Weekly Buzz: 🧭 จะฝ่าความผันผวนในตลาดได้อย่างไร?

14 June 2024

แชร์บทความนี้

  • linkedin
  • facebook
  • twitter
  • email

อยากอ่านเพิ่ม?

เราหวังว่าคุณจะได้ประโยชน์ จากบทความของเรา

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับผู้คนอีกหลายแสนคนที่ต้องการวางแผนการเงินและการลงทุนอย่างยั่งยืนด้วยการสมัครรับบทความและบทวิเคราะห์ของเราที่จะส่งตรงถึงอีเมลของคุณ

บางครั้งความผันผวนในตลาดอาจทำให้นักลงทุนรู้สึกเหมือนขึ้นรถไฟเหาะ แต่การปรับตัวลงของตลาดในแต่ละครั้งมีความแตกต่างกันออกไป และหากคุณลงทุนในพอร์ตที่มีการกระจายการลงทุนที่ดีในหลากหลายสินทรัพย์ กลุ่มธุรกิจและภูมิภาค (เหมือนพอร์ต General Investing ของเรา😎) ความผันผวนระยะสั้นก็อาจส่งผลกระทบเพียงเล็กน้อยเท่านั้น หากคุณยังคงยึดมั่นการลงทุนในระยะยาว

อย่างไรก็ตาม การทำความเข้าใจรูปแบบการปรับตัวลงของตลาดในลักษณะต่างๆ เช่น Pullback (ย่อ) Correction (ปรับฐาน) Reversal (กลับตัว) และ Bear Market (ตลาดหมี) อาจช่วยให้คุณควบคุมอารมณ์ได้ดีขึ้นเมื่อเผชิญกับความผันผวนของตลาด

รูปแบบการปรับตัวลงของตลาด

  • Pullback (ย่อ): การปรับตัวลงในระยะสั้นและค่อนข้างเบา ไม่เกิน 10% จากจุดสูงสุดครั้งล่าสุด

การย่อมักเกิดขึ้นเป็นปกติในช่วงที่ตลาดอยู่ในเทรนด์ Bullish (อ่านเพิ่มเติมได้ใน Simply Finance) และมักจะเกิดขึ้นไม่นาน โดยทั่วไปแล้ว ตลาดมีโอกาสน้อยมากที่จะไม่ย่อตัวลงเลยภายใน 1 ปี เช่น เหตุการณ์ในเดือน ก.พ. 2021 ที่ดัชนี NASDAQ ของสหรัฐ ย่อตัวลงราว 8% เนื่องจากความกังวลเรื่อง Yield ตราสารหนี้และเงินเฟ้อ แต่ก็กลับมาฟื้นตัวได้หลังจากนั้นไม่นาน

  • Correction (ปรับฐาน): การปรับตัวลงราวๆ 10-20% ซึ่งอาจกินเวลาหลายสัปดาห์หรือหลายเดือน

การปรับฐานเป็นสัญญาณของการเปลี่ยนแปลง Sentiment ในตลาด แต่ก็ไม่ได้เป็นเครื่องบ่งชี้ว่า เทรนด์กำลังจะกลับตัว โดยในเดือน ก.ย. 2020 ดัชนี S&P 500 ของสหรัฐ ได้ปรับฐานลงกว่า 10% ท่ามกลางความกังวลเรื่องราคาหุ้นที่ Overvalued (สูงเกินพื้นฐาน) และการกลับมาระบาดอีกครั้งของ COVID-19 แต่หลังจากผ่านไปไม่กี่สัปดาห์ ตลาดก็กลับมาฟื้นตัวได้อีกครั้ง

  • Reversal (กลับตัว): การเปลี่ยนแปลงทิศทางของเทรนด์ เช่น เทรนด์ขาขึ้นกลายเป็นเทรนด์ขาลง หรือกลับกัน

การกลับตัวแสดงให้เห็นการเปลี่ยนทิศทางของเทรนด์ราคาหุ้นและปัจจัยพื้นฐานที่ขับเคลื่อนตลาด เช่น ในเดือน มี.ค. 2020 ตลาดหุ้นทั่วโลกได้ปรับตัวลดลงอย่างรุนแรงเพราะ COVID-19 โดยดัชนี S&P 500 ร่วงลงไปมากกว่า 30% แต่ต่อมา นโยบายการเงินการคลังของรัฐบาลช่วยให้ตลาดฟื้นตัวและกลับสู่เทรนด์ขาขึ้นได้ภายในเดือน เม.ย. 2020

  • Bear market (ตลาดหมี): การปรับตัวลงมากกว่า 20% ซึ่งอาจกินเวลานานหลายเดือนหรือหลายปี

ลักษณะของตลาดหมี คือ นักลงทุนจะมี Sentiment แง่ลบค่อนข้างนานและจะเทขายหุ้นอย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่ตกต่ำ ตัวอย่างที่ดีที่สุด คือ วิกฤติการเงินโลกที่เริ่มขึ้นในปี 2007 ทำให้ราคาหุ้นปรับตัวลดลงอย่างรุนแรงและยาวนาน ท่ามกลางการถดถอยของสภาพเศรษฐกิจโดยรวม

กลยุทธ์ฝ่าความผันผวนในตลาด

เป็นเรื่องสำคัญที่นักลงทุนไม่ควรตื่นตระหนกกับเหตุการณ์ในระยะสั้น แต่ควรพิจารณาถึงระยะเวลาและความรุนแรงของการปรับตัวลง รวมถึงปัจจัยพื้นฐานที่ส่งผลต่อ Sentiment โดยรวมของตลาดมากกว่า

การลงทุนอย่างสม่ำเสมอด้วยวิธี Dollar-cost Averaging จะช่วยลดความเสี่ยงของการการจับจังหวะผิดพลาด และจะช่วยให้คุณได้ประโยชน์จากความผันผวนของตลาด เพราะการที่เราซื้อหุ้นได้จำนวนมากขึ้นในช่วงราคาต่ำ และซื้อหุ้นได้จำนวนน้อยลงในช่วงราคาสูง จะช่วยให้คุณสามารถลดต้นทุนเฉลี่ยต่อหุ้นได้ในระยะยาว

🎓 Simply Finance: เทรนด์ตลาด

Market Trend หรือเทรนด์ตลาด คือ ทิศทางการเคลื่อนไหวของตลาดในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง เปรียบได้กับกระแสน้ำที่จะไหลไปในทิศทางเดียวกัน เช่นเดียวกับเทรนด์ของตลาด ไม่ว่าจะเป็น Bullish (ขาขึ้น) Bearish (ขาลง) หรือ Sideway (เป็นกลาง) ซึ่งเทรนด์เหล่านี้อาจอยู่ต่อเนื่องนานหลายวัน หลายสัปดาห์ หลายเดือนหรือหลายปี โดยจะขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น สภาพเศรษฐกิจ Sentiment ของนักลงทุน หรือเหตุการณ์สำคัญในระดับโลก


แชร์บทความนี้

  • linkedin
  • facebook
  • twitter
  • email

อยากอ่านเพิ่ม?

เราหวังว่าคุณจะได้ประโยชน์ จากบทความของเรา

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับผู้คนอีกหลายแสนคนที่ต้องการวางแผนการเงินและการลงทุนอย่างยั่งยืนด้วยการสมัครรับบทความและบทวิเคราะห์ของเราที่จะส่งตรงถึงอีเมลของคุณ