Weekly Buzz: ⭐ จับตาค่า ‘R-Star’ อัตราดอกเบี้ยแบบเป็นกลาง

05 July 2024

แชร์บทความนี้

  • linkedin
  • facebook
  • twitter
  • email

อยากอ่านเพิ่ม?

เราหวังว่าคุณจะได้ประโยชน์ จากบทความของเรา

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับผู้คนอีกหลายแสนคนที่ต้องการวางแผนการเงินและการลงทุนอย่างยั่งยืนด้วยการสมัครรับบทความและบทวิเคราะห์ของเราที่จะส่งตรงถึงอีเมลของคุณ

ในขณะที่เงินเฟ้อกำลังลดความร้อนแรงลง บรรดานักลงทุนจึงหันมาจับตามองว่าเมื่อไหร่ Fed จะเริ่มลดอัตราดอกเบี้ยลง แต่ในขณะเดียวกัน Fed ได้ทำบางอย่างที่มีความสำคัญมาก แต่คนทั่วไปอาจไม่สังเกตเห็น นั่นก็คือ การปรับเพิ่มประมาณการดอกเบี้ย Neutral Rate ระยะยาว

อะไรคือดอกเบี้ย ‘Neutral Rate’?

ดอกเบี้ย Neutral Rate ระยะยาว คือ อัตราดอกเบี้ยที่ทำให้เศรษฐกิจเติบโตได้อย่างสมดุล ไม่ร้อนแรงหรือชะลอตัวมากเกินไป (หากไม่มีเหตุไม่คาดคิดใดๆ เกิดขึ้น) โดยดอกเบี้ย Neutral Rate สามารถใช้แทนค่า ‘R-Star’ ได้ ซึ่ง R Star ก็คือ อัตราดอกเบี้ยในอุดมคติที่สร้างสมดุลระหว่างการออมกับการลงทุนโดยไม่ทำให้เกิดเงินเฟ้อหรือเงินฝืด ที่สำคัญ ดอกเบี้ย Neutral Rate ยังเป็นตัวกำหนดทิศทางอัตราดอกเบี้ยในระยะข้างหน้าด้วย

ทั้งนี้ ตลอดช่วงครึ่งปีที่ผ่านมา Fed ได้ค่อยๆ ปรับเพิ่มประมาณการดอกเบี้ย Neutral Rate ให้สูงขึ้น โดยหากไม่นับค่า Outlier (ค่าที่แตกต่างจากชุดข้อมูลเดียวกันมากผิดปกติ) เราจะเห็นได้ว่าจุดกึ่งกลางของประมาณการเพิ่มขึ้นเกินระดับ 3% เช่นเดียวกับค่า Median ของประมาณการที่ปรับเพิ่มขึ้นเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม ค่า R-Star เปรียบได้กับสัตว์ประหลาดแห่งทะเลสาบ Loch Ness ในทางเศรษฐศาสตร์ เนื่องจากมีการพูดถึงกันมาก แต่ไม่มีใครเคยเห็นมันเกิดขึ้นจริงๆ 

เนื่องจากค่า R-Star จะได้รับอิทธิพลจากปัจจัยทางเศรษฐกิจหลายปัจจัย ซึ่งมักจะเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา อย่างไรก็ตาม ธนาคารกลางต่างๆ จะใช้ค่า R-Star เป็นเข็มทิศนำทางในการตัดสินใจปรับเพิ่มหรือลดอัตราดอกเบี้ย โดยวิธีที่ดีที่สุดที่พวกเขาสามารถทำได้ คือ พยายามประมาณการดอกเบี้ย R-Star โดยใช้แบบจำลองที่ซับซ้อนและพิจารณาปัจจัยต่างๆ ควบคู่กันไป เช่น การเติบโตทางเศรษฐกิจ เงินเฟ้อ และปริมาณการออมเงินหรือการลงทุนของประชาชน

ก่อนหน้านี้ Bloomberg ได้คำนวณตัวเลขและพบว่า ดอกเบี้ย Neutral Rate สำหรับพันธบัตรสหรัฐอายุ 10 ปีลดลงจาก 5% ในปี 1980 มาอยู่ที่ต่ำกว่า 2% ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ซึ่งผลกระทบจากเหตุการณ์นี้ค่อนข้างมีนัยสำคัญ เพราะทำให้ดอกเบี้ยของสินเชื่อบ้านต่ำลง Demand ที่อยู่อาศัยจึงปรับตัวเพิ่มขึ้น จนกระทั่งราคาบ้านพุ่งสูงขึ้นตามไปด้วย และดอกเบี้ยที่ต่ำลงยังทำให้บริษัทที่ไม่มีแม้แต่กำไร สามารถกู้ยืมเงินเพื่อขยายกิจการได้

อย่างไรก็ตาม เราอาจกำลังอยู่ในจุดเปลี่ยนผ่าน โดยแรงขับเคลื่อนหลักอย่าง AI มีแนวโน้มที่จะขับเคลื่อนให้อัตราดอกเบี้ย Neutral Rate ขึ้นมาอยู่ที่ 4% และอาจคงอยู่ในระดับนี้ต่อไปทั้งในทศวรรษนี้และทศวรรษหน้า

เรื่องนี้ส่งผลต่อนักลงทุนอย่างไร?

เราอาจสรุปได้ว่ายุคอัตราดอกเบี้ยต่ำมากได้สิ้นสุดลงแล้ว โดยการเปลี่ยนทิศทางของดอกเบี้ย Neutral Rate อาจสร้างความไม่แน่นอนในระยะข้างหน้า และในฐานะนักลงทุน เราจึงควรให้ความสำคัญกับค่า R-Star หรือดอกเบี้ย Neutral Rate เนื่องจากดอกเบี้ยเป็นแรงขับเคลื่อนหลักของราคาสินทรัพย์เกือบทุกประเภท ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงในระยะยาวอาจสร้างผลกระทบมหาศาลได้

วิธีที่เหมาะสมในการเตรียมพอร์ตของคุณให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจยังเป็นการกระจายการลงทุน ซึ่งจะช่วยปกป้องพอร์ตจากนโยบายการเงินทุกรูปแบบ เพราะสินทรัพย์แต่ละประเภทจะตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของดอกเบี้ยแตกต่างกันไป โดยคุณอาจเลือกลงทุนในพอร์ต General Investing ของเรา ที่มีการกระจายการลงทุนที่ดีในหลากหลายสินทรัพย์ กลุ่มธุรกิจและภูมิภาค และมีการบริหาร Asset Allocation ให้เหมาะสมกับแต่ละภาวะเศรษฐกิจโดยอัตโนมัติ

เนื้อหาในส่วนนี้เขียนขึ้นร่วมกับ Finimize

📖 รอบรู้เรื่องลงทุน: The Era of Easy Money

ขอต้อนรับสู่ Section ใหม่ของ Weekly Buzz ‘รอบรู้เรื่องลงทุน’ ที่เราจะย้อนกลับไปมองเหตุการณ์ในอดีตที่น่าสนใจในโลกการลงทุน (บางครั้งก็อาจมีดราม่า!) 

เป็นเวลากว่าทศวรรษที่เราอาศัยอยู่ในโลกที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำมาก หรือยุค ‘Easy Money’ โดยยุคนี้เริ่มต้นขึ้นหลังวิกฤตการเงินโลกในปี 2008 เมื่อธนาคารกลางต่างๆ เริ่มลดดอกเบี้ยลงมาอยู่ที่เกือบ 0% เพื่อกระตุ้นการฟื้นฟูเศรษฐกิจ ทำให้ยุคดอกเบี้ยต่ำกลายเป็นเรื่อง ‘New Normal’ และส่งผลกระทบต่อทุกภาคส่วน นับตั้งแต่สินเชื่อบ้านไปจนถึงราคาหุ้น

อย่างไรก็ตาม เมื่อเงินเฟ้อพุ่งสูงขึ้นและเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ เริ่มฟื้นตัวหลังการระบาดของ COVID-19 ธนาคารกลางต่างๆ ก็เริ่มทบทวนนโยบายของตัวเองใหม่ ซึ่งการเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ย Neutral Rate เป็นสัญญาณว่ายุคนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายพิเศษอาจสิ้นสุดลงแล้ว


แชร์บทความนี้

  • linkedin
  • facebook
  • twitter
  • email

อยากอ่านเพิ่ม?

เราหวังว่าคุณจะได้ประโยชน์ จากบทความของเรา

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับผู้คนอีกหลายแสนคนที่ต้องการวางแผนการเงินและการลงทุนอย่างยั่งยืนด้วยการสมัครรับบทความและบทวิเคราะห์ของเราที่จะส่งตรงถึงอีเมลของคุณ