เมื่อเจอ เงินเฟ้อสูง-สงคราม เราต้องดูแลเงินแบบไหน?

27 April 2022
Freddy Lim and Stephanie Leung
CIO Office

แชร์บทความนี้

  • linkedin
  • facebook
  • twitter
  • email

อยากอ่านเพิ่ม?

เราหวังว่าคุณจะได้ประโยชน์ จากบทความของเรา

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับผู้คนอีกหลายแสนคนที่ต้องการวางแผนการเงินและการลงทุนอย่างยั่งยืนด้วยการสมัครรับบทความและบทวิเคราะห์ของเราที่จะส่งตรงถึงอีเมลของคุณ

โลกของการลงทุน ในระยะยาวตลาดมักฟื้นตัวกลับมาเสมอ แต่ท่ามกลางความผันผวนและวุ่นวายนี้ เราควรบริหารเงินอย่างไร เมื่อต้องเจอความผันผวนระยะสั้น

ในช่วงสองปีที่ผ่านมาการแพร่ระบาดของ Covid-19 ทำให้นักลงทุนเหนื่อยล้าและต่างรอให้สถานการณ์ต่างๆ กลับมามีเสถียรภาพมากขึ้น ทว่าตั้งแต่เริ่มต้นปีมานี้เรากลับเจอความผันผวนที่มากขึ้นกว่าเดิม

ตลาดหุ้นทั่วโลกมีความผันผวนสูงในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2022 จากสถานการณ์ระหว่างรัสเซีย-ยูเครน จนทำให้ไตรมาสแรกตลาดหุ้นในหลายประเทศดิ่งลงต่ำที่สุดรายไตรมาสนับตั้งแต่เจอ Covid-19 มานอกจากนี้ท่ามกลางความไม่แน่นอนเรายังเห็นราคาสินค้าแพงขึ้นต่อเนื่องทั้งราคาน้ำมัน ค่าอาหาร ไปจนถึงค่าไฟฟ้าที่สูงขึ้น สาเหตุก็เพราะภาวะสงครามระหว่างรัสเซีย-ยูเครน และผลกระทบ Supply chain disruptions (ภาวะชะงักงันของห่วงโซ่อุปทาน) รวมไปถึงความต้องการซื้อที่ฟื้นตัวหลังการแพร่ระบาด

จนเรียกได้ว่า ‘เงินเฟ้อ’ พุ่งสูงสุดในรอบหลายทศวรรษและเกิดขึ้นทั่วโลก โดยกว่า 40% ของกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว รวมถึงกว่า 70% ของกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ ต้องเผชิญกับอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นที่ระดับ 5% หรือสูงกว่าต่อปี (ณ สิ้นปี 2021)

CIO Insights Apr22_1

อ้างอิง: World Bank Blogs, ก.พ. 2022

ว่าแต่อัตราเงินเฟ้อสูง กระทบกับเงินเราแค่ไหน ยกตัวอย่างเช่น เงินเฟ้อที่ 5% ต่อปี หากวันนี้เรามีเงินสด 100,000 บาท เมื่อผ่านไป 1 ปีข้าวของต่างๆ แพงขึ้น 5% ตามอัตราเงินเฟ้อ ดังนั้นมูลค่าที่แท้จริงของเงินเราลดลง 5% เหลือ 95,000 บาท เมื่อผ่านไป 2 ปี ยังมีเงินเฟ้อที่ 5% มูลค่าของเงินจะลดลงอีกมาอยู่ที่ 90,250 บาท และเมื่อผ่านไป 14 ปี เงินเฟ้อจะทำให้ข้าวของแพงและค่าใช้จ่ายสูงขึ้นทุกปีๆ จะทำให้มูลค่าที่แท้จริงของเงินก้อนนี้จะลดลงครึ่งหนึ่งเหลือไม่ถึง 50,000 บาท (กฎของตัวเลข 72) เรียกว่าแม้เราจะตั้งใจเก็บเงินแค่ไหน ก็ไม่สามารถใช้ชีวิตแบบที่ต้องการได้

เมื่ออัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น อัตราดอกเบี้ยก็เพิ่มขึ้นไปด้วย สาเหตุเป็นเพราะธนาคารกลางหลายประเทศใช้อัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นเครื่องมือในการดูแลเงินเฟ้อ เช่น หากเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นมากๆ ธนาคารกลางจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อลดความร้อนแรงของเศรษฐกิจ และชะลอการเพิ่มขึ้นของเงินเฟ้อ ซึ่งจะทำให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เพิ่มขึ้นตามไปด้วย ไม่ว่าจะสินเชื่อบ้าน สินเชื่อรถ ฯลฯ ดังนั้นเราจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นไปอีก

จากปัจจัยทั้งหมดนี้ ทำให้การเก็บเงินสดหรือการลงทุนไม่ง่ายอีกต่อไป แล้วเราควรบริหารจัดการเงินที่มีอยู่อย่างไร?

วางแผนการเงินเพื่ออนาคต ต้องโฟกัสระยะยาว

ในระยะยาวการลงทุนในตลาดหุ้นมีแนวโน้มเติบโตขึ้นเสมอ อย่างในช่วงต้นปี 2022 แม้ว่าจะเกิดสงครามระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ที่ส่งผลกระทบต่อตลาดการเงิน แต่ตลาดหุ้นทั่วโลกก็ยังสามารถฟื้นตัวจากจุดที่ปรับตัวลดลงได้

CIO Insights Apr22-2

อ้างอิง: Financial Times, มี.ค. 2022

และหากย้อนดูในหน้าประวัติศาสตร์โลกที่เกิดเหตุการณ์ต่างๆ มากมาย ทั้งสงคราม ความเสียหายจากโรคระบาด หรือภัยธรรมชาติ รวมถึงเหตุขัดแย้งทางการเมืองต่างๆ ก็ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นในระยะยาว

ยกตัวอย่างเช่น ตลาดหุ้นระดับโลกอย่าง S&P 500 ที่หลายครั้งจะเจอผลกระทบจากสถานการณ์ต่างๆ แต่ก็สามารถฟื้นตัวกลับมา และเติบโตขึ้นเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบัน

CIO Insights Apr22-3

อ้างอิง: The Fifth Person, มี.ค. 2021

ตอนนี้ไม่มีใครการันตีได้ว่า เราได้ผ่านจุดที่แย่ที่สุด หรือเป็น ‘จุดต่ำสุด’ ของตลาดหุ้นแล้วหรือยัง  เพราะทั้งปัจจัยด้านเงินเฟ้อ และ ความขัดแย้งทางการเมือง อาจทำให้เราต้องอยู่กับความผันผวนนี้ไปอีกสักพัก ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ต่างอยู่เหนือการควบคุมของเรา

แต่มีอะไรบ้างที่เราสามารถควบคุมได้และลงมือทำพื่อให้เราสบายใจและบริหารการลงทุนเราให้ประสบความสำเร็จในระยะยาวบ้าง

ประเมินความเสี่ยงที่เรายอมรับได้อีกครั้ง 

ความเสี่ยงที่ยอมรับได้ คือ ตัวคุณสามารถอดทนและยอมรับได้มากแค่ไหน เมื่อพอร์ดการลงทุนติดลบและมูลค่าลดลง เพราะแต่ละคนมีความสามารถในการรับความเสี่ยงได้แตกต่างกัน และระดับความเสี่ยงอาจเปลี่ยนแปลงไปตามช่วงอายุ หรือตามระยะเวลาของเป้าหมายที่ตั้งไว้ก็ได้เช่นกัน

เมื่อคุณประเมินระดับความเสี่ยงที่ตัวเองยอมรับได้แล้ว คุณต้องมั่นใจว่าพอร์ตการลงทุนของคุณได้ถูกปรับตามในระดับความเสี่ยงในปัจจุบัน เพราะหากคุณลงทุนในความเสี่ยงที่สูงกว่าจุดที่คุณรับไหว คุณอาจรู้สึกกังวลและไม่สบายใจมากเมื่อตลาดหุ้นร่วงลงหรือเกิดความผันผวน ดังนั้น หากพอร์ตการลงทุนของคุณไม่ได้สะท้อนความเสี่ยงที่คุณยอมรับได้จริงๆ ในปัจจุบัน คุณอาจพิจารณาลดระดับความเสี่ยงของพอร์ตลงในระดับที่เหมาะสมกับคุณอย่างแท้จริง

และเพื่อให้มั่นใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงในการลงทุน เรามี StashAway Risk Index (SRI) เพื่อให้คุณสามารถกำหนดระดับความเสี่ยงของพอร์ตลงทุนให้แม่นยำ และชี้วัดโอกาสที่พอร์ตอาจขาดทุนในแต่ละปีเป็นตัวเลขอย่างชัดเจน ซึ่งคุณจะเลือกระดับ SRI ใด ก็ควรจะใช้ระยะเวลาของเป้าหมายการลงทุนมาร่วมพิจารณาด้วย เบื้องต้นเราแนะนำว่า ในการลงทุนระยะสั้นประมาณ 1-3 ปี อาจจะเลือกระดับ SRI ที่ต่ำกว่า และในการลงทุนระยะยาว คุณสามารถเลือกระดับ SRI ที่สูงขึ้นได้ เพราะระยะเวลาของการลงทุนที่ยาวขึ้นจะเพิ่มโอกาสให้พอร์ตฟื้นตัวจากความผันผวนของตลาดที่เกิดขึ้นได้เสมอ

เตรียมตัวรับภาวะอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น

ธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายครั้งแรกในรอบ 3 ปี เมื่อเดือนมีนาคม 2022 ที่ผ่านมา รวมถึงส่งสัญญาณว่าจะปรับขึ้นดอกเบี้ยที่แรงขึ้นต่อเนื่องตลอดทั้งปีนี้แต่สถานการณ์ดอกเบี้ยขาขึ้นนี้จะกระทบต่อสินทรัพย์ต่างๆ อย่างไร?

ราคาตราสารหนี้ปรับตัวลดลง ท่ามกลางดอกเบี้ยขาขึ้น

อัตราดอกเบี้ยขาขึ้น มักสร้างผลกระทบโดยตรงกับราคาตราสารหนี้ (พันธบัตรรัฐบาล) ให้ลดลง โดยเฉพาะตราสารหนี้ระยะยาว (ที่อายุ 10-30 ปี) แต่จะมีผลกระทบต่อตราสารหนี้ระยะสั้นน้อยกว่า ดังนั้นเพื่อบริหารความเสี่ยงช่วงดอกเบี้ยขาขึ้นควรปรับพอร์ตให้มีตราสารหนี้ระยะสั้นมากกว่าตราสารหนี้ระยะยาว

CIO Insights Apr22-4

ช่วงดอกเบี้ยขาขึ้นอาจกระทบหุ้นบางกลุ่มมากกว่ากลุ่มอื่นๆ

กลุ่มได้ประโยชน์จากดอกเบี้ยขาขึ้น ได้แก่ หุ้นกลุ่มสถาบันการเงิน เช่น กลุ่มธนาคาร กลุ่มโบรกเกอร์ และกลุ่มบริษัทประกันภัย ที่มีแนวโน้มว่ากำไรจะเพิ่มขึ้นจากสถานการณ์ดอกเบี้ยขาขึ้นนี้

ขณะที่กลุ่มเสียประโยชน์ คือบริษัทที่เน้นการจ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้น เช่น กลุ่มสาธารณูปโภค อสังหาริมทรัพย์ โทรคมนาคม ราคาหุ้นของกลุ่มนี้อาจปรับตัวลดลง จาก ต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ซึ่งอาจกระทบต่อความสามารถในการจ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้น

CIO Insights Apr22-5

อย่างไรก็ตาม การกระจายการลงทุนยังคงเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะลดความเสี่ยงช่วงดอกเบี้ยขาขึ้น แม้ว่าราคาตราสารหนี้จะลดลงจากแรงกดดันของดอกเบี้ยขาขึ้น แต่ตราสารหนี้ก็ยังจะช่วยสร้างสมดุลในการบริหารความเสี่ยงจากสัดส่วนหุ้นในพอร์ตของคุณด้วย

เก็บเงินฉุกเฉินในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ สภาพคล่องสูง 

หลังจากเราทบทวนพอร์ตการลงทุนแล้ว ก็ต้องบริหารจัดการเงินสดและเงินสำรองฉุกเฉินด้วย

  • อย่าลืมบริหารส่วนเงินสด เพราะยิ่งปล่อยไว้มูลค่าเงินของคุณจะลดลงจากเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น
  • อย่าลงทุนในที่ที่เสี่ยงเกินไป เพราะการลงทุนระยะสั้นในช่วงที่ตลาดที่มีความผันผวน ก็อาจทำให้เงินสำรองฉุกเฉินของคุณลดมูลค่าลงในเวลาที่คุณจำเป็นต้องใช้

และหากคุณประเมินว่า ตนเองรับความเสี่ยงได้ไม่มาก ก็ยังมีทางเลือกในการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนได้มากกว่าการฝากเงินในบัญชีธนาคาร

เราแนะนำให้เก็บเงินในกองทุนที่มีสภาพคล่องเพื่อที่คุณจะถอนเงินโดยใช้เวลาไม่นาน และต้องมีความเสี่ยงต่ำ แต่ขณะเดียวกันต้องให้ผลตอบแทนเพียงพอที่จะช่วยให้คุณลดผลกระทบจากเงินเฟ้อในระยะยาวอย่างพอร์ต General Investing ที่ระดับความเสี่ยงหรือ SRI ที่ต่ำสุด หรือ พอร์ต USD Cash Plus ที่ลงทุนใน ‘พันธบัตรสหรัฐระยะสั้น’ ซึ่งเป็น 1 ในสินทรัพย์ที่ปลอดภัยที่สุดในโลก เพราะออกและรับรองโดยรัฐบาลสหรัฐ นอกจากมีสภาพคล่องสูงแล้ว Yield ของพันธบัตรสหรัฐระยะสั้นยังมักเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกับอัตราดอกเบี้ยอีกด้วย จึงช่วยลดผลกระทบจากเงินเฟ้อให้กับพอร์ตของคุณได้

เราติดตามทุกสถานการณ์เศรษฐกิจ

ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ ภูมิรัฐศาสตร์ และสถานการณ์ต่างๆ ทั่วโลก ที่ StashAway เราติดตามข้อมูลและความเคลื่อนไหวที่สำคัญต่างๆ เพื่อการทำ Re-optimise พอร์ตของคุณให้เหมาะกับการเปลี่ยนแปลงของภาวะเศรษฐกิจ และหาโอกาสในการสร้างผลตอบแทน รวมถึงลดผลกระทบจากเงินเฟ้อที่สูงขึ้น

มันเป็นเรื่องปกติที่คุณจะรู้สึกกังวลเมื่อตลาดผันผวน แต่ท้ายที่สุดแล้ว หลักการพื้นฐานในการลงทุนยังเป็นจริงเสมอ ทั้งการกระจายการลงทุน การมองภาพรวมในระยะยาว และการลงทุนอย่างสม่ำเสมอหรือ DCA

ยิ่งพอร์ตของคุณสะท้อนความเสี่ยงของตัวเองได้เหมาะสมเท่าไร ก็ยิ่งทำให้การลงทุนระยะยาวของคุณง่ายขึ้นเท่านั้น


แชร์บทความนี้

  • linkedin
  • facebook
  • twitter
  • email

อยากอ่านเพิ่ม?

เราหวังว่าคุณจะได้ประโยชน์ จากบทความของเรา

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับผู้คนอีกหลายแสนคนที่ต้องการวางแผนการเงินและการลงทุนอย่างยั่งยืนด้วยการสมัครรับบทความและบทวิเคราะห์ของเราที่จะส่งตรงถึงอีเมลของคุณ