมว่าการลงทุนในตลาดเกิดใหม่นั้นมาพร้อมกับความเสี่ยงที่มากกว่า แม้ว่าผลสำรวจจะช่วยสนับสนุนเหตุผลของการลงทุนในตลาดเกิดใหม่ แต่ก็แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการมีพอร์ตที่สมดุลด้วยเช่นกัน

หากคุณอยากมีส่วนร่วมกับการเติบโตในตลาดเกิดใหม่ พอร์ต General Investing ของเราอาจเป็นตัวเลือกที่เหมาะสม เพราะมีการกระจายการลงทุนที่ดีในหลากหลายภูมิภาค สินทรัพย์และกลุ่มธุรกิจ ที่สำคัญยังมีการบริหาร Asset Allocation ให้เหมาะสมกับแต่ละภาวะเศรษฐกิจโดยอัตโนมัติ

📰 ข่าวอื่นๆ ที่น่าสนใจ: เศรษฐกิจขนาดใหญ่สุดของโลกยิ่งเติบโตมากขึ้น

เศรษฐกิจสหรัฐ ซึ่งมีขนาดใหญ่สุดในโลก เติบโตได้อย่างน่าแปลกใจใน Q2 ที่ 2.8% ซึ่งเป็น 2 เท่าของการเติบโตใน Q1 โดยแรงขับเคลื่อนหลักของการเติบโตในครั้งนี้ คือ ผู้บริโภคชาวอเมริกัน

ตัวเลขการใช้จ่ายของผู้บริโภคเพิ่มขึ้นราว 2.3% ถึงแม้จะอยู่ในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยสูงและอาจส่งผลต่อการตัดสินใจจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภค โดยตัวเลขการเติบโตระดับนี้ถือเป็นข่าวดีสำหรับเศรษฐกิจสหรัฐ ซึ่งดูเหมือนจะอยู่บนเส้นทางที่ดีในการทำ Soft Landing (การที่อัตราดอกเบี้ยในระดับสูงทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวลงเพียงพอที่จะทำให้เงินเฟ้อลดความร้อนแรงลง แต่ไม่มากจนทำให้เศรษฐกิจเข้าสู่ Recession) โดยคุณสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ใน CIO Insights: H2/2024 Market Outlook 

ข้อมูลการเติบโตทางเศรษฐกิจครั้งนี้ช่วยบรรเทาความกังวลให้กับตลาดที่กำลังผันผวน โดยเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว หุ้นหลายตัวถูกเทขายอย่างหนัก เพราะนักลงทุนเริ่มกังวลว่าผลกำไรของบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่อาจไม่สอดคล้องกับเงินลงทุนด้าน AI จำนวนมหาศาล ซึ่งการเทขายหุ้นถือเป็นเรื่องปกติหลังจากตลาดที่เป็นขาขึ้นมาอย่างยาวนาน โดยการขายทำกำไรของนักลงทุนบางกลุ่มอาจสร้างความตื่นตระหนกแก่นักลงทุนคนอื่นๆ ในวงกว้างขึ้นจนนำไปสู่การเทขายหุ้นไปในทิศทางเดียวกัน โดยไม่คำนึงถึงภาพรวมที่ใหญ่กว่า

เมื่อเผชิญกับความผันผวนของตลาด นักลงทุนควรพิจารณาถึงเป้าหมายระยะยาวของตัวเอง โดยการปรับฐานของตลาดอาจเป็นโอกาสที่ดีสำหรับนักลงทุนที่จะเพิ่มการลงทุนในหุ้นที่ตัวเองสนใจลงทุนในระยะยาว ซึ่งมีราคาถูกลง นอกจากนี้ การปรับฐานยังเป็นการทดสอบด้วยว่าพอร์ตโดยรวมของคุณมีการกระจายการลงทุนที่ดีมากน้อยแค่ไหน

เนื้อหาในส่วนนี้เขียนขึ้นร่วมกับ Finimize

🎓 Simply Finance: Nearshoring

Nearshoring หมายถึง การที่บริษัทย้ายฐานการดำเนินงานไปยังประเทศหรือภูมิภาคใกล้เคียงกับประเทศบ้านเกิด แทนที่จะเป็นประเทศหรือภูมิภาคที่ห่างไกล ยกตัวอย่างเช่น บริษัทในสหรัฐอาจย้ายฐานการผลิตจากทวีปเอเชีย ซึ่งปกติแล้วมีต้นทุนในการดำเนินงานต่ำกว่า มายังภูมิภาคลาตินอเมริกา ซึ่งการทำ Nearshoring อาจทำให้บริษัทมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น แต่ก็ช่วยให้ระบบ Supply Chain ของพวกเขาอยู่ใกล้กว่าและควบคุมได้ง่ายกว่า


แชร์บทความนี้

  • linkedin
  • facebook
  • twitter
  • email

อยากอ่านเพิ่ม?

เราหวังว่าคุณจะได้ประโยชน์ จากบทความของเรา

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับผู้คนอีกหลายแสนคนที่ต้องการวางแผนการเงินและการลงทุนอย่างยั่งยืนด้วยการสมัครรับบทความและบทวิเคราะห์ของเราที่จะส่งตรงถึงอีเมลของคุณ