Weekly Buzz: 🌎 สำรวจแหล่งรายได้ของบริษัททั่วโลก

06 September 2024

แชร์บทความนี้

  • linkedin
  • facebook
  • twitter
  • email

อยากอ่านเพิ่ม?

เราหวังว่าคุณจะได้ประโยชน์ จากบทความของเรา

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับผู้คนอีกหลายแสนคนที่ต้องการวางแผนการเงินและการลงทุนอย่างยั่งยืนด้วยการสมัครรับบทความและบทวิเคราะห์ของเราที่จะส่งตรงถึงอีเมลของคุณ

สำหรับนักลงทุน การศึกษาว่าบริษัทที่เราลงทุนอยู่ทำธุรกิจอะไรบ้างถือว่ามีความสำคัญมาก แต่การศึกษาว่ารายได้ของบริษัทเหล่านี้มาจากแหล่งใดบ้างก็อาจมีความสำคัญไม่แพ้กัน

ตัวอย่างเช่น เมื่อคุณซื้อหุ้นของบริษัทยุโรป คุณจะไม่ได้ลงทุนในธุรกิจท้องถิ่นเท่านั้น แม้บริษัทเหล่านี้อาจมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ปารีสหรือเบอร์ลิน แต่แหล่งรายได้ของพวกเขาอาจครอบคลุมตั้งแต่นิวยอร์กไปจนถึงเซี่ยงไฮ้

ตามรอยที่มาของเงิน

  • บริษัทสหรัฐมีรายได้ส่วนใหญ่จากในประเทศ โดย 73% ของยอดขายเกิดขึ้นภายในประเทศและเพื่อนบ้านอย่างแคนาดา นอกจากนี้ บริษัทอเมริกันยังเป็นผู้นำด้านสินค้าอุปโภคบริโภค โดย 50% ของรายได้มาจากผู้บริโภครายย่อย สูงกว่าจากภาครัฐหรือลูกค้าองค์กร ขณะที่ ยอดขายในต่างประเทศมาจากทวีปยุโรปมากสุดที่ 11%
  • ในทางกลับกัน บริษัทยุโรปมีแหล่งรายได้ส่วนใหญ่จากต่างประเทศ และมักจะทำธุรกิจแบบ B2B (ระหว่างองค์กรด้วยกัน) โดยยอดขายส่วนใหญ่จะมาจากลูกค้าองค์กร และเมื่อเจาะลึกยอดขายจะพบว่าตลาดเกิดใหม่ (EM) เป็นลูกค้ารายใหญ่ของพวกเขา คิดเป็น 31% ของยอดขายทั้งหมด
  • บริษัทญี่ปุ่นค่อนข้างมีความสมดุลมากกว่าที่อื่นโดยมีรายได้จากตลาดในประเทศราว 57% และกระจายตัวเท่าๆ กันในตลาดพัฒนาแล้ว (DM) และตลาดเกิดใหม่ (EM) อีกราว 43% นอกจากนี้ พวกเขายังมีรายได้จากลูกค้าองค์กรและผู้บริโภครายย่อยในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน
  • บริษัทในตลาดเกิดใหม่ (EM) พึ่งพายอดขายภายในประเทศมากจนน่าประหลาดใจ กรณีที่น่าสนใจที่สุด คือ บริษัทจีนที่มีรายได้ 85% จากในประเทศ แม้จีนจะมีบทบาทสำคัญในภาคการส่งออกโลกก็ตาม ซึ่งเป็นสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่ค่อนข้างเฉพาะตัว เพราะผู้ส่งออกรายใหญ่ในจีนมักจะเป็นบริษัทข้ามชาติ หรือบริษัทท้องถิ่นที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์

Key Takeaway

เรากำลังอยู่ในโลกที่เชื่อมต่อกันมากกว่าที่เคย แต่โอกาสสำหรับการลงทุนก็ยังคงแตกต่างกันออกไปในแต่ละภูมิภาค ซึ่งกลยุทธ์ที่เหมาะสมอาจเป็นการกระจายการลงทุนที่ดี เช่น พอร์ต General Investing ของเราที่มีการกระจายการลงทุนในหลากหลายสินทรัพย์ ภูมิภาคและกลุ่มธุรกิจ ที่สำคัญ ยังมีการปรับสัดส่วนสินทรัพย์ให้เหมาะสมตามภาวะเศรษฐกิจโดยอัตโนมัติด้วย

📰 ข่าวอื่นๆ ที่น่าสนใจ: เงินเฟ้อยุโรปเริ่มชะลอ ส่วนโตเกียวกลับมาร้อนแรง

ตัวเลขเงินเฟ้อในทวีปยุโรปลดลงจาก 2.6% เหลือ 2.2% ในเดือน ส.ค. ส่วนหนึ่งมาจากราคาพลังงานที่ปรับตัวลง ส่วนเงินเฟ้อในภาคบริการปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 4.2% ซึ่งสูงกว่าเดือน ก.ค. แต่ก็อาจไม่ใช่เรื่องที่น่ากังวลมากนัก เพราะน่าจะเป็นผลกระทบชั่วคราวที่เกิดจากการจัด Olympics ที่ปารีส และเมื่อพิจารณาข้อมูลทั้งหมด ดูเหมือนว่าธนาคารกลางยุโรป (ECB) น่าจะพร้อมสำหรับการลดอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในเดือน ก.ย. นี้

แน่นอนว่าเงินเฟ้อไม่ได้เป็นไปตามคาดเสมอไป เช่น ในกรุงโตเกียวของญี่ปุ่นที่ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือน ส.ค. พุ่งสูงขึ้นเกินคาดที่ 2.4% (จาก 2.2% ในเดือน ก.ค.) และแม้ตัวเลขล่าสุดนี้จะไม่ใช่เงินเฟ้อของทั้งประเทศญี่ปุ่น แต่เมืองหลวงมักเป็นตัวบ่งชี้แนวโน้ม และยังช่วยหนุนความคาดหวังที่ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) จะปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นอีกในอนาคต

ทั้งนี้ BoJ ได้ส่งสัญญาณว่าอาจขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งที่ 2 ในปีนี้ แต่พวกเขาจะต้องพิจารณาปัจจัยต่างๆ อย่างรอบคอบ เพราะอย่าลืมว่าการขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งล่าสุดได้จุดชนวนให้เกิดการเทขายหุ้นทั่วโลก สะท้อนให้เห็นถึงผลกระทบในวงกว้างที่เกิดจากนโยบายนี้

เนื้อหาในส่วนนี้เขียนขึ้นร่วมกับ Finimize

💼 Data in Brief: 2-6 ก.ย.

ขอแนะนำ Section ใหม่ของ Weekly Buzz ที่จะพานักลงทุนสำรวจข้อมูลเศรษฐกิจล่าสุดที่ส่งผลอย่างยิ่งต่อแนวโน้มตลาดในรอบสัปดาห์ พร้อม Insights จากทีมงานด้านการลงทุนของ StashAway 

ข้อมูลภาคการผลิตสหรัฐที่อ่อนตัวลงในสัปดาห์นี้ บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจกำลังลดความร้อนแรงลง และเป็นการเพิ่มแนวโน้มที่ Fed จะลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งหน้า อย่างไรก็ตาม ข้อมูลตลาดแรงงานสหรัฐเมื่อวันศุกร์ (เราจะกล่าวถึงในโอกาสถัดไป) ค่อนข้างมีความสำคัญอย่างยิ่ง  

เนื่องจากเป็นการประกาศข้อมูลแรงงานเชิงลึกครั้งสุดท้าย ก่อนการตัดสินใจเรื่องดอกเบี้ยของ Fed ปลายเดือน ก.ย. นี้ซึ่งหากตัวเลขออกมาไม่ดี Fed ก็อาจพิจารณาลดดอกเบี้ยในครั้งเดียวมากถึง 0.5% แทนที่จะเป็น 0.25% และต้องไม่ลืมว่า Fed ต้องตัดสินใจเรื่องอัตราดอกเบี้ยทั้งหมด 3 ครั้งภายในสิ้นปีนี้

- ทีมงานด้านการลงทุนของ StashAway


แชร์บทความนี้

  • linkedin
  • facebook
  • twitter
  • email

อยากอ่านเพิ่ม?

เราหวังว่าคุณจะได้ประโยชน์ จากบทความของเรา

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับผู้คนอีกหลายแสนคนที่ต้องการวางแผนการเงินและการลงทุนอย่างยั่งยืนด้วยการสมัครรับบทความและบทวิเคราะห์ของเราที่จะส่งตรงถึงอีเมลของคุณ