Weekly Buzz: 🏠 อคติ ‘Home Bias’ ที่อาจส่งผลเสียต่อพอร์ตของคุณ

21 June 2024

แชร์บทความนี้

  • linkedin
  • facebook
  • twitter
  • email

อยากอ่านเพิ่ม?

เราหวังว่าคุณจะได้ประโยชน์ จากบทความของเรา

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับผู้คนอีกหลายแสนคนที่ต้องการวางแผนการเงินและการลงทุนอย่างยั่งยืนด้วยการสมัครรับบทความและบทวิเคราะห์ของเราที่จะส่งตรงถึงอีเมลของคุณ

แม้โลกของการลงทุนจะกว้างใหญ่มาก แต่นักลงทุนส่วนใหญ่มักไม่กล้าออกไปลงทุนต่างประเทศ ซึ่งเป็นเรื่องปกติของคนเราที่จะมักจะเลือกของที่อยู่ใกล้ตัวมากกว่าไกลตัว โดยนักจิตวิทยาเรียกอาการนี้ว่า ‘Home Bias’ ซึ่งอาจส่งผลกระทบอย่างมากต่อพอร์ตการลงทุนของคุณ

อะไรทำให้เกิด Home Bias

  • หลีกเลี่ยงความเสี่ยง: บางคนอาจคิดว่าการลงทุนต่างประเทศเป็นเรื่องเสี่ยงมากกว่า พวกเขาจึงมักเลือกลงทุนกับบริษัทในประเทศที่พวกเขารู้จักดี
  • กฎระเบียบและค่าธรรมเนียม: การลงทุนต่างประเทศอาจดูซับซ้อน และยิ่งการลงทุนดูยุ่งยากมากขึ้นเท่าไหร่ ก็จะยิ่งดึงดูดนักลงทุนน้อยลงเท่านั้น นอกจากนี้ การลงทุนต่างประเทศอาจมีค่าธรรมเนียมสูงและยิบย่อย แต่แพลตฟอร์ม (อย่าง StashAway!😎) สามารถทำให้ค่าธรรมเนียมต่ำลง และทำให้การลงทุนเป็นเรื่องง่ายที่สุดสำหรับคุณ
  • ความไม่เท่าเทียมด้านข้อมูล: นักลงทุนบางรายอาจเชื่อว่าพวกเขาสามารถเข้าถึงข้อมูลบริษัทในประเทศได้ดีกว่า แต่ความเป็นจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้นเสมอไป เพราะปัจจุบัน ข้อมูลหุ้นเกือบทั่วโลกอยู่บนอินเทอร์เน็ต ซึ่งทุกคนสามารถเข้าถึงได้อย่างง่ายดาย
  • ความเคยชิน: บางครั้งคนเราก็มักทำอะไรตามความเคยชิน ทำให้นักลงทุนบางรายอาจมีสัดส่วนการลงทุนในบางประเทศ บางสินทรัพย์ หรือบางกลุ่มธุรกิจมากเกินไปหรือน้อยเกินไป ปัญหานี้แก้ได้ด้วยการรีวิวพอร์ตของตัวเองเป็นระยะ หรือหากคุณเป็นนักลงทุนที่ StashAway เรามีเทคโนโลยี ERAA™ ที่คอยติดตามข้อมูลเศรษฐกิจและบริหาร Asset Allocation ให้เหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันโดยอัตโนมัติ 

Home Bias ส่งผลอย่างไรต่อการลงทุน?

ผลกระทบของ Home Bias จะขึ้นอยู่กับว่านักลงทุนอยู่ในประเทศไหนและช่วงเวลาใด ลองดูตัวอย่างแรกจากสหรัฐ แม้ว่าตลาดหุ้นสหรัฐมี Market Cap (อ่านเพิ่มเติมได้ใน Simply Finance) ประมาณ 50% ของตลาดหุ้นโลก แต่งานวิจัยฉบับหนึ่งพบว่า บรรดานักลงทุนอเมริกันมีสัดส่วนหุ้นสหรัฐในพอร์ตเฉลี่ยมากถึง 85%

แน่นอนว่าอาการ Home Bias ของนักลงทุนอเมริกัน ส่งผลดีต่อพอร์ตของพวกเขาในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ตลาดยังเต็มไปด้วยความผันผวน และการนำไข่ทั้งหมดใส่ไว้ในตะกร้าใบเดียวก็ยังเป็นเรื่องที่ค่อนข้างเสี่ยง คราวนี้เรามาลองดูอีกตัวอย่างจากประเทศอังกฤษ

GDP ของอังกฤษมีสัดส่วนเพียง 3% ของ GDP โลก และตลาดหุ้นอังกฤษยังมีขนาดแค่ 4% ของตลาดโลก อย่างไรก็ตาม พอร์ตนักลงทุนอังกฤษมีสัดส่วนของหุ้นอังกฤษเฉลี่ยราว 25% ซึ่งแสดงว่ากระจุกตัวมากกว่าในสหรัฐพอสมควร ดังนั้น อาการ Home Bias ของนักลงทุนอังกฤษอาจส่งผลกระทบแตกต่างจากนักลงทุนอเมริกัน

สำหรับประเทศไทยเองมีสัดส่วนใน GDP โลกไม่ถึง 1% แต่สัดส่วนการลงทุนในประเทศนั้นมีมากกว่าครึ่ง แสดงให้เห็นว่านักลงทุนในประเทศไทยยังคงมี Home Bias ที่สูงกว่าทั้งสองประเทศที่กล่าวมาอยู่พอสมควร

Key Takeaways คือ?

สรุปสั้นๆ คือ อย่านำไข่ทั้งหมดใส่ไว้ในตะกร้าใบเดียว และการกระจายการลงทุนในหลากหลายสินทรัพย์ (หุ้น, ตราสารหนี้, สินค้าโภคภัณฑ์) กลุ่มธุรกิจและภูมิภาค จะช่วยให้พอร์ตของคุณมีความสมดุลและได้ผลตอบแทนสม่ำเสมอมากขึ้น

วิธีปฏิบัติโดยทั่วไปในตลาด คือ การแบ่งสัดส่วนลงทุนตาม Market Cap (กระจายการลงทุนในประเทศต่างๆ ตามขนาดของมูลค่าตลาด) ซึ่งจะช่วยให้พอร์ตของคุณมีความสมดุลและหลากหลาย สำหรับวิธีที่ง่ายกว่านั้น คือ การลงทุนในพอร์ต General Investing ของเรา ซึ่งมีการกระจายการลงทุนที่ดีในหลากหลายสินทรัพย์ กลุ่มธุรกิจและภูมิภาค

เนื้อหาในส่วนนี้เขียนขึ้นร่วมกับ Finimize

🎓 Simply Finance: Market Cap

Market Capitalisation หรือเรียกสั้นๆ ว่า Market Cap คือ มูลค่าหุ้นทั้งหมดของบริษัทใดบริษัทหนึ่งในตลาด คำนวณโดยการนำจำนวนหุ้นทั้งหมดมาคูณกับราคาหุ้นในปัจจุบัน ทำให้นักลงทุนสามารถเปรียบเทียบขนาดของบริษัทดังกล่าวกับบริษัทอื่นๆ ที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ได้ เช่นเดียวกัน Market Cap ของตลาดหุ้นประเทศใดประเทศหนึ่ง ก็จะแสดงให้เห็นความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจและความสำคัญของตลาดนั้นๆ ในตลาดโลกได้


แชร์บทความนี้

  • linkedin
  • facebook
  • twitter
  • email

อยากอ่านเพิ่ม?

เราหวังว่าคุณจะได้ประโยชน์ จากบทความของเรา

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับผู้คนอีกหลายแสนคนที่ต้องการวางแผนการเงินและการลงทุนอย่างยั่งยืนด้วยการสมัครรับบทความและบทวิเคราะห์ของเราที่จะส่งตรงถึงอีเมลของคุณ