Weekly Buzz: ปรับพอร์ตรับมือมาตรการภาษีของ Trump ⚖️

ดูเหมือนว่า ‘วันแห่งอิสรภาพ’ ของ Donald Trump อาจกลายเป็น ‘วันแห่งหายนะ’ ไปแล้ว หลังจากดัชนี S&P 500 ร่วงลง 4.8% เมื่อคืนวันพฤหัสบดี (3 เม.ย.) ซึ่งเป็นการปรับตัวลดลงมากที่สุดนับตั้งแต่เดือน มิ.ย. 2020 อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญคือการมองความผันผวนครั้งนี้ในมุมที่กว้างขึ้น
เกิดอะไรขึ้น?
การประกาศใช้มาตรการภาษีนำเข้าของ Trump ส่งผลให้กลุ่มประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต้องเผชิญกับอัตราภาษีสูงถึง 50% ในขณะที่กลุ่มประเทศที่ ‘โชคดีกว่า’ อย่างสหราชอาณาจักร บราซิล และตุรกี ถูกเก็บภาษีเพียง 10% โดยเป้าหมายของมาตรการนี้ คือ จูงใจให้ผู้ผลิตสินค้าต่างชาติมาตั้งโรงงานในสหรัฐ กดดันให้ประเทศคู่ค้าลดกำแพงภาษี และสร้างเม็ดเงินเพื่อชดเชยนโยบายลดหย่อนภาษีเงินได้ภายในประเทศ
หากย้อนกลับไปในสมัยที่ Trump ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสมัยแรก เราจะเห็นว่ามาตรการภาษีเป็นเครื่องมือสำคัญในกลยุทธ์ทางการค้าของเขา โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับจีน ซึ่งในขณะนั้น ตลาดก็เผชิญความผันผวนเช่นเดียวกัน เนื่องจากนักลงทุนพยายามประเมินผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น

อย่างไรก็ตาม แม้จะมีความไม่แน่นอนในช่วงเวลานั้น แต่เศรษฐกิจสหรัฐ ยังรักษาแนวโน้มการเติบโตได้ดี? โดยมีอัตราการขยายตัวของ GDP ที่ 2.9% ในปี 2018 และอัตราการว่างงานยังอยู่ในระดับต่ำ ดังนั้น แม้ข่าวพาดหัวเกี่ยวกับมาตรการภาษีนำเข้าจะทำให้เกิดความผันผวนในตลาด แต่อย่าลืมว่าการสร้างความมั่งคั่งเป็นเรื่องของการวิ่งระยะไกล ไม่ใช่การวิ่งระยะสั้น และการพยายามจับจังหวะตลาดจากเหตุการณ์ทางการเมืองก็แทบจะมีความน่าเชื่อถือพอๆ กับการพยากรณ์อากาศล่วงหน้าสองสัปดาห์
(อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ใน CIO Update: สิ่งที่คุณควรรู้เกี่ยวกับมาตรการภาษีนำเข้าล่าสุดของ Trump และบทวิเคราะห์เชิงลึกเกี่ยวกับนโยบายเศรษฐกิจของ Trump CIO Insights: ยอมเจ็บวันนี้ เพื่อผลลัพธ์ที่ดีในวันหน้า)
Key Takeaway
ตลาดอาจชะลอตัวเพราะความกังวลเรื่องภาษี แต่โดยทั่วไปแล้ว ตลาดมักไม่อยู่ในช่วงขาลงนาน ดังนั้น แม้ว่าหุ้นสหรัฐจะค่อนข้างผันผวนในช่วงนี้ แต่นักลงทุนก็ไม่ได้ตื่นตระหนกและกำลังปรับตัวตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น โดยนักลงทุนบางส่วนได้หันไปหาสินทรัพย์ Safe-haven อย่างทองคำ ซึ่งปรับตัวขึ้นถึง 17% ในปีนี้ หรือกระจายการลงทุนไปยังตลาดอื่นๆ เช่น ยุโรป

การปรับ Asset Allocation แบบนี้ ไม่ใช่การเลิกลงทุนในตลาดสหรัฐโดยสิ้นเชิง แต่เป็นการใช้เครื่องมือที่ไว้ใจได้ที่สุดของนักลงทุน นั่นก็คือ การกระจายการลงทุน โดยพอร์ต General Investing ของเราถูกออกแบบโดยยึดหลักการดังกล่าว ซึ่งในขณะที่นักลงทุนบางคนอาจต้องคอยติดตามข่าวแบบ Real-time ตลอดทั้งวัน แต่การมีพอร์ตที่มีการกระจายการลงทุนที่ดี หมายความว่า การลงทุนทั้งหมดของคุณจะไม่ได้ขึ้นอยู่กับการ Tweet เพียงแค่ครั้งเดียว
📰 ข่าวอื่นๆ ที่น่าสนใจ: จีนกลับมาใช้เงินอีกครั้ง
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิต (PMI) ของจีนขยับขึ้นสู่ระดับ 50.5 ในเดือน มี.ค. (ทะลุผ่านระดับ 50 จุด ซึ่งเป็นเส้นแบ่งระหว่างการเติบโตและการหดตัว) ขณะที่ ดัชนี PMI นอกภาคการผลิต แตะระดับ 50.8 บ่งชี้ว่าภาคบริการและการก่อสร้างมีการขยายตัวเช่นกัน

ปัจจัยสำคัญที่ช่วยหนุนเศรษฐกิจจีนครั้งนี้น่าจะมาจากมาตรการอัดฉีดเงินของรัฐบาลในช่วงต้นเดือน มี.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการอนุมัติงบประมาณกว่า 300,000 ล้านหยวน (41,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพื่อช่วยอุดหนุนราคาสินค้าอุปโภคบริโภค โดย Li Qiang นายกรัฐมนตรีจีน ส่งสัญญาณชัดเจนว่า การใช้จ่ายของผู้บริโภคคือภารกิจอันดับหนึ่งของรัฐบาลในปีนี้ โดยรายงานประจำปีของเขากล่าวถึงคำว่า ‘การบริโภค’ ถึง 27 ครั้ง ซึ่งมากที่สุดในรอบทศวรรษ
หากคุณสนใจตลาดจีน แต่ต้องการบริหารความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่คุณรับได้ Flexible Portfolio ของเราอาจเป็นตัวเลือกที่เหมาะสม เพราะคุณสามารถปรับสัดส่วนการลงทุนในตลาดจีนได้อย่างยืดหยุ่นทุกเวลา ไม่ว่าจะเป็น ETF ที่ติดตามตลาดเกิดใหม่โดยรวม หรือ ETF ที่ติดตามตลาดจีนโดยเฉพาะ
เนื้อหาในส่วนนี้เขียนขึ้นร่วมกับ Finimize
🎓 Simply Finance: สินทรัพย์ Safe-haven
เมื่อความผันผวนในตลาดเพิ่มขึ้น นักลงทุนมักมองหาที่หลบภัยในสินทรัพย์ Safe-haven หรือสินทรัพย์ที่มักรักษามูลค่าของตัวเองได้ท่ามกลางความไม่แน่นอน โดยทองคำถือเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดของสินทรัพย์ Safe-haven อย่างไรก็ตาม สินทรัพย์ประเภทนี้ไม่ได้มีแค่ทองคำเพียงอย่างเดียว แต่พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐหรือเงินเยนของญี่ปุ่น ก็สามารถทำหน้าที่นี้ได้เช่นกัน
สิ่งที่ทำให้สินทรัพย์เหล่านี้น่าสนใจในช่วงตลาดผันผวนคือข้อจำกัดของมันเช่นกัน ซึ่งก็คือการเน้นรักษาเงินต้นมากกว่าการเติบโตของมูลค่า ทำให้การลงทุนในสินทรัพย์ Safe-haven ไม่ใช่เรื่องของการจับจังหวะตลาด แต่เป็นเรื่องของการกระจายการลงทุนในทุกวัฏจักรของตลาด เพื่อสร้างสมดุลให้กับพอร์ตของเรา