Weekly Buzz: หรือสหรัฐจะมีโอกาส Soft Landing?
จากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐล่าสุด ดูเหมือนจะมีความเป็นไปได้ว่าการแก้ปัญหาเงินเฟ้อของ Fed อาจลงเอยแบบ ‘Soft Landing’ ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่เศรษฐกิจจะต้องชะลอตัวมากพอ แต่ไม่มากจนทำให้เศรษฐกิจเข้าสู่ Recession
ความเป็นไปได้ของ ‘Soft Landing’
ล่าสุด Fed ออกคาดการณ์เศรษฐกิจฉบับใหม่ พร้อมตัดสินใจไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย โดย Fed ประเมินว่าเงินเฟ้อในปีนี้จะบรรเทาลง และเศรษฐกิจจะเติบโตดีขึ้น เมื่อเทียบกับคาดการณ์ฉบับก่อนหน้าในเดือน มิ.ย.
ทั้งนี้ Fed ได้ปรับลดคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core Inflation) ของปีนี้ลงเหลือ 3.7% จาก 3.9% แม้จะประเมินว่าเงินเฟ้อจะยังไม่ลดลงสู่ระดับเป้าหมายที่ 2% จนกระทั่งปี 2026
ขณะที่ การเติบโตทางเศรษฐกิจในปีนี้คาดว่าจะขึ้นไปถึง 2.1% จากเดิม 1% โดยค่าเฉลี่ยคาดการณ์ GDP ที่ประกาศมาตลอดทั้งปีนี้ยังมากกว่าคาดการณ์เมื่อต้นปีถึง 5 เท่า และยังคาดว่าในปี 2024 การเติบโตจะขึ้นไปอยู่ที่ 1.5%
นอกจากนี้ แถลงการณ์ของ Fed ยังเปลี่ยนไปในทิศทางบวกมากขึ้น สอดคล้องกับท่าทีของเจ้าหน้าที่ Fed ระดับสูงหลายคนที่มองว่าการเกิด Soft Landing มีความเป็นไปได้มากขึ้น
เรื่องนี้ส่งผลต่อนักลงทุนอย่างไร?
ในระยะข้างหน้า การต่อสู้ปัญหาเงินเฟ้อยังต้องดำเนินต่อไป ทำให้สหรัฐน่าจะคงนโยบายการเงิน (อ่านเพิ่มเติมได้ใน ศัพท์โลกการลงทุน) ที่เข้มงวดไปจนถึงปี 2026 โดยบทสรุปคาดการณ์ครั้งล่าสุดของ Fed แสดงให้เห็นว่าบรรดาผู้กำหนดนโยบายส่วนใหญ่ยังคาดว่าจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 1 ครั้งในปีนี้ ซึ่งจะทำให้อัตราดอกเบี้ยขึ้นไปอยู่ที่ 5.6%
อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจสหรัฐยังพิสูจน์ให้เห็นความทนทานอย่างต่อเนื่อง จึงมีความเป็นไปได้มากขึ้นที่จะเกิดสถานการณ์ Soft Landing แทนที่จะเป็น Recession ซึ่งจะเป็นผลดีต่อสินทรัพย์เกือบทุกประเภท เนื่องจากเศรษฐกิจสหรัฐมีความสำคัญมากต่อเศรษฐกิจโลกโดยรวม
ทั้งนี้ การลงทุนเพื่อสร้างความมั่งคั่งในระยะยาว จึงไม่ควรคาดเดาผลลัพธ์ในระยะสั้น แต่ควรเน้นมองภาพในระยะยาว ซึ่งการลงทุนในพอร์ตที่มีการกระจายความเสี่ยงที่ดี (เช่น General Investing ของเรา 😎) จะช่วยให้นักลงทุนบรรลุเป้าหมายทางการเงินได้ในอนาคต
เนื้อหาในส่วนนี้เขียนขึ้นร่วมกับ Finimize
💡 Investors’ Corner: รับมือกับอาการ ‘Analysis Paralysis’
นักลงทุนบางคนอาจคิดว่าต้องรู้ข้อมูลทุกๆ อย่างก่อนตัดสินใจลงทุนเพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาด แต่ความคิดแบบนี้อาจทำให้เราไม่ได้เริ่มลงทุนสักที หรือที่เรียกว่าอาการ ‘Analysis Paralysis’ ซึ่งข้อเท็จจริงสำหรับการลงทุนคือ เราไม่สามารถรู้ข้อมูลทุกอย่างได้
การลงทุนคือการรับความเสี่ยงอย่างชาญฉลาดด้วยข้อมูลที่ดีที่สุดเท่าที่เรามี พร้อมทั้งยอมรับว่าบางอย่างก็อยู่เหนือการควบคุมของเรา การรอข้อมูลทุกอย่างก่อนตัดสินใจลงทุนอาจทำให้เราพลาดโอกาสไปอย่างน่าเสียดาย
นอกจากนี้ Analysis Paralysis ยังทำให้นักลงทุนเสียเวลาที่อยู่ในตลาด ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างความมั่งคั่งระยะยาว เพราะยิ่ง Stay Invested ได้นานเท่าไหร่ พอร์ตก็จะมีเวลาเติบโตไปพร้อมกับตลาดมากขึ้นเท่านั้น รวมถึงโอกาสที่จะได้รับพลังจากผลตอบแทนทบต้นด้วย
หากคุณมีอาการ Analysis Paralysis สิ่งสำคัญคือ คุณต้องกำหนดเป้าหมายของตัวเองก่อน จากนั้นคุณจะสามารถคัดเลือกการลงทุนที่เหมาะสมที่สุดสำหรับตัวเองได้ แต่ในบางครั้งต้องยอมรับด้วยว่าการตัดสินใจผิดพลาดเป็นเรื่องธรรมดา ตราบใดที่คุณยังรอบคอบและเรียนรู้จากประสบการณ์ที่เกิดขึ้น เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งในเส้นทางการลงทุนนั่นเอง
🎓ศัพท์โลกการลงทุน: นโยบายการเงิน
สมมติว่าคุณกำลังขับรถอยู่บนทางด่วน และต้องการควบคุมความเร็วให้คงที่ ไม่ช้าและไม่เร็วเกินไป นโยบายการเงินก็เปรียบได้กับคันเร่งและเบรกของธนาคารกลางในการจัดการการเติบโตทางเศรษฐกิจ
หากเศรษฐกิจเติบโตช้าเกินไป ธนาคารกลางอาจเหยียบคันเร่งด้วยการลดอัตราดอกเบี้ย เพื่อช่วยลดต้นทุนในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนและขับเคลื่อนเศรษฐกิจ แต่หากเศรษฐกิจเติบโตเร็วเกินไปจนทำให้เงินเฟ้อสูง ธนาคารกลางก็อาจแตะเบรกด้วยการขึ้นอัตราดอกเบี้ย เพื่อให้เศรษฐกิจดำเนินต่อไปได้อย่างมีเสถียรภาพ
✨ ใหม่! CIO Insights ในรูปแบบ Audiobook
🎧 Insights ดีๆ ที่คุณฟังได้ทุกที่ ทุกเวลา จะขับรถหรือทำอะไรอยู่ก็ฟังได้ กับบทวิเคราะห์ล่าสุดเรื่อง ‘เศรษฐกิจจีนกำลังเผชิญ ‘วิกฤติ’ จริงหรือ?’
เศรษฐกิจจีนกำลังล่มสลายหรือยังมี ‘โอกาส’ อะไรซ่อนอยู่ในประเทศเศรษฐกิจใหญ่อันดับ 2 ของโลกแห่งนี้
การลงทุนมีความเสี่ยง โปรดทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน; ผลการดำเนินงานในอดีตไม่ได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต