Weekly Buzz: ‘ทองคำ-แร่เงิน’ เลือกอะไรดี หรือต้องมีทั้งคู่? ✨

ความกังวลเรื่องนโยบายภาษีนำเข้าของ Trump ส่งผลให้ราคาทองคำพุ่งทำสถิติใหม่ทะลุ 3,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ หรือ 15% YTD แต่ในขณะที่ทุกสายตาจับจ้องไปที่ทองคำ ยังมีโลหะมีค่าอีกประเภทที่มักถูกมองข้าม แต่ให้ผลตอบแทนโดดเด่นไม่แพ้กัน นั่นก็คือแร่เงิน (Silver)
บทบาทของ ‘แร่เงิน’
ทองคำและเงินอาจถูกจัดวางไว้คู่กันในร้านเครื่องประดับ แต่ในโลกการลงทุน โลหะมีค่าทั้ง 2 ชนิดนี้มีบทบาทที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน แม้ทั้งคู่จะถือเป็นสินทรัพย์ Safe-haven ในช่วงที่เศรษฐกิจเผชิญความไม่แน่นอน แต่แร่เงินนอกจากจะมีสถานะเป็น ‘Store of Value’ แล้ว ยังเป็นวัตถุดิบสำคัญในอุตสาหกรรมต่างๆ ตั้งแต่แผงโซลาร์ รถยนต์ไฟฟ้า ไปจนถึงอุปกรณ์ทางการแพทย์และอิเล็กทรอนิกส์
การที่แร่เงินมีราคาเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องอาจไม่ใช่แนวโน้มระยะสั้น เพราะนอกจากจะเป็นวัตถุดิบสำคัญในอุตสาหกรรมต่างๆ แล้ว การที่โลกของเรากำลังเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุคพลังงานสะอาดยังส่งผลให้ Demand ของแร่เงินเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม ปัจจัยดังกล่าวอาจส่งผลให้ราคาของแร่เงินขึ้นอยู่กับความผันผวนของเศรษฐกิจโลกมากกว่าทองคำ
Key Takeaway
หากคุณต้องการความมั่นคง ทองคำอาจเป็นทางเลือกที่ปลอดภัยกว่า เพราะมีความผันผวนน้อยกว่า มีสภาพคล่องสูงกว่า และยังเป็นสินทรัพย์ Safe-haven ที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดในโลก แต่หากคุณมองหาการเติบโต แร่เงินอาจเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ เพราะมีบทบาททั้งในภาคอุตสาหกรรมและการลงทุน แต่ก็มาพร้อมกับความผันผวนที่สูงกว่า
สำหรับนักลงทุน เราอาจไม่จำเป็นต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง เพราะการมีสัดส่วนของทั้งทองคำและแร่เงินอาจช่วยให้พอร์ตของคุณมีความสมดุล โดยคุณสามารถเลือกลงทุนในโลหะมีค่าทั้ง 2 ประเภทนี้ได้ง่ายๆ ผ่าน Flexible Portfolio ของเรา
เนื้อหาในส่วนนี้เขียนขึ้นร่วมกับ Finimize
💡 Investors’ Corner: ความกังวลทางเศรษฐกิจ vs. กิจกรรมทางเศรษฐกิจ
ผู้บริโภคในสหรัฐเริ่มลดการใช้จ่าย ภาคการผลิตชะลอตัว และความเชื่อมั่นในภาคธุรกิจยังปรับตัวลดลง นอกจากนี้ คนอเมริกันยังรู้สึกกังวลเรื่องภาระหนี้มากที่สุดนับตั้งแต่ปี 2020 แล้วปัจจัยเหล่านี้จะส่งผลต่อการลงทุนของคุณอย่างไร?
ก่อนอื่น นักลงทุนต้องทำความเข้าใจก่อนว่าข้อมูลเศรษฐกิจมีด้วยกัน 2 ประเภท ได้แก่
- Soft Data – ผลสำรวจหรือดัชนีที่สะท้อนความรู้สึกของผู้คนที่มีต่อเศรษฐกิจ ซึ่งในปัจจุบันดูค่อนข้างอ่อนแอ
- Hard Data – ข้อมูลเชิงปริมาณที่วัดจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งยังคงแข็งแกร่ง โดยล่าสุด ข้อมูลในตลาดแรงงานของสหรัฐ ยังแสดงให้เห็นว่า การจ้างงานยังคงเติบโตต่อเนื่อง ขณะที่ ดัชนี Weekly Economic Index ซึ่งติดตามข้อมูลความถี่สูง เช่น ยอดค้าปลีกและการใช้ไฟฟ้า ยังบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐเติบโตได้ดีที่เฉลี่ย 2.5% ในไตรมาสที่ผ่านมา

แน่นอนว่าความรู้สึกของผู้คนสามารถส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจได้จริง หากภาคธุรกิจลังเลที่จะลงทุน หรือประชาชนเริ่มรัดเข็มขัดเพราะกังวล พฤติกรรมเหล่านี้อาจส่งผลให้เศรษฐกิจชะลอตัวได้ในที่สุด นอกจากนี้ ยังมีประเด็นที่เราต้องจับตามองอย่างใกล้ชิดคือ นโยบายเศรษฐกิจของทรัมป์ ซึ่งคุณสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ใน CIO Insights: ยอมเจ็บวันนี้ เพื่อผลลัพธ์ที่ดีในวันหน้า
ทั้งนี้ การกระจายการลงทุนในหลากหลายสินทรัพย์ กลุ่มธุรกิจและภูมิภาค จะช่วยลดความเสี่ยงจากการพึ่งพาเศรษฐกิจเพียงแห่งเดียว และการเพิ่มสินทรัพย์ปลอดภัยอย่างทองคำหรือแร่เงิน ก็สามารถช่วยปกป้องพอร์ตของคุณในช่วงที่ตลาดผันผวนได้ สิ่งสำคัญคือ การไม่พลาดโอกาสต่างๆ ที่เกิดขึ้นในตลาด ซึ่งหลักการเหล่านี้ได้ถูกนำมาใช้ในการออกแบบพอร์ต General Investing ของเรา 😎
📖 รอบรู้เรื่องลงทุน: Gold-silver Ratio

นักลงทุนมักเปรียบเทียบราคาทองคำและแร่เงินด้วย Gold-silver Ratio ซึ่งหมายถึงน้ำหนักของแร่เงินที่ต้องใช้เพื่อซื้อทองคำ 1 ออนซ์ โดยอัตราส่วนนี้จะเปลี่ยนแปลงไปตามกลไกตลาด โดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ประมาณ 60:1 ในปัจจุบัน แต่สามารถผันผวนและขึ้นไปได้ถึง 120:1 ในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ ซึ่งหากอัตราส่วนนี้อยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับสถิติในอดีต ก็อาจเป็นสัญญาณว่าแร่เงินอาจถูกประเมินมูลค่าต่ำเกินไปเมื่อเทียบกับทองคำ