Weekly Buzz: เศรษฐกิจญี่ปุ่นโตเหนือความคาดหมาย

25 August 2023

แชร์บทความนี้

  • linkedin
  • facebook
  • twitter
  • email

อยากอ่านเพิ่ม?

เราหวังว่าคุณจะได้ประโยชน์ จากบทความของเรา

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับผู้คนอีกหลายแสนคนที่ต้องการวางแผนการเงินและการลงทุนอย่างยั่งยืนด้วยการสมัครรับบทความและบทวิเคราะห์ของเราที่จะส่งตรงถึงอีเมลของคุณ

เศรษฐกิจญี่ปุ่นซึ่งมีขนาดใหญ่อันดับ 3 ของโลก ทำผลงานได้ดีกว่าคาดในช่วงที่ผ่านมา จากการส่งออกที่สามารถชดเชย Demand ที่อ่อนแอภายในประเทศ เห็นได้จากข้อมูลเมื่อไตรมาสที่แล้วที่แสดงให้เห็นว่า เศรษฐกิจญี่ปุ่นเติบโตถึง 6% ต่อปี ซึ่งเป็นตัวเลขที่ดีที่สุดนับตั้งแต่ปลายปี 2020 

อะไรทำให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นร้อนแรง?

GDP หรือ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (อ่านเพิ่มเติมได้ใน ศัพท์โลกการลงทุน) ของญี่ปุ่นเติบโต 1.5% QoQ ซึ่งมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ถึง 2 เท่า โดยปัจจัยสำคัญมาจากการส่งออกปีนี้ ซึ่งได้รับแรงขับเคลื่อนหลักจากเงินเยนที่อ่อนค่าลงกว่า 10% เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐในปีนี้ ทำให้สินค้าญี่ปุ่นมีราคาถูกลงและน่าสนใจมากกว่าประเทศอื่นๆ 

การท่องเที่ยวก็กลับมาคึกคักเช่นกัน โดยสามารถฟื้นตัวกลับมาได้ถึง 2 ใน 3 ของระดับที่เคยอยู่ในช่วงก่อน COVID-19 ซึ่งในระยะข้างหน้า การท่องเที่ยวของญี่ปุ่นจะดียิ่งขึ้นไปอีก จากการที่รัฐบาลจีนเพิ่งยกเลิกคำสั่งห้ามกรุ๊ปทัวร์ไปเยือนญี่ปุ่นเมื่อไม่นานมานี้ 

อย่างไรก็ตาม การบริโภคภาคเอกชนซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของเศรษฐกิจญี่ปุ่น กลับลดลง 0.5% QoQ เนื่องจากภาคธุรกิจและผู้บริโภคกำลังรัดเข็มขัดจากความกลัวเรื่องภาวะเงินเฟ้อ หลังเผชิญภาวะเงินฝืดมาอย่างยาวนาน

เรื่องนี้ส่งผลต่อนักลงทุนระยะยาวอย่างไร?

การเติบโตของเศรษฐกิจญี่ปุ่นเมื่อเร็วๆ นี้ กำลังเป็นที่สนใจของนักลงทุน แต่ปัจจัยขับเคลื่อนหลักกลับมาจาก Demand ภายนอกประเทศ ซึ่งถือว่ามีความเสี่ยงอยู่บ้าง เพราะประเทศตะวันตกกำลังเผชิญความท้าทายมากมายอยู่ในตอนนี้

ในเร็วๆนี้ เราจึงยังไม่น่าจะเห็นธนาคารกลางญี่ปุ่นยกเลิกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจขนาดใหญ่ ซึ่งอาจช่วยรักษา Momentum ให้ญี่ปุ่นยังเป็นที่ที่น่าลงทุนต่อไป ซึ่งหากคุณสนใจโอกาสการลงทุนในเศรษฐกิจญี่ปุ่น คุณอาจเลือกลงทุนใน ‘หุ้นญี่ปุ่น’ ผ่าน ETF iShares MSCI Japan ใน Flexible Portfolio ซึ่งคุณสามารถปรับสัดส่วนการลงทุนได้ตามที่ต้องการ

💡 Investors’ Corner: Second Wave ของเงินเฟ้อ?

แม้เงินเฟ้อในประเทศพัฒนาแล้วเริ่มชะลอตัวลง แต่นักลงทุนบางส่วนยังคงไม่วางใจ โดยกราฟด้านล่างเป็นการเปรียบเทียบภาวะเงินเฟ้อ ณ ปัจจุบันกับที่เคยเกิดขึ้นในทศวรรษ 1970 ซึ่งแม้จะดูคล้ายคลึงกัน แต่ยังมีปัจจัยสำคัญอื่นๆ ซ่อนอยู่ที่อาจเป็นสาเหตุให้เกิด Second Wave ของเงินเฟ้อหรือไม่

ปัจจัยแรก คือ ปัญหาค่าจ้างแรงงาน ซึ่งเคยเกิดขึ้นในทศวรรษ 1970 เช่นกัน ในตอนนั้น สหภาพแรงงานอเมริกันเรียกร้องให้เพิ่มค่าจ้างแรงงานได้สำเร็จ ส่วนในปัจจุบัน ด้วย Supply ของแรงงานที่อยู่ในระดับต่ำ ทำให้บริษัทต่างๆ ต้องจ่ายค่าแรงสูงขึ้น และเมื่อแรงงานมีเงินมากขึ้นก็ใช้จ่ายมากขึ้น ทำให้ราคาสินค้าสูงขึ้นในที่สุด

ปัจจัยต่อมา คือ เรื่องต้นทุนสินค้า โดยในช่วงต้นทศวรรษ 1970 ประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ร่วมมือกันงดส่งออกน้ำมันให้ชาติตะวันตก ทำให้ตลาดน้ำมันโลกปั่นป่วน ขณะที่ปัจจุบัน COVID-19 และสงครามในยูเครนเป็นปัจจัยที่ทำให้ Supply ขาดแคลน ส่งผลให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์อยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง

อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ทั้ง 2 ช่วงเวลาไม่ได้เหมือนกันหมด เพราะปัจจุบัน ผู้คนได้เริ่มหันไปหาพลังงานหมุนเวียนมากขึ้น ดังนั้นแม้จะมีโอกาสในการเกิด Second Wave ของเงินเฟ้อ แต่อย่าลืมว่า โลกในปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไปมากเมื่อเทียบกับ 50 ปีที่แล้ว

เนื้อหาในส่วนนี้เขียนขึ้นร่วมกับ Finimize

🎓ศัพท์โลกการลงทุน: GDP

GDP หรือ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ คือ มูลค่าทั้งหมดของบริการและสินค้าที่ผลิตขึ้นในประเทศนั้นๆ ตลอดทั้งปี ครอบคลุมทุกกิจกรรมทางเศรษฐกิจ นับตั้งแต่การผลิตรถยนต์, คอมพิวเตอร์ ไปจนถึงการตัดผมและการบริโภคแฮมเบอร์เกอร์ โดยเราสามารถใช้ค่า GDP เพื่อประเมินและติดตามสภาพเศรษฐกิจในประเทศนั้นๆ ได้ 

หาก GDP เติบโต หมายความว่า เศรษฐกิจขยายตัว หาก GDP ลดลง หมายความว่า เศรษฐกิจหดตัว ซึ่งแม้ว่า GDP จะเป็นเครื่องมือที่มีความเรียบง่ายและใช้กันแพร่หลาย แต่ก็ยังมีเครื่องมืออื่นที่สามารถใช้วัดสุขภาพทางเศรษฐกิจได้เช่นกัน

✨ ผลการดำเนินงาน H1/2023 และบทความ H2 Market Outlook ของเรา

ผ่านครึ่งทางของปี 2023 ซึ่งเต็มไปด้วยความตื่นเต้น นับตั้งแต่วิกฤติในกลุ่มธุรกิจธนาคารสหรัฐและยุโรป ไปจนถึงกระแสเทคโนโลยี AI ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า เราผ่านเรื่องราวมามากมายในปีนี้ แต่คุณไม่ต้องกังวล เพราะเราได้สรุปไว้แล้วในบทความด้านล่างนี้:

H2 Market Outlook เราวิเคราะห์สถานการณ์ที่เกิดขึ้นและถอยหลังกลับมามองภาพใหญ่ในระยะยาว เพื่อให้เห็นว่าทำไมเราถึงยังเห็นว่ามีแสงสว่างในอนาคตรออยู่

บทความสรุปผลการดำเนินงาน H1/2023 และเราขี่หลัง (ตลาด) กระทิงมาอย่างปลอดภัยได้อย่างไร


แชร์บทความนี้

  • linkedin
  • facebook
  • twitter
  • email

อยากอ่านเพิ่ม?

เราหวังว่าคุณจะได้ประโยชน์ จากบทความของเรา

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับผู้คนอีกหลายแสนคนที่ต้องการวางแผนการเงินและการลงทุนอย่างยั่งยืนด้วยการสมัครรับบทความและบทวิเคราะห์ของเราที่จะส่งตรงถึงอีเมลของคุณ