Weekly Buzz: 🚀 จะหาหุ้นโตหลายเด้งได้อย่างไร?

24 May 2024

แชร์บทความนี้

  • linkedin
  • facebook
  • twitter
  • email

อยากอ่านเพิ่ม?

เราหวังว่าคุณจะได้ประโยชน์ จากบทความของเรา

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับผู้คนอีกหลายแสนคนที่ต้องการวางแผนการเงินและการลงทุนอย่างยั่งยืนด้วยการสมัครรับบทความและบทวิเคราะห์ของเราที่จะส่งตรงถึงอีเมลของคุณ

คุณไม่ต้องเสียดายโอกาสลงทุนในหุ้นบางตัวที่ราคาพุ่งทะยานขึ้นหลายเท่าอย่างรวดเร็ว เพราะถ้าหากคุณลงทุนในพอร์ตที่มีการกระจายการลงทุนที่ดี คุณก็จะได้รับประโยชน์จากหุ้นเหล่านี้อยู่แล้ว

ความเป็นจริงแล้ว จะมีหุ้นเติบโตหลายเด้งเกิดขึ้นในตลาดเสมอ หากคุณสงสัยว่าอะไรทำให้หุ้นเหล่านี้แตกต่างจากหุ้นตัวอื่นๆ นี่คือ 4 คุณสมบัติของหุ้น 446 ตัวที่ให้ผลตอบแทนดีที่สุดในตลาดจากงานวิจัยที่ใช้เวลานับ 10 ปี

  1. การเติบโตอย่างแข็งแกร่งอาจไม่ได้ดีที่สุดเสมอไป น่าแปลกใจว่าการเติบโตอย่างรวดเร็วอาจไม่ใช่สิ่งจำเป็นสำหรับการทำผลตอบแทนให้ชนะตลาด โดย 63% ของบริษัทเหล่านี้มีรายได้ต่อปีเติบโตน้อยกว่า 20% ตลอดระยะเวลา 10 ปี และ 33% ของบริษัทเหล่านี้ยังมีทั้งรายได้และกำไรเติบโตน้อยกว่า 20% ต่อปี
  2. Margin อาจสำคัญกว่า การเติบโตของ Margin (รายได้หักด้วยรายจ่าย) มีความสำคัญมาก โดยในปี 2012 บริษัทที่มี EBIT หรือกำไรก่อนหักดอกเบี้ยและภาษี (อ่านเพิ่มเติมได้ใน Simply Finance) มากกว่า 10% มีเพียง 48% จากบริษัทในกลุ่มตัวอย่างนี้ที่มีกำไรสุทธิ แต่จำนวนดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็น 85% ในปี 2021
  3. หุ้นขนาดเล็กเป็นเรื่องที่ดี เป็นเรื่องง่ายกว่ามากที่บริษัทขนาด 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐจะเติบโตไปเป็น 100 ล้านดอลลาร์ฯ เมื่อเทียบกับบริษัทที่มีขนาด 100,000 ล้านดอลลาร์ฯ ที่พยายามจะเติบโตให้ถึง 1,000,000 ล้านดอลลาร์ฯ เนื่องจากบริษัทขนาดเล็กมีโอกาสให้ขยายตัวได้มากกว่า โดย 63% ของหุ้นผู้ชนะ 446 ตัวเคยมีขนาดเล็กมาก (มี Market Cap ไม่ถึง 50 ล้านดอลลาร์ฯ)
  4. กลุ่มธุรกิจเทคโนโลยี, Healthcare และวัสดุ มีความโดดเด่นกว่ากลุ่มอื่นๆ เพราะกลุ่มธุรกิจเหล่านี้มีสัดส่วนของหุ้นที่ทำผลตอบแทนอย่างแข็งแกร่งมากกว่า เมื่อเทียบกับจำนวนบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์

กุญแจสำคัญที่สุด ยังคงเป็นการกระจายการลงทุน

ต้องไม่ลืมว่า ผลการดำเนินงานในอดีตไม่ได้เป็นสิ่งยืนยันผลการดำเนินงานในอนาคต แม้หุ้นสหรัฐ โดยเฉพาะหุ้นเทคโนโลยี จะทำผลตอบแทนได้ดีที่สุดในช่วงที่ผ่านมา แต่ตามสถิติแล้ว หุ้นผู้ชนะจะอยู่กระจัดกระจายกันออกไปในหลากหลายกลุ่มธุรกิจและภูมิภาค

หากคุณยึดติดกับหุ้นเทคโนโลยี, Healthcare หรือสินค้าอุปโภคบริโภคเพียงอย่างเดียว คุณก็อาจพลาดโอกาสในหุ้นผู้ชนะอีก 40% ในกลุ่มธุรกิจวัสดุและอุตสาหกรรม เช่นเดียวกัน หากคุณลงทุนแต่ในประเทศพัฒนาแล้ว คุณก็อาจพลาดโอกาสในหุ้นผู้ชนะทั่วโลกอีก 37%

กุญแจสำคัญสำหรับเรื่องนี้ยังคงเป็น ‘การกระจายการลงทุน’ แทนที่จะพยายามเลือกไม่กี่กลุ่มธุรกิจหรือภูมิภาค เพราะคุณสามารถมีส่วนร่วมกับหุ้นผู้ชนะเหล่านี้ได้ด้วยการลงทุนในพอร์ตที่มีการกระจายการลงทุนที่ดี โดยพอร์ต General Investing ของเรา อาจเป็นทางเลือกที่เหมาะสม เพราะเป็นพอร์ตที่ให้ความสำคัญกับการกระจายการลงทุนในหลายกลุ่มธุรกิจและภูมิภาค ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีการบริหาร Asset Allocation ให้เหมาะสมกับแต่ละภาวะเศรษฐกิจโดยอัตโนมัติ

📰 ข่าวอื่นๆ ที่น่าสนใจ: ภาคอุตสาหกรรมจีนเดินหน้าต่อ

ในขณะที่ยอดค้าปลีกของจีนออกมาต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ แต่ภาคอุตสาหกรรมกลับทำผลงานได้อย่างน่าประทับใจ

ยอดค้าปลีกจีนเดือน เม.ย. ขยายตัวที่ 2.3% YoY ซึ่งต่ำกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ไว้ที่ 3.8% แต่ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจ เพราะปัญหาในตลาดอสังหาริมทรัพย์จีนยังคงสร้างความกังวลให้ผู้บริโภค พวกเขาจึงใช้จ่ายอย่างระมัดระวัง

อย่างไรก็ตาม ภาคอุตสาหกรรมของจีน เช่น การผลิต การทำเหมืองแร่และสาธารณูปโภค สามารถทำผลงานได้ดีกว่าคาด โดยขยายตัวได้ถึง 6.7% YoY ในเดือน เม.ย. ทำให้จีนที่ได้รับการขนานนามว่าเป็น ‘The World’s Factory’ ยังคงรักษาชื่อเสียงนี้ไว้ได้

ทั้งนี้ กระทรวงการคลังจีนได้ออกพันธบัตรมูลค่า 1 ล้านล้านหยวนหรือประมาณ 138,000 ล้านดอลลาร์ฯ ซึ่งการออกพันธบัตรมูลค่ามหาศาลขนาดนี้เคยเกิดขึ้นเพียง 3 ครั้งในช่วง 26 ปีที่ผ่านมา โดยคาดกันว่า รัฐบาลจีนจะนำเงินที่ได้จากการขายพันธบัตรส่วนใหญ่อัดฉีดเข้าสู่ตลาดอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งจะช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภคจีนใช้จ่ายมากขึ้น

เนื้อหาในส่วนนี้เขียนขึ้นร่วมกับ Finimize

🎓 Simply Finance: กำไรก่อนหักดอกเบี้ยและภาษี (EBIT)

Earnings Before Interest and Taxes (EBIT) คือ กำไรของบริษัทก่อนหักดอกเบี้ยและภาษี ซึ่งเป็นการวัดผลการดำเนินงานของบริษัท โดยไม่คำนึงถึงความซับซ้อนทางการเงินและบัญชี ทำให้ EBIT เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์สำหรับนักลงทุนในการเปรียบเทียบกำไรขั้นต้นของแต่ละบริษัท โดยไม่มีปัจจัยของหนี้สินหรือภาษีเข้ามาเกี่ยวข้อง


แชร์บทความนี้

  • linkedin
  • facebook
  • twitter
  • email

อยากอ่านเพิ่ม?

เราหวังว่าคุณจะได้ประโยชน์ จากบทความของเรา

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับผู้คนอีกหลายแสนคนที่ต้องการวางแผนการเงินและการลงทุนอย่างยั่งยืนด้วยการสมัครรับบทความและบทวิเคราะห์ของเราที่จะส่งตรงถึงอีเมลของคุณ