Weekly Buzz: ยุคดอกเบี้ยสูง ถือเงินสดดีกว่าหุ้น?

08 September 2023

แชร์บทความนี้

  • linkedin
  • facebook
  • twitter
  • email

อยากอ่านเพิ่ม?

เราหวังว่าคุณจะได้ประโยชน์ จากบทความของเรา

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับผู้คนอีกหลายแสนคนที่ต้องการวางแผนการเงินและการลงทุนอย่างยั่งยืนด้วยการสมัครรับบทความและบทวิเคราะห์ของเราที่จะส่งตรงถึงอีเมลของคุณ

อัตราดอกเบี้ยในปัจจุบันที่อยู่ในระดับสูง กำลังทำให้นักลงทุนหมดความสนใจในสินทรัพย์บางประเภท ต่างจากสินทรัพย์ ‘เทียบเท่าเงินสด’ เช่น พันธบัตรรัฐบาลระยะสั้น หรือกองทุนรวมตลาดเงิน ซึ่งกำลังน่าดึงดูดอย่างมาก เนื่องจากให้ผลตอบแทนเกิน 5% ต่อปีในสกุลเงิน USD และมีความเสี่ยงต่ำมาก แต่ในระยะยาว การถือสินทรัพย์เทียบเท่าเงินสด จะทำให้คุณเสียโอกาสหรือไม่

ต้นทุนของการลงทุนในสินทรัพย์เทียบเท่าเงินสด

ด้วย Yield ที่ใกล้เคียงกับอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ Fed ซึ่งอยู่ในระดับสูงสุดในรอบกว่า 20 ปี ทำให้ในปัจจุบันมีเงินลงทุนจำนวนมากกว่า 5.52 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐอยู่ในกองทุนรวมตลาดเงิน แต่ในระยะยาว การถือเงินสดหรือลงทุนในสินทรัพย์เทียบเท่าเงินสด อาจทำให้คุณพลาดโอกาสในการสร้างผลตอบแทน เพราะการลงทุนในสินทรัพย์ประเภทนี้จะทำให้เกิด Opportunity Cost หรือต้นทุนค่าเสียโอกาส (อ่านเพิ่มเติมได้ใน ศัพท์โลกการลงทุน) เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

ข้อมูลในอดีตยังสนับสนุนเรื่องดังกล่าว โดยนับตั้งแต่ปี 1928 เงินสด (USD) มีโอกาส 31% ที่จะทำผลตอบแทนได้มากกว่าหุ้น หากเทียบกันในระยะแค่ 1 ปี แต่หากขยายเวลาเปรียบเทียบให้ยาวขึ้น โอกาสสร้างผลตอบแทนของเงินสดจะลดลงอย่างเห็นได้ชัด โดยการเปรียบเทียบนี้ใช้ฐานข้อมูลของตลาดหุ้นและตราสารหนี้ระยะสั้นของสหรัฐเท่านั้น

ข้อมูลในอดีตยังแสดงให้เห็นว่า ตลาดหุ้นสหรัฐเป็นขาขึ้นมากกว่าขาลง เพราะบริษัทและกลุ่มธุรกิจต่างๆ จะเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ในระยะยาวหุ้นจะสร้างผลตอบแทนได้ดีกว่าเงินสด ซึ่งข้อเท็จจริง คือ หากเทียบกันในระยะเวลา 25 ปี ไม่เคยมีช่วงเวลาไหนที่เงินสดหรือสินทรัพย์เทียบเท่าเงินสดจะสร้างผลตอบแทนได้ดีกว่าตลาดหุ้น

เรื่องนี้ส่งผลต่อนักลงทุนอย่างไร?

ถึงแม้ Opportunity Cost ของการถือเงินสด อาจมีมูลค่ามหาศาล แต่หากนักลงทุนยังมีความจำเป็นต้องใช้เงินสดในระยะสั้น ก็ไม่ควรนำเงินจำนวนนั้นไปลงทุนในตลาด

แม้ว่าข้อมูลที่เราหยิบยกมาจะแสดงให้เห็นว่า หุ้นสร้างผลตอบแทนที่ดีกว่าเงินสดในระยะยาว แต่ Key Takeaway คือ การลงทุนไม่ใช่แค่นำเงินเข้าไปในตลาดแล้วรอเฉยๆ 20-30 ปี เพราะแต่ละคนรับความเสี่ยงได้ไม่เท่ากัน รวมถึงมีสไตล์การลงทุนและสถานการณ์ในชีวิตไม่เหมือนกัน ดังนั้น การรู้เป้าหมายของตัวเอง และข้อจำกัดด้านระยะเวลาในการลงทุน คือ สิ่งที่สำคัญกว่า

ที่ StashAway เรามีผลิตภัณฑ์การลงทุนที่สามารถตอบโจทย์แผนการลงทุนและระยะเวลาของเป้าหมายที่แตกต่างกันไป โดย General Investing เหมาะเป็นพอร์ตหลักเพื่อสร้างความมั่งคั่งในระยะยาว ในขณะที่ USD Cash Plus ที่ลงทุน 99% ในพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ (0-3 เดือน) ซึ่งเป็นสินทรัพย์เทียบเท่าเงินสด มีความเสี่ยงต่ำมาก และเหมาะกับเป้าหมายในระยะสั้นมากกว่า

📰 ข่าวอื่นๆ ที่น่าสนใจ: ภาคการผลิตจีนเริ่มขยับ

ข้อมูลล่าสุดเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจจีนอาจกำลังเริ่มเดินหน้า โดยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) Caixin ของภาคเอกชนจีนขึ้นมาอยู่ที่ 51.0 ในเดือน ส.ค. (มากกว่า 50.0 หมายความว่าขยายตัว) ซึ่งสูงกว่าคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ และเป็นการส่งสัญญาณว่า มีการขยายตัวในภาคการผลิตที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อเศรษฐกิจจีน

อย่างไรก็ตาม ข้อมูลของทางการจีนก่อนหน้านี้ 1 วันแสดงทิศทางตรงกันข้ามว่า กิจกรรมในภาคการผลิตลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5 ในเดือน ส.ค. ทำให้สัญญาณของภาคการผลิตจีนยังไม่ค่อยชัดเจนนัก แต่ตัวเลขดังกล่าวไม่ได้ลดลงมากอย่างที่นักเศรษฐศาสตร์หลายรายคาดไว้ และแนวโน้มขาลงก็เริ่มเคลื่อนที่ในลักษณะแบนราบมากขึ้นแล้ว 

ทั้งนี้ เศรษฐกิจจีนเผชิญอุปสรรคมากมายในปี 2023 แต่ข้อมูลในตอนนี้ เริ่มแสดงให้เห็นว่า สถานการณ์เลวร้ายที่สุดของเศรษฐกิจจีนอาจได้ผ่านพ้นไปแล้ว  

เนื้อหาในส่วนนี้เขียนขึ้นร่วมกับ Finimize

🎓ศัพท์โลกการลงทุน: Opportunity Cost

เมื่อคุณไปร้านอาหารแล้วคุณเลือกสั่งอาหารแค่ 1 จาน เท่ากับว่าคุณเสียโอกาสในการชิมเมนูที่เหลือ นั่นคือ Opportunity Cost หรือ ต้นทุนค่าเสียโอกาส ซึ่งในโลกการเงิน คือ มูลค่าของผลตอบแทนที่คุณน่าจะได้รับจากการลงทุน แต่คุณก็ไม่ได้รับเพราะคุณเลือกการลงทุนอื่นๆ เช่น เลือกลงทุนในตราสารหนี้แทนหุ้น

Opportunity Cost ทำให้เรารู้ว่าทุกการตัดสินใจของเราย่อมมีสิ่งที่ต้องแลก และบางครั้งสิ่งที่คุณไม่ได้เลือกอาจมีความสำคัญพอๆ กับสิ่งที่คุณเลือก

✨ ใหม่! CIO Insights ในรูปแบบ Audiobook

🎧 Insights ดีๆ ที่คุณฟังได้ทุกที่ ทุกเวลา จะขับรถหรือทำอะไรอยู่ก็ฟังได้ กับบทวิเคราะห์ล่าสุดเรื่อง ‘ทิศทางของค่าเงิน’ ที่นักลงทุนที่ลงทุนในต่างประเทศควรให้ความสำคัญ!

USD จะเคลื่อนไหวไปในทิศทางใด มีปัจจัยอะไรบ้างที่ขับเคลื่อนค่าเงินสกุลต่างๆ และ StashAway บริหารจัดการเรื่องนี้อย่างไร 

ฟัง Audiobook ได้ที่นี่

การลงทุนมีความเสี่ยง โปรดทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน; ผลการดำเนินงานในอดีตไม่ได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต


แชร์บทความนี้

  • linkedin
  • facebook
  • twitter
  • email

อยากอ่านเพิ่ม?

เราหวังว่าคุณจะได้ประโยชน์ จากบทความของเรา

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับผู้คนอีกหลายแสนคนที่ต้องการวางแผนการเงินและการลงทุนอย่างยั่งยืนด้วยการสมัครรับบทความและบทวิเคราะห์ของเราที่จะส่งตรงถึงอีเมลของคุณ